วิจัยยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทย หลังมูลค่าการท่องเที่ยวด้านสุขภาพของโลกนับแต่พ้นยุคโควิดได้กลับมาฟื้นโตอย่างรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯรับเชิญปาฐกถาเรื่อง ” การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ในโอกาสที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานมหกรรม “อว. FAIR 2567” โดยมีผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) มอบของที่ระลึกในงานดังกล่าว

โดยนายวีระศักดิ์ ชี้ให้เห็นว่า มูลค่าการท่องเที่ยวด้านสุขภาพของโลกนับแต่พ้นยุคโควิดได้กลับมาฟื้นโตอย่างรวดเร็ว ขยายตัวถึงปีละ 21% มียอดการหมุนเวียนการลงทุนและใช้จ่ายถึง 651พันล้านเหรียญสรอ. ในปี 2022 โดยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนับเป็นหนึ่งใน 10 ด้านสำคัญของเศรษฐกิจจากฐานสุขภาพของโลก ที่แบ่งออกเป็น

1.เศรษฐกิจด้านความงาม คือ การดูแลบำรุงผิวภายนอก (Personal Care& Beauty)  $1,089พันล้านเหรียญ

2.เศรษฐกิจด้านสหเวชศาตร์และโภชนาการ ดูแลการรับประทานอาหารให้เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักตัว (Healthy Eating, Nutrition,& Weight Loss) $1,079 พันล้านเหรียญ

3.เศรษฐกิจการออกกำลังกาย (Physical Activity) $ 976 พันล้านเหรียญ

4.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)  $651พันล้านเหรียญ

5.เศรษฐกิจจากเวชศาสตร์การป้องกันโรค และเวชกรรมส่วนบุคคล (Public Health Prevention & Personalized Medicine) $615 พันล้านเหรียญ

6.เศรษฐกิจเวชภัณฑ์ ยาทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบัน $ 519 พันล้านเหรียญ

7. การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านสุขภาพ $398 พันล้านเหรียญ

8. เศรษฐกิจด้านสุขวิทยาทางจิต เช่น การบำบัดความเครียด การแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ การฝึกโยคะ การนั่งสมาธิ  $181 พันล้านเหรียญ

9. เศรษฐกิจจากการนวดสปาและน้ำพุร้อน $151พันล้านเหรียญ

และ 10.เศรษฐกิจการจัดการสุขภาพในที่ทำงาน เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน การจัดการอาชีวอนามัยในสถาน  ที่ทำงาน $51พันล้านเหรียญ

เมื่อรวมขนาดเศรษฐกิจการดูแลบริการสุขภาพทั้ง 10 ด้านทั่วโลกจะมีขนาดถึง $ 5.6 หมื่นล้านเหรียญทีเดียว ดังนั้น ประเทศไทย เป็นหนึ่งในที่หมายยอดนิยมที่สำคัญในระดับสากลจากผู้สนใจดูแลด้านสุขภาพ ทั้งเพราะมีบริการคุณภาพหลากหลายครอบคลุม มีทักษะการบริการที่อ่อนโยน นุ่มนวล เป็นมิตร เอาใจใส่(Thainess) มีอาหารอร่อยหลากหลาย มีสมุนไพร และมีราคาบริการรักษาพยาบาล ตลอดจนค่าใช้จ่ายการผ่าตัดที่ไม่แพงและคิวรอไม่นานเท่าอีกหลายๆประเทศ แต่มีมาตรฐานคุณภาพที่ดีมาก ดังนั้น การจัดระบบและที่ทางด้านนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทยให้เป็น Caring Economy Base จะเป็นเครื่องมือและความหวังที่สดใสของไทยไปได้อย่างดี

จึงเป็นที่น่ายินดีของประเทศไทย ที่กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดย สกสว. และ บพข.ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยการจัดสรรงบประมาณการวิจัยสนับสนุนให้คณะนักวิจัยทำงานร่วมกับภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับและขับอเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้อย่างต่อเนื่อง

อนึ่ง ในการปาฐกฐานี้ได้รับเกียรติจากจากคุณHONG JE HE ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเกาหลีใต้มาร่วมรับฟังด้วย

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม