ชป.ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกทางตอนบน  ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 7 จังหวัด

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา วันที่ 3 ก.ย. 65  เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,718 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.97 เมตร แนวโน้มทรงตัวลดลงเล็กน้อย มีการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 1,769 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสมดุลสำหรับการบริหารจัดการน้ำ ในเขื่อนเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับสภาพน้ำฝน-น้ำท่า และการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ำที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมทั้งลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ จึงได้ปรับควบคุมระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมสำหรับรองรับน้ำเหนือในช่วงต่อจากนี้ไป พร้อมกับการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาปรับลดลงอยู่ระหว่าง 1,650 – 1,750 ลบ.ม./วินาที เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ของวันที่ 3 ก.ย. 65

กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกในพื้นที่ตอนบนและตอนล่างให้มีความสัมพันธ์กัน พร้อมกับเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงขอให้ประชาชนติดตามและเฝ้าระวังสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝนประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM (ปภ).รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 7 จังหวัด ประสานจังหวัดดูแลประชาชน เร่งคลี่คลายสถานการณ์ วันที่ 3 ก.ย. 65 เวลา 10.00 น. ปภ.รายงานช่วงวันที่ 1 – 3 ก.ย. 65 ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 7 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี รวม 33 อำเภอ 160 ตำบล 614 หมู่บ้าน  ประสานจังหวัดดูแลประชาชนครอบคลุมทุกด้าน พร้อมเร่งระบายน้ำท่วม รวมถึงสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 7 จังหวัด รวม 33 อำเภอ 160 ตำบล 614 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 24,117 ครัวเรือน แยกเป็น สถานกาณ์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่งผลให้ในวันที่ 1 – 3 กันยายน 2565 เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง พิจิตร สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และกระบี่ รวม 12 อำเภอ 17 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 259 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสีชีวิต สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 8 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 1 จังหวัด ดังนี้

1.พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอสามง่าม รวม 3 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

ส่วนสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนเข้าสู่พายุโซนร้อน หมาอ๊อน” (MAON) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก ลำน้ำสาขามีปริมาณมากในบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล รวมถึงการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 1500 – 1800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง โดยในช่วงวันที่ 13 ส.ค. – 3 ก.ย. 65 ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี รวม 21 อำเภอ 143 ตำบล 579 หมู่บ้านประชานได้รับผลกระทบ 23,858 ครัวเรือน ดังนี้

1. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ รวม 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 157 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

2. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอประจันตคาม รวม 7 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 442 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. นครนายก น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ รวม 18 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,088 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

4. พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะหัน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวงรวม 92 ตำบล 451 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 16,037 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

5. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก รวม 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 297 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,837 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม