ฝนหลวงภาคเหนือเปิด 4 แผน จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ 2 หน่วย เชียงใหม่ และตาก

ผอ.ฝนหลวงเหนือ เผยออกปฎิบัติงานตลอดเวลา ไม่เว้นวันหยุดราชการ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เดินหน้าปฏิบัติการฯ ช่วยเหลือประชาชนทั้งภัยแล้งและไฟป่า เตรียมพร้อมปฏิบัติการ

นายรังสรรค์ บุศย์เมือง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เผยว่าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ได้ติดตามสถานการณ์ความต้องการน้ำฝนและวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือในพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง พื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาหมอกควันและไฟป่า การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวมถึงเฝ้าระวังและลดความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ในพื้นที่ภาคเหนือมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีแผนปฏิบัติการช่วยเหลือห้วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2565 คือ วันที่ 19-20 มีนาคม 2565 ปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม อำเภอสามเงา จังหวัดตาก วันที่ 10-11, 14-15 และ 19-20 มีนาคม 2565 ปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและไฟป่า อำเภอสามเงา อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และอำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปาง

วันที่ 7, 10-11, 14-15 และ 19 มีนาคม 2565 ปฏิบัติการเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ พื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา และอ่างเก็บน้ำแม่จาง อ่างเก็บน้ำแม่ขาม จังหวัดลำปาง วันที่ 7, 10, 14-15, 18 และ 20 มีนาคม 2565 ปฏิบัติการยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ พื้นที่อำเภอสะเมิง แม่ริม แม่ออน อมก๋อย แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองพะเยา ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ทะ เสริมงาม เมืองปาน งาว จังหวัดลำปาง และอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

 โดยในห้วงเวลาที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 4 แผน  1.เพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า เพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า เพื่อลดความรุนแรงต่อการเกิดไฟป่า 2.แก้ไขปัญหาภัยแล้งบรรเทาความรุนแรงของภาวะภัยแล้ง พื้นที่เกษตรขาดน้ำ 3.แผนการยังยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ พายุฤดูร้อน และ 4. แผนการเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ 

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ได้เตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฝนหลวงตลอดเวลา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศระหว่างวันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สามารถแจ้งข้อมูลสถานการณ์ความต้องการฝนในพื้นที่โดยตรงที่หมายเลขโทรศัพท์ 053-275051 ต่อ 12 และที่เว็บไซต์ www.royalrain.go.th หรือทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม