ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Mummai Media

ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับเชิญจากนายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาไปเป็นผู้บรรยายพิเศษให้แกนนำชาวชุมชนท่องเที่ยวบ้านพรุรับฟัง การถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้การทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ห้องประชุมสนามกีฬาเมืองหลัก(ภาคใต้) พรุค้างคาว การกีฬาแห่งประเทศไทย ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จากนั้นได้ร่วมกับนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล เยี่ยมจุดท่องเที่ยวชุมชนที่วัดชินวงศ์ประดิษฐ์ วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นบนที่ดินป่าช้าร้าง อันเป็นสถานที่เคยตั้งทัพของสยามในช่วงสงครามไทรบุรี ภายหลังมีพระสงฆ์มานำชาวบ้านสร้างเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม ซึ่งชาวบ้านและเจ้าอาวาสวัดชินวงษ์ประดิษฐ์องค์ปัจจุบันตกลงเปิดให้เป็นจุดแวะเยี่ยมชมวัดนมัสการพระพุทธรูปในพระอุโบสถ มีชาวบ้านในชุมชนเขตติดวัดเป็นผู้นำบรรยายอธิบายความเป็นมาอย่างคล่องแคล่ว

ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อนึ่ง เขตเทศบาลตำบลบ้านพรุนี้ อยู่บนถนนที่แล่นตรงจากไทยออกสู่ด่านชายแดนมาเลเซีย มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติหลากหลาย แต่ยังไม่เคยมีการอบรมพัฒนาทีมบุคลากรเพื่อจัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน จึงเป็นพื้นที่ที่แม้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเดินทางผ่านตลอดปี เพราะอยู่กึ่งกลางระหว่างด่านชายแดนไทย-มาเลเซียทางบก กับสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เริ่มมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติแวะเข้ามาในพื้นที่ของชุมชนชาวบ้านพรุ ดังนั้นชมรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านพรุจึงถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวชุมชนเอง เพื่อขับเคลื่อน สร้างความพร้อมทั้งด้านการรองรับ การต้อนรับและความตระหนักรู้ระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบ(over tourism)ต่อระบบชุมชนและระบบนืเวศของพื้นที่ในอนาคต โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลบ้านพรุ

ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยนายวีระศักดิ์กล่าวในตอนหนึ่งว่า เมื่อเราสามารถร่วมกับระบบการท่องเที่ยวหาดใหญ่ซึ่งมีศักยภาพมายาวนานให้มีการเชื่อมประโยชน์เข้าสู่ชุมชนรอบข้าง รวมถึงแม้แต่ยังประโยชน์แก่ชุมชนดั้งเดิมในเทศบาลนครหาดใหญ่เองนั้น จะช่วยให้เกิดทั้งคุณค่าและมูลค่าที่ดียิ่งขึ้นต่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยวในบริเวณทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระดับนักเดินทางราชการหรือนักธุรกิจที่มักมาประชุมสัมมนาที่หาดใหญ่ หรือเดินทางมาจับจ่ายใช้สอย มีกิจกรรม ค้นหาอาหารถิ่นที่อร่อย มีประวัติน่ารู้และเป็นพื้นที่ที่มีรากฐานจากการผสมผสานวัฒนธรรมอันหลากหลาย หรือจากการคมนาคมสะดวก เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาชั้นนำในภาคใต้ ผู้คนส่งบุตรหลานมาเข้ารับบริการการศึกษาที่นี่ตลอดปี เศรษฐกิจของแต่ละระบบจะต้องสามารถช่วยให้ลดความเหลื่อมล้ำและนำความรุ่งเรืองเข้ามากระจายให้ท้องถิ่นต่างๆอย่างยั่งยืนได้ต่อๆไป

ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ชาวบ้านพรุ สงขลามุ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม