ในการบรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว(ที่ควรจะเป็นของไทยในยุคก้าวร่วมไปกับโควิด) ในหลักสูตรของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. 64 วานนี้
นอกจากชี้ให้เห็น trends การท่องเที่ยวแบบต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวทางน้ำ ทางคลอง การท่องเที่ยวแบบ Worakation ที่จะมานานและมาทั้งครอบครัวและสัตว์เลี้ยง การท่องเที่ยวlow carbon
ผมได้ใช้เวลาราว35%ของการบรรยาย อธิบายเรื่อง ความสำคัญและจำเป็นที่ไทยต้อง ทำเรื่อง tourism for all อย่างเข้าใจ ทำอย่างใส่ใจ และทำให้ได้มาตรฐาน
ปิดท้ายด้วยการชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างทางกฏหมาย และโครงสร้างอำนาจและการจัดการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ควรได้รับการพิจารณาปฏิรูป เพื่อออกแบบระบบใหม่ โดยอาจสร้างกฏหมายคล้ายบทเฉพาะกาลที่มีอายุการใช้งานสัก 3 ปี เพื่อเป็นเสมือน sand box ให้ทดลองใช้แล้วประเมินผลในตอนท้าย ถ้าสิ่งใดที่ปรับปรุงแล้วทุกฝ่ายพอใจก็ค่อยออกพระราชกฤษฎีกาขยายระยะการใช้ระบบใหม่ๆที่ค้นพบใน sandboxนั้น สิ่งใดที่ทดลองใช้แล้วไม่ได้ผลตามที่ประสงค์ก็ให้สิ้นอายุและคืนสู่สถานะเดิมโดยอัตโนมัติด้วยผลของกฏหมาย
มิเช่นนั้น ไทยจะวาดหวังเรื่องการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ในโลกที่กำลังเรียกร้องหา ESG ไม่ได้เลย
ปล.ESG คือ Environment,Social และGovernance เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และใช้อำนาจอย่างมีธรรมาภิบาล
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา
อดีตรมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา