ไม่ต้องไปชมคลองโอตารุ ญี่ปุ่น ยกมาไว้ที่คลองแม่ข่าเชียงใหม่ กลายเป็นแลนด์ใหม่ คง เหลือ 20 % เสร็จสมบูรณ์ หลังเทศบาลนครเชียงใหม่ เนรมิตรสภาพคลองแม่ข่าเดิม เป็นดินตะกอน น้ำเน่าเหม็น วัชพืชขยะเกลื่อน ช่วงระยะทาง 750 เมตร พร้อมสะพานโค้งข้าม 2 จุด ให้เดินผ่านไปมาได้ นำพืชผักสวนครัวมาปลูก ขณะชาวบ้านริมคลองชื่นชมว่าสวยงามมาก ได้ที่ออกเดินกำลังกาย หลังบ้านได้รับการปรับปรุง แต่ต้องมีราวกั้นเพราะมีเด็ก ขับผ่านไปมาจำนวนมากหวั่นช่วงน้ำมากเกิดอุบัติเหตุตกน้ำได้ ขอเพิ่มไฟส่องสว่าง
ผู้สื่อข่าวจะพาไปเที่ยว คลองโอตารุ ประเทศญี่ปุ่น ยกมาไว้ที่คลองแม่ข่า บริเวณตั้งแต่สะพานระแกง ยาวไปจนถึงลำคลองลำคูไหว ระยะทาง 750 กิโลเมตร อยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ย่านกำแพงดินด้านทิศใต้ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อม นายณภัทร ประเสริฐดี ผู้อำนวยการสำนักการช่าง และ นายวิสาขะ ปัญญาช่วย ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักงานช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินนการปรับปรุงลำคลองแม่ข่าส่วนนี้ มีการขุดลอกตะกอน วัชพืชต่างๆ ยกให้สูงขึ้นกว่า 3 – 5 เมตร เริ่ม
ตกแต่ง ปรับให้ทางเท้า อยู่ทั้งสองฝั่ง มีสะพานโค้ง สีเหลือง ตั้งไว้ 2 จุดเพื่อให้ชาวบ้าน 2 ฝั่นและนักท่องเที่ยว เดินข้ามชมวิถีชีวิตของทั้งสองฝั่ง นอกจากนี้เป็นเส้นทางเดินออกกำลังในช่วงเช้าและเย็นที่สวยบริเวณริมตะลิ่งนำซีรีนบล็อกคอนกรีด มาก่อเป็นกำแพงขึ้นไปจนถึงทางเดิน ที่ปูด้วยอิฐบล็อคคอนกรีด สีของคอนกรีดกลมกลืนเป็นสีธรรมชาติ
ไฮไลท์คือฝาท่อที่มีรูปบบรวดรายวิถีชีวิตบริเวณริมคลองจุดนี้ ลงชื่อเทศบาลนครเชียงใหม่ ทำให้ใครมาถึงต้องแวะถ่ายภาพได้มาถึงแล้ว
ส่วนบ้านพักทั้ง 2 ฝั่ง ได้ดำเนินการปรับปรุง เตรียมทาสีสันต่างๆ ลงไป ส่วนที่เลยออกได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าปรับปรุบทำให้อยู่ในแนวทางเดิน แต่คงรูปแบบของบ้านนั้นไว้ขยับเข้าไปเสริมความแข็งแรง ส่วนริมคลองที่ตัวบล็อกเป็นรู ได้นำผักสวนครัว ริมคลองเด็ดกินได้มาปลูก อาทิกะเพรา โหระพา ไปแมงลัก พริกขี้หนู มะเขือเจ้าพระยา ลงปลูกในซีรีนบล็อกคอนกรีดริมสองฝั่งคลอง ให้ประชาชนได้นำมารับประทาน มีการนำปุ๋ยอินทรีย์ จากเศษผักผลไม้ จาก ศูนย์เรียนรู้และทำปุ๋ยอินทรีย์ เทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดรายจ่ายครัวเรือน มุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารในชุมชนเมืองและยังเพิ่มความสวยงามให้กับทั้งสองฝั่งคลองแม่ข่า
ด้านนางเที่ยง วงศ์ชุ่ม อายุ 64 ปี กล่าวว่าอาศัยอยู่ริมคลองนี้มา 30 กว่า ที่ผ่านมาต้องยอมรับน้ำเน่าเสีย ขยะ วัชพืชจำนวนมาก หลังได้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงตอนนี้เห้นแล้วสวยงามมากทุกบ้านเรือนให้ความร่วมมือ เพื่อให้ลำคลองสะอาดสวยงาม ที่สำคัญป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือน ในช่วงฤูฝนแบบนี้ เพราะยกขึ้นสูงไม่ต้องกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนตามหลังบ้านต่างๆ เจ้าหน้าที่เทศบาลนครเชียงใหม่ก็ช่วยปรับปรุงให้ดีสวยงาม สอบถามใครต้องการทาสีตกแต่งเพิ่มก็จะดำเนินการ แต่วอนให้ช่วยเสริมราวเหล็ก เพราะหวั่งเกรงเด็กในชุมชนมีจำนวนจะ
พลัดตกลงไป ยิ่งชวงน้ำหลากอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ รวมไปถึงคนขับรถจักรยาน จักรยานยนต์ อาจพลัดตกลงไปด้วย รวมไปถึงกลุ่มวัยรุ่นที่จะมานั่งพบเจอมั่วสุ่ม ขอให้เพิ่มไฟส่องสว่างป้องกันการก่อเหตุร้ายขึ้นมาได้ โดยรวมสวยงามเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาบ้างแล้ว