ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไม พรรคประชาธิปัตย์พ่ายเลือกตั้งซ่อมนครศรีธรรมราช” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 11 มีนาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายเลือกตั้งซ่อมจังหวัดนครศรีธรรมราช การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งซ่อมที่นครศรีธรรมราช (7 มีนาคม 2564) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.62 ระบุว่า ประชาชนเบื่อ/ไม่ชอบวิธีการดำเนินงานทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ รองลงมา ร้อยละ 18.53 ระบุว่า กระแส/ผลงานพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในภาคใต้ ทำให้พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง ร้อยละ 16.17 ระบุว่า กระแส/ผลงานนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในภาคใต้ ยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ประชาชนชอบวิธีการดำเนินงานทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐมากกว่า ร้อยละ 10.86 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐกำหนดยุทธศาสตร์การหาเสียงได้ดีกว่าพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.72 ระบุว่า ประชาชนชอบผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐมากกว่าผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.42 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐทุ่มเทในการหาเสียงมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.73 ระบุว่า พรรคกล้า แย่งฐานคะแนนเสียงไปจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.06 ระบุว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นเวทีหาเสียงครั้งแรกทำให้พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง ร้อยละ 0.61 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงชนะการเลือกตั้ง และร้อยละ 2.28 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำเพื่อให้ภาคใต้ยังคงเป็นฐานเสียงหลักของพรรคฯ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า ส.ส. อดีต ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคฯ ควรลงพื้นที่ดูแลประชาชนให้มากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 41.38 ระบุว่า ผู้บริหารพรรคฯ ควรทุ่มเทและแสดงผลงานให้เด่นชัดมากขึ้น ร้อยละ 33.86 ระบุว่า พรรคฯ ควรปรับวิธีการดำเนินงานและยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคฯ ร้อยละ 9.72 ระบุว่า ควรเปลี่ยนหัวหน้าพรรคฯ ร้อยละ 7.67 ระบุว่า ควรเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรคฯ ร้อยละ 4.02 ระบุว่า พรรคฯ ควรไปเป็นฝ่ายค้านสักระยะหนึ่งเพื่อเพิ่มบทบาททางการเมืองและสร้างผลงาน ร้อยละ 2.73 ระบุว่า ควรเปลี่ยนเลขาธิการพรรคฯ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 100.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.90 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.10 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.15 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.25 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.46 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.66 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.48 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 82.31 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 17.01 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.38 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 19.97 สถานภาพโสด ร้อยละ 77.22 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.51 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.04 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.73 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.20 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.02 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.71 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 12.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.19 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.37ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 19.14 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.52 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.35 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 17.69 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.21 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.09 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.96 ไม่ระบุรายได้