พกพาไปรับประทานได้ทุกแห่ง ข้าวซอยกึ่งสำเร็จรูป หลายต่างประเทศสั่งแล้ว นักวิจัย ม.แม่โจ้ ต่อยอด ข้าวซอย ของเชียงใหม่ คว้าอันดับ 1 ซุปที่ดีที่สุดจากนักรีวิวทั่วโลก กึ่งสำเร็จรูป เพียงฉีกซอง ใส่น้ำร้อน นำผงน้ำข้าวซอย เติมเนื้อตามชอบ รับประทานได้ทันทีความอร่อยไม่แพ้ข้าวซอย ปรุงสดๆ ได้รสชาติของเมืองเหนือทุกพื้นที่ พร้อมจัด Maejo Innovation day 2022 ลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย พร้อมประกาศเกียรติคุณผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง
ที่อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP) มหาวิทยาลัยเม่โจ้ ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรม Maejo Innovation day 2022 พร้อมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และพิธีมอบรางวัลด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้กับนักวิจัยและหน่วยงานที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร
Maejo Innovation day 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิดโดยการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัยให้สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผ่านช่องทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยถือเป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปสู่ภาคธุรกิจอย่างมีศักยภาพ มีการเสวนาในหัวข้อ “เทรนด์การทำวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
อีกหนึ่งเป็นที่น่าสนใจผลงานการพัฒนา ข้าวซอย อาหารเมืองหนือ คว้าอันดับ 1 ซุปที่ดีที่สุดจากนักรีวิวทั่วโลก ได้พัฒนามาเป็นข้าวซอยกึ่งสำเร็จรูป “กินไหม อร่อยง่าย สไตล์ล้านนา ”
นางสาวศุภนิดา กันทะวงศ์ นักพัฒนาธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่าเป็นอีกหนึ่งของอาหารที่ถูกนำมาพัฒนา เนื่องจากข้าวซอยเป็นอาหารที่ต้องปรุงสดใหม่รับประทาน ทำให้หลายคนที่ต้องการมีข้าวซอยที่พกพาไปรับประทานได้ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ให้ความสนใจต้องการรับประทาน แต่ไม่สามารถเดินทางมารับประทานแบบสดได้ จึงได้พัฒนาออกมาเป็นแบบกึ่งสำเร็จรูป เพียงฉีกซอง ใส่น้ำร้อนเติมเนื้อสัตว์ตามชอบลงไป พร้อมเครื่องเคียงลงไป อาทิ หอมแดง ผักกาดดอง
ต้นหอมผักโรยหน้า ก็ได้ความอร่อยของข้าวซอยเหมือนนั่งกินในร้านชื่อดัง ที่มีกลิ่น ความอร่อย จะมีวิธีการปรุงไว้ในกล่องเรียบร้อย ขณะนี้มีบริษัทให้ความสนใจนำไปต่อยอดผลิตจำหน่าย มียอดสั่งซื้อจากหลายประเทศเข้ามาแล้ว และลงวางจำหน่ายตามห้างสะดวกซื้อ ร้านสะดวกซื้อ กล่องละ 35 บาท
ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานมอบรางวัลด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้กับหน่วยงาน/นักวิจัย ที่ได้ยื่นขอรับความคุ้มครองมากที่สุด ดังนี้
นักวิจัยที่ยื่นจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรมากที่สุด ได้แก่1. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล สังกัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
หน่วยงานที่ยื่นจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรมากที่สุด ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ,นักวิจัยที่ยื่นแจ้งข้อมูลจดลิขสิทธิ์มากที่สุด ได้แก่ นายยมนา ปานันท์ สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ ,หน่วยงานที่ยื่นแจ้งข้อมูลจดลิขสิทธิ์มากที่สุด ได้แก่คณะเศรษฐศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ตร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ , หน่วยงานที่มีการอนุญาตใช้สิทธิในผลงานวิจัยมากที่สุด ได้แก่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม
รองคณบดีคณะวิศวกรรมและอุดสาหกรรมเกษตร ฝ่ายบริการวิชาการ และวิจัย
สำหรับผลงานวิจัยที่จะเข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิในผลงานครั้งนี้มี ได้แก่ชื่อผลงาน กระบวนการผลิตกาแฟสกัดเย็นโดยใช้เทคนิคอัลตร้าโชนิกส์ร่วมกับเทดนิคการกวนผสมสาร ผลงานโดยผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม สังกัด คณะวิศวกรรมและอุทสาหกรรมเกษตรร่วมกับ บริษัท บ้านเปรม จำกัดชื่อผลงาน ระบบการตั้งค่าควบคุมถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบคู่ด้วยทฤษฎีอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งผลงานโดย รศ.ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อะกรี-เทค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อผลงาน กระบวนการพัฒนาตะกอนไบโอฟลอคแบบแห้งผลงานโดย ผศ.ตร.นิสรา กิจเจริญ สังกัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ร่วมกับ บริษัท นายไบโอ ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ E-book สำหรับจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ผลงานโดย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ตลอดจนการแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากบริษัทที่จะถูกผลิตและจำหน่ายออกสู่ตลาดต่อไปในอนาคต งานนี้จัดเป็นงานสำคัญงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่ม 2 คือ พัฒนาเทคโนโลยีและการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation) ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่ง