“อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC ทุกจังหวัด เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร

Mummai Media

ประกาศ ปี 2566 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีเกษตรไทย “อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC อำเภอและตำบลทุกจังหวัดเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเป็นคานงัดปฏิรูปภาคเกษตรครั้งใหญ่

“อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC ทุกจังหวัด เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เป็นประธานการประชุมผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ครั้งที่ 1/2566 วันนี้ (4 ม.ค. 66)

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารชั้นนำของโลกหรือครัวของโลก(Kitchen of the World)ดังนั้นการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ (made in Thailand ) จึงเป็นคาดงัดที่สำคัญ ในการสร้างจุดเปลี่ยนให้กับภาคเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศจึงขอให้ปี 2566เป็นปีแห่งเทคโนโลยีเกษตรไทยเพื่อยกระดับการพัฒนาภาคเกษตรและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่เป้าหมาย 3 สูงคือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูงและรายได้สูงสอดคล้องกับหมุดหมายเกษตรมูลค่าสูง(Value Shifted)ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างและระบบใหม่ในปีนี้ได้แก่

1.ในระดับประเทศ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0และคณะกรรมการบริหารAICในระดับประเทศจะเป็นแกนหลักในการจัดตั้งสร้างองค์กรเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ภาควิชาการและสถาบันเกษตรกรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและข้อมูลข่าวสารตลอดจนการส่งเสริมการค้าการลงทุนการอบรมบ่มเพาะและถ่ายทอดองค์ความรู้

2.ในระดับจังหวัด เพิ่มความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศ(AICประเภทCenter of Excellence :CoE) 23 ศูนย์ กับศูนย์ AICระดับพื้นที่(AIC area based)ทั้ง 77 จังหวัด เนื่องจากศูนย์ความเป็นเลิศจะมีความรู้เฉพาะด้าน เป็นองค์ความรู้ความสามารถระดับไทยระดับโลก จำเป็นที่จะต้องให้มีการแลกเปลี่ยน ร่วมมือ และถ่ายทอดองค์ความรู้เฉพาะด้านลงสู่ระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ลงไปใช้ใน77จังหวัดจึงให้มีการจัดประชุมร่วมในเดือนหน้า เพื่อวางแนวทางความร่วมมืออย่างเป็นระบบ

3.ในระดับอำเภอ จัดตั้งศูนย์AICอำเภอขึ้นในสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจากศูนย์ระดับจังหวัดมาสู่ระดับอำเภอ รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 23 ศูนย์ด้วย เพื่อให้องค์ความรู้สามารถลงสู่พื้นที่ได้ทุกระดับ

4.ในระดับตำบล ให้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์AIC ในระดับตำบลที่อบต.หรือเทศบาลตำบลขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255ตำบล โดยให้ศพก.ที่มีอยู่ 882 แห่ง รวมทั้งเครือข่าย ศพก.และแปลงใหญ่ เป็นAIC Station สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับหมู่บ้านตำบลชุมชนใน76จังหวัดและ50เขตในกทม.

5.จัดตั้ง”อาสาAIC”ตำบล ดำเนินการเปิดรับสมัคร หรือคัดสรร อาสาAICตำบลละ อย่างน้อย 1 คน โดยสรรหาจากYoung Smart Farmer Smart Farmerและเปิดรับสมัครผู้ที่มีความสนใจและมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในการเดินหน้าร่วมการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ของตนเอง

6.การจัดทำระเบียบกระทรวงว่าด้วยการบริหารAICเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

“อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC ทุกจังหวัด เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร

ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ.ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0
ดังนี้

  1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานการจัดทำ Big Data ด้านเกษตร ระดับจังหวัด
    มีการต้ังคณะทํางานภายในสศก.เพื่อขับเคลื่อนการจัดทํา Big Data ด้านการเกษตร ซึ่งขณะนี้ (ม.ค. – ก.พ. 66) อยู่ในช่วงของการวิเคราะห์ผลการสํารวจและจัดลําดับความสําคัญ คาดว่าหน่วยงานในพื้นที่จะสามารถใช้ประโยชน์จาก Dashboard ที่สมบูรณ์แล้ว ภายในเดือน ก.ย. 66  และผลการดำเนินงานแนวทางการบูรณาการ Application (Super App) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบันท่ีให้บริการอยู่ในรูปแบบของ Web Application Mobile Application และระบบการบริการภาครัฐ ท่ีได้ถูกแปลงให้เป็นดิจิทัลแล้ว มีจํานวน 175 บริการ โดยวางแนวทางดังนี้ 1) พัฒนา Application ที่มีความสามารถเฉพาะอย่าง ตามภารกิจ ของหน่วยงาน 2) พัฒนา Application ที่มีเป็นศูนย์รวมการให้บริการ ที่เกษตรกร สามารถติดตั้งใช้งาน โดยไม่ใช้ทรัพยากรมาก โดยการเรียกใช้บริการ จะดําเนินการผ่าน API ที่แต่ละหน่วยงานจัดเตรียมไว้และมีระบบการยืนยันตัวตนที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน 3)ระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูล National Single Window (NSW) หน่วยงานในกษ.จำนวน 5 หน่วยงาน 57 บริการ คือ  e-Payment และ e-Signature
  2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังโดยมีการพัฒนาและวิจัยเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู เครื่องขุดและเก็บมันสำปะหลัง เครื่องตัดต้นมันสำปะหลังแบบติดตั้งหน้ารถแทรกเตอร์ ซึ่งร่วมกับ บริษัท บีทีโอโตพาร์ท เป็นภาคเอกชนที่นำผลงานวิจัย ไปทำการผลิตและจำหน่าย เป็นการพัฒนาและต่อยอดผลการวิจัยข้างต้นให้เป็นต้นแบบ “เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบกึ่งอัตโนมัติ”
    การจัดทำเสนอโครงการการพัฒนาและวิจัยที่จะดำเนินการเสนอ สวก. ในการของงบประมาณการวิจัย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนา IoTs Platfrom สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะ โครงการการพัฒนาแอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืชและวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรอัจฉริยะ (เครื่องสาง + ม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย และรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับบริษัท ล็อกซ์เลย์ จำกัด (มหาชน)เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการหารือประเด็นสนับสนุนการลดภาษีการนำเข้าเครื่องดังกล่าว และการติดตั้งซิมการ์ด การเชื่อมโยงและการเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศของเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอัจฉริยะ
  3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการการขายผลไม้ในประเทศ ด้วยช่องทาง E-Commerce แบบ B2B ร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ,โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ ,โปรเจ็ค New Local Hero เป็นโครงการเชิงโครงสร้างที่ลงสู่ระดับเกษตรกรและสามารถขายได้จริง
    4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการส่งเสริมธุรกิจเกษตร โดยจัดงาน Agriproducts X Character Market : ตลาดนัดสินค้าเกษตร x คาแรคเตอร์ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ เป็นประธานเปิดงานร่วมกับคณะทำงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงเกษตร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การคัดเลือกคาแรคเตอร์และนำสินค้าเกษตรที่ผลิตด้วย กระบวนการผลิตที่ปรับใช้คาแรคเตอร์เพื่อเพิ่มมูลค่า และสินค้าชุมชนกว่า 28 พื้นที่ ท่ัวประเทศ มาจัดแสดงและจำหน่าย ซึ่งยอดจำหน่ายสินค้ากว่า 4.7 หมื่นบาท มี Startup ที่มานำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การสร้าง รูปแบบตลาดใหม่ให้กับชีวิตคนเมืองพร้อมทั้งสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสินค้าเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ได้ดำเนินการต่อยอด จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ 2 แนวทาง คือ 1.) แจ้งความประสงค์เพื่อนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ (เฉพาะของแห้ง) ฝากขายในร้าน Shop ของ อ.ต.ก. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น 2.) การเช่าแผงจำหน่ายสินค้าในตลาด อ.ต.ก. ตามทำเลที่ตั้งในแต่ละจุด ในราคาค่าเช่าที่แตกต่างกันตามความสนใจของผู้ประกอบการ ซึ่งท้ัง 2 แนวทางได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก และแผนกิจกรรมล่าสุดที่ทาง อ.ต.ก. ได้ดำเนินการ คือ การเปิดบูธจำหน่ายสินค้าที่ The Market Bangkok ระหว่างวันที่ 22 – 27 มกราคม 2566 โดยนำผู้ประกอบการ เจ้าของคาแรคเตอร์มาร่วมออกบูทด้วย
    นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
    (1)  การบริหารการขับเคลื่อนศูนย์ AIC จังหวัดตาก เรื่อง แผนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยศูนย์ฯ ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อเป็น “ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสู่ความยั่งยืน ด้วย BCG Model กำหนดยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาAIC(พ.ศ.2566-2570) ไว้ 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
    ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับจากแหล่งรวบรวมสู่การเป็น แหล่งบ่มเพาะเกษตรกรรมด้วย เทคโนโลยีนวัตกรรม และภูมิปัญญาทาง การเกษตรเชิงสร้างสรรค์
    ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากระบวนการศึกษา วิจัย พัฒนา และรวบรวมเทคโนโลยีนวัตกรรมด้าน การเกษตรเชื่อมโยง BCG Model
    และ ยุทธศาสตร์ที่3 ผลักดันให้มีการนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เกษตรท่ีเชื่อมโยงโมเดล BCG Model ไป ประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันให้กับภาคเกษตรของจังหวัด
    (2) ศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence: CoE) เกษตรอัจฉริยะ เรื่อง ระบบเกษตรอัจฉริยะในการปลูกพืชกัญชง-กัญชาเพื่อการแพทย์ โดยศูนย์ CoE จังหวัดสุพรรณบุรี 
    (3) แผนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (พ.ศ. 2566 – 2570) จากการที่ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมแผนพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม (พ.ศ. 2566 – 2570) เรียบร้อยแล้ว
    (4) ผลการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลนวัตกรรมของ AIC (AIC Innovation Catalog) ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2565 มีข้อมูลของ Innovation Catalog โดยแบ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็น 11 ประเภท จำนวน 792 เรื่อง ศพก. 91 แห่งมีการนำไปใช้ประโยชน์ จาก AIC ทั่วประเทศ เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จำนวน 11,315 ราย และการใช้นวัตกรรมขยายลงสู่พื้นที่การเกษตรแปลงใหญ่ใน 11 จังหวัด 14 แปลงใหญ่
“อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC ทุกจังหวัด เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร
“อลงกรณ์”เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC ทุกจังหวัด เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร

สำหรับการประชุมครั้งที่1/2566มีผู้เข้าร่วมประชุมอาทิดร.อาณัติชัย รัตตกุล คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce นายสัญชัย รัศมีจีรวิไล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.)  ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก รศ.ดร. ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อีกทั้ง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษา ภาคเอกชน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ 571 ราย ร่วมประชุม.