เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%

Mummai Media

ชาวนาเฮ!! ได้ปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปแล้วกว่า 80% เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ เกษตรกรได้ใช้น้ำทั่วถึงครอบคลุม มันฝรั่งได้ใช้ด้วย ชี้ส่งน้ำเร็วส่งผลดี ไร้การเผาเศษวัชพืชหลังเกี่ยวข้าวนาปี ไม่แย่งน้ำใช้กับสวนลำไย คาดเกษตรกรร่วมมือใช้น้ำไม่ถึง 100 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%

นายอัธยา อรรณพเพชร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา (ผคบ.แม่กวงฯ) แจงถึงผลจากการบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราช่วงฤดูแล้ง พ.ศ. 2565/2566 ที่ผ่านมา ว่า ปริมาณน้ำมีอยู่ราว 237 ล้าน ลบ.ม. หรือราว 90% ซึ่งได้เริ่มส่งน้ำให้พื้นที่ตามแผนการส่งน้ำตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 65 ที่ผ่านมา ปีนี้จะส่งเร็วขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริการของเขื่อนแม่กวงฯ มีการปลูกมันฝรั่งด้วย 200-300 ไร่ เกษตรกรที่ปลูกข้าวก็จะขยับปลูกเร็วขึ้น 2 สัปดาห์ เพื่อการการส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมให้ประโยชน์ได้มากที่สุด การบริหารจัดการน้ำปีนี้แบ่งเป็น 9 รอบเวร ขณะนี้ส่งน้ำไปแล้ว 2 รอบเวร เกษตรกรเพาะปลูกข้าวไปแล้วกว่า 80% คาดว่าไม่เกินสัปดาห์ก็จะเพาะปลูกเต็มทั้งพื้นที่

“คลองฝั่งซ้ายด้านท้ายๆ น้ำจะเป็นสวนลำไย ปัญหาลำไยกับข้าวที่มักเกิดขึ้นคือช่วงเวลาที่ใช้ไม่ใช้น้ำซึ่งแตกต่างกัน ลำไยจะใช้น้ำมากในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มออกช่อดอกเริ่มต้นของการให้ผลผลิต การที่ส่งน้ำเร็วขึ้นในส่วนของการปลูกข้าวก็จะเดือนมีนาคม พอเดือนเมษายนลำไยก็จะได้น้ำไปช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผลผลิตได้” ผคบ.แม่กวงฯ กล่าว

เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%

“อีกประการที่เป็นผลทางอ้อม ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเกษตรกรก็จะเก็บฟางม้วนอัด ในขณะที่ดินยังไม่แห้งได้มีการส่งน้ำแล้ว จากการสังเกตพื้นที่เกษตรของเขื่อนแม่กวงฯ จะไม่มีการเผาให้เห็น หากจะมีก็มีน้อยมาก อีกประการจากแผนที่จะส่งน้ำเพื่อการเกษตร 100 ล้าน ลบ.ม. การบริหารจัดการน้ำที่ใช้กลไกของ JMC อาสาสมัคร โซนแมน ในการที่เข้ามาติดตามหลังจากที่ส่งน้ำ 1 รอบเวรก็จะดูว่าน้ำมีปัญหาอะไรหรือไม่ เมื่อประเมินแล้วความจำเป็นใช้น้ำน้อยลงก็จะลดปริมาณการส่งน้ำ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณน้ำที่ตั้งไว้ 100 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเกษตรกรรม ก็อาจจะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าแผนได้ ก็จากความร่วมมือของพี่น้องเกษตรกรทุกๆ คน” นายอัธยา อรรณพเพชร กล่าว

เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%

ด้าน นายเชิด สุนันตา รองประธาน JMC ประธานคลองเมืองวะ กล่าวว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ในปีนี้ ปี 2565/2566 มีปริมาณน้ำมากกว่าปีก่อนๆ นับตั้งแต่ปีที่น้ำล้นสปริงเวย์ ปี 2554 ก็มาปีนี้ที่น้ำเยอะ พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ดูแลของเขื่อนแม่กวงฯ สามารถปลูกข้าวในฤดูแล้งนี้ได้ ตั้งแต่มีการปล่อยน้ำรอบแรกเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 65 การบริหารจัดการน้ำครอบคลุมทั้งพื้นที่ที่ใช้น้ำจากเขื่อนแม่กวงฯ ซึ่งเขื่อนแม่กวงฯ มีการส่งน้ำ 4 คลอง โดยมีคลองสายหลัก 3 คลอง คือ คลองเหมืองแตก คลองป่าตัน และคลองเมืองวะ การบริหารน้ำก็จะจ่ายเป็นรอบเวร รอบแรกส่งน้ำให้พื้นที่ 10 วัน หยุดจ่าย 7 วัน รอบที่ 2 ถึงรอบที่ 9 จะส่งน้ำ 7 วัน หยุดจ่ายน้ำ 5 วัน ส่วนคลองฝั่งซ้ายก็จะจ่ายน้ำเหมือนคลองสายหลัก แต่ระยะทางที่จะส่งน้ำยาวกว่า ปริมาณน้ำที่ส่งจะมากกว่า พื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่บริการของเขื่อนแม่กวงฯ มีราว 1 แสนกว่าไร่ เฉพาะพื้นที่บริเวณนี้ที่รับน้ำจากคลองเมืองวะมีอยู่ราว 3 พันกว่าไร่

เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%

“จากการติดตามการส่งน้ำทั้ง 2 รอบเวรแรก ทั้งพื้นที่ 3 พันกว่าไร่ เกษตรกรบอกว่า การบริหารจัดการน้ำทำได้ครอบคลุม จัดการได้ดี ผลตอบรับดี มีน้ำใช้อย่างเพียงพอทั่วถึง ไม่มีการแย่งน้ำ เนื่องจากการใช้การบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม มีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเป็นแก่เหมืองแก่ฝายเดิม มีกฎ กติกา วางไว้ชัดเจน เช่น จะขโมยน้ำไม่ได้ ใครจะกักน้ำไม่แบ่งน้ำให้คนอื่นได้ใช้ก็ไม่ได้” นายเชิดฯ กล่าว

เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%
เขื่อนแม่กวงฯ ส่งน้ำให้ก่อน 2 สัปดาห์ ชาวนาเฮปลูกข้าวนาปรัง ปักดำไปกว่า 80%