ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์FB โดยพาดหัวระบุ “Covid war” สงครามนี้ยังอีกยาวไกลนักซึ่งได้รับความสนใจมีการแชร์และเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก
หมอธีระวัฒน์ แสดงความเป็นห่วงถึงการตรวจ เข้าไม่ถึง ห้องแลปตรวจไม่ทัน ไม่อยากตรวจ เพราะถ้าตรวจเจอต้องรับเข้าโรงพยาบาลแต่ไม่มีเตียง คนที่มีอาการแล้วด้วยซ้ำจนอาการชัดเจนร่อแร่ถึงไปห้องฉุกเฉิน
ผล: ตัวเลขที่ปรากฏแต่ละวันต้องน้อยกว่าความเป็นจริง โรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลร่อแร่เพราะเต็มไปด้วยผู้ป่วยอาการหนัก แก้กฎระเบียบ ปรับศูนย์ประสานหาที่หาเตียงให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้
ยา ทราบอยู่แล้วว่ายาขาด หนึ่งคนใช้ “อย่างน้อย” 70 เม็ดของ favipiravir การกระจายยา ยังผิดพลาด และยาก็ไม่พอ
ผล: ผู้ป่วยถึงเวลาที่ต้องได้ยาจะได้ยาช้าไป และ โรคจะพัฒนาขึ้นไปจนกลายเป็นระยะการอักเสบอย่างรุนแรงทั่วร่างกายและในปอด
ไม่ต้องห่วงเรื่องห้องความดันลบเพราะไม่พออยู่แล้วในขณะนี้ต้องใช้ห้องไอซียูธรรมดา ในที่สุด ก็จะเป็นหอผู้ป่วยธรรมดาซึ่งต้องรับมือกับผู้ป่วยวิกฤติใส่เครื่องช่วยหายใจและลำดับต่อไปโรงพยาบาลสนามที่เตรียมเก็บคนติดเชื้อที่ไม่มีอาการก็จะกลายเป็นพื้นที่รักษาผู้ป่วยอาการหนักจนกระทั่งถึงต้องใส่ท่อ
บุคลากร ต้องใช้หมอและพยาบาลและเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาดูแลทั้งโรคติดเชื้อแต่ที่สำคัญคือหมอปอดและหมอภาวะวิกฤต หมอหัวใจหมอไต ทุกอวัยวะ มีพอหรือไม่
ผล ขณะนี้ไม่พอต้องใช้ หมออายุรกรรมทั่วไปแพทย์ประจำบ้านที่กำลังฝึกอบรมในโรงเรียนแพทย์ได้ต่อไปคงเป็นนิสิตแพทย์
อุปกรณ์ เครื่องช่วยหายใจที่ต้องมีระบบออกซิเจนเชื่อมต่อกับเครื่องขณะนี้เริ่มไม่เพียงพอ ในจังหวัดทั่วไปใช้เครื่องช่วยหายใจแบบโบราณ bird respirator ยังต้องต่อออกซิเจน เมื่อถึงเวลาที่ผู้ป่วยปอดบวมต้องใส่ท่อนอนอยู่ในโรงพยาบาลสนามหรือสนามกีฬาจะมีเครื่องช่วยหายใจเช่นนี้ได้หรือ คำตอบคือไม่ได้
เครื่องช่วยหายใจฉุกเฉินชนิดพกพาไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบออกซิเจนเมื่อใส่ท่อหายใจคนป่วยแล้วจะสามารถปั๊มอากาศเข้าได้ต้องหาไว้อย่างรีบด่วน ถ้าสถานการณ์ไม่ถึงกับพังพินาศแบบที่คนป่วยปอดบวมต้องนอนที่เตียงสนามตามสนามกีฬาหรือโรงพยาบาลสนาม เครื่องเหล่านี้เก็บไว้ได้ในสถานการณ์อื่น
ล็อกดาวน์ การล็อกดาวน์ที่จะเกิดขึ้นถ้าเก็บประชาชนไว้ในบ้าน ออกมาซื้ออาหารเท่าที่จำเป็น ผล ประชาชนที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการแน่นอนมีมากพอสมควรแล้วในทุกพื้นที่ ซึ่งต่างจากในปี 2563
เมื่อล็อคดาวน์ในบ้านแต่ไม่สามารถรักษาระยะห่างได้ จะด้วย ไม่ทราบหรือมีข้อจำกัด ก็จะแพร่ต่อในบ้านเช่นอยู่ด้วยกัน 10 คนมีหนึ่งคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้โดยไม่มีอาการจะปล่อยให้ติดเชื้อทั้งหมดในช่วงเวลาล็อคดาวน์นั้นและถ้าทุกคนไม่มีอาการเมื่อปลดล็อคก็จะออกมาแพร่ต่ออีก