นิด้าโพลชี้คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามีต่างชาติแทรกแซงการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา

Mummai Media

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง“ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่างเกี่ยวกับข่าวลือหรือข่าวจริงช่วงเลือกตั้ง 2566 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

นิด้าโพลชี้คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามีต่างชาติแทรกแซงการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.22 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อรองลงมา ร้อยละ 25.27 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 23.59 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์(Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมาร้อยละ 27.40 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแทรกแซงจากต่างชาติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 22.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.17 ระบุว่าเชื่อมาก และร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 30.92 ระบุว่า จำนวนมากกว่า 20 ข่าว รองลงมา ร้อยละ 22.29 ระบุว่า จำนวน 1-5 ข่าว ร้อยละ16.26 ระบุว่า จำนวน 6-10 ข่าว ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ไม่เคยได้ยินเลย ร้อยละ 10.15 ระบุว่า จำนวน 11-15 ข่าว และร้อยละ 6.72 ระบุว่า จำนวน 16-20 ข่าว

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.67 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.29 สมรส และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 25.19 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.43 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ7.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.49 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.98 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.60 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมงร้อยละ 14.27 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.16 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.37 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.81 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.78 ไม่ระบุรายได้