ทำไม? “มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out”

Mummai Media

ทำไม? “มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out”

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"

31พ.ค.2566 น.ต.วรวิทย์ เตชะสุภากูร ร.น.และคณะฯ เป็นตัวแทนมอบสิ่งของจำเป็นสำหรับน้องๆ ที่โรงเรียนบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทรา ยอดเงินทั้งหมด 13,719 บาท ซื้อแฟลชไดร์ฟ 32gb. 50 อัน 3,950.- ซื้อขนม นม ข้าวสาร 50 กก. 3,769.- รวม 7,719.- เหลืออีก 6,000.-บริจาคเข้ามูลนิธิฯทั้งหมด ขอขอบคุณพี่ตั้ว ธริศร์ พี่ก้า น้องตูนและอีกหลายคน เราได้คุยกับแม่นวล ผอ.สนง.สาขากรุงเทพฯ ครูสงกรานต์ ครูกั้ง และพาเราเดินดูความเป็นอยู่ และความเก่งของน้องๆ เลยทำให้รู้ว่า

ครูเก่งมากระดับเขียนโค้ดทำเว็บ ทำdatabase เคยได้ทุนไปเรียนที่ญี่ปุ่น  ส่วนน้องๆมีวิธีการพิมพ์คอมพิวเตอร์คือ พอพิมพ์บนแป้นแล้วจะมีเสียงพูดออกลำโพง ทำให้รู้ว่าพิมพ์อะไรไปบ้าง แต่มันเร็วมาก เราฟังไม่ทัน แต่น้องคือฟังทันตลอด อัจฉริยะสุด บางคนเริ่มซ่อมคอมพิวเตอร์ ลงโปรแกรมต่างๆ ได้ 

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"

ที่มูลนิธิฯนี้ มีเด็กเล็กอายุ2-19ปี อยู่ทั้งหมด 87 คน รับได้ไม่เกิน100คน เป็นพิการทางสายตาร่วมกับซ้ำซ้อนอื่นๆ เช่น พิการหู ร่างกาย สติปัญญา วันนี้เจอน้องๆ กำลังฝึกเดินโดยใช้ไม้เท้าพอดี โอ้โห พอได้ออกจาก ร.ร.แค่เดินออกไปปากซอยเอง ทุกคนตื่นเต้นเดินเร็ว จนเกือบวิ่งตามไปถ่ายรูปไม่ทัน 

และเมื่อโตๆขึ้นช่วยตัวเองพอได้ ก็จะฝึกใช้คอมฯพื้นฐานให้เป็นด้วย ช่วยงานสำนักงานได้  ถ้าไปได้ถึงขั้นสูง ก็สายโปรแกรมเมอร์เลย น้องๆเล่าว่าโปรแกรมเมอร์ตาบอดต้องศึกษาเรียนรู้ยากกว่าคนปกติหลายเท่ามากๆ เพราะไม่สามารถค้นหา tools มาช่วยได้  ต้องจำโค้ดให้ได้และเขียนใส่ notepad เท่านั้น 

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"

ที่นี่จะเอาหนังสือดีๆ มาผลิตเป็นหนังสือเบรลล์เอง เพื่อเรียนรู้กันในโรงเรียน “แต่ปัญหา คือ ขาดกระดาษมาสเตอร์เบรลล์ที่จะนำมาใช้ผลิต” เพราะราคาสูงขึ้น จากแผ่นละ3บาท เป็น6บาท  เคยลองใช้ปฏิทินเก่าหรือกระดาษทั่วไปแล้ว ด้วยความที่มันบาง ระยะการใช้งานสั้นมากๆ อ่านลูบๆได้แป๊บเดียว อักษรเบรลล์จะค่อยๆหายนูนไป (เพิ่งรู้เลยนะเรื่องนี้!) เพื่อนๆช่วยหาซื้อกระดาษมาสนับสนุนน้องๆ ได้นะ 

เราได้เห็นอุปกรณ์ช่วยผลิตอักษรเบรลล์เป็นเครื่องยาวๆสีขาว คล้ายคีย์บอร์ดดนตรีเล็กๆ ปัจจุบันใช้ของเกาหลี เครื่องละเกือบแสนบาท เพราะไทยเรายังไม่มีเทคโนโลยีตรงนี้ ถ้ารัฐบาลสนับสนุนให้ทำใช้ได้เองราคาถูก ก็จะเข้าถึงคนพิการทางสายตาได้อีกมากเลย 

ถ้าโจทย์คือว่า จะช่วยอะไรน้องๆเหล่านี้ได้อีก เพื่อแบ่งปันและลดช่องว่างโอกาสในสังคม ให้ทุกๆคนมีความสุขกันได้มากขึ้น คำตอบที่จะให้น้องๆ check outได้ คือ การมีอาชีพครับ

เริ่มจากการให้ความรู้ก่อน ที่นี่มีห้องอัดเสียงอ่านด้วย เผื่อใครอยากมาช่วยอ่านหนังสือให้น้องๆฟังก็มาได้   ใครเคยลองเข้าไปอ่านใน App Read for the Blind แล้ว จะรู้ว่าการอ่านหนังสือให้คนอื่นฟังนี่มันยากจริง!! 555  คือมันไม่เหมือนการเล่าเรื่อง เราต้องอ่านให้ถูกต้องด้วยน้ำเสียงชวนฟัง ไม่ง่วง ไม่เร็วหรือช้าไป อันนี้ยากจริง น้องๆบอกใช่ๆ เคยเปิดฟังจาก app นี้บ้างเหมือนกัน แอบบอกว่าบางเล่มฟังแล้วง่วงมาก เห็นภาพตามนั้นเลย

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"

มูลนิธิฯ อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคของเราๆเป็นส่วนใหญ่ เพราะกระทรวงศึกษาฯอุดหนุนแค่ปีละประมาณ 2 ล้านบาท(คิดตามรายหัว) ซึ่งไม่เพียงพอแน่ เพราะที่นี่เลี้ยงดูเด็กอายุตั้งแต่เล็ก – 19 ปี สอนทั้งการใช้ชีวิตและเรียนจนถึง ป.6 หลังจากนั้นก็จะประสานกับโรงเรียนคนปกติที่รับ เพื่อไปเรียนร่วม จนจบมหาวิทยาลัยหลายคนแล้ว ใครที่สามารถประกอบอาชีพได้ พอเรียนจบก็จะส่งไปตามศูนย์ของมูลนิธิที่ ตจว. เช่น หน่วยซ่อมคอมฯที่โคราช 

หรือถ้าน้องตาบอดและพิการซ้ำซ้อนด้วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่อายุเกิน 19 ปีแล้ว และไม่มีพ่อแม่มารับก็จะส่งไปอยู่ที่ศูนย์เลี้ยงดู ให้เขามีความสุขที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเงินบริจาค และข้าวของ ที่นี่จะพยายามเอามาใช้และเอามาลงกับเด็กให้มากที่สุด และแบ่งไปให้สาขาของมูลนิธิและเครือข่ายคนพิการในต่างจังหวัดด้วย จากที่ไปเห็นทั้งครูและพี่เลี้ยง และสภาพความเป็นอยู่ของน้องๆ เราถือว่าเขาเอาใจใส่จริงๆ (เคยไปมาหลายที่น้ำตาซึม)

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"

สุดท้าย check out ด้วยการช่วยหางานให้ทำ น้องๆ ที่เก่งคอมพิวเตอร์ของหลายๆมูลนิธิ สามารถออกไปทำงานคุณภาพได้ มีหลายคน แต่ตอนนี้ยังขาดโอกาส เพราะไม่รู้จะไปหางานจากตรงไหน เราช่วยเป็นกระบอกเสียงไปถึงหน่วยงานหรือออฟฟิศไหนเปิดกว้างในเรื่องคนเท่ากัน และอยากให้งาน จ้างงานเป็น พนง.ประจำ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างไปทำที่ออฟฟิศ หรือจ้างแบบ work from home สามารถติดต่อไปที่มูลนิธิฯ เพื่อขอดูโปรไฟล์น้องก่อน แบบนี้บริษัทได้ พนง.ตามเกณฑ์ของกฎหมาย แถมยังได้ช่วยน้องหารายได้มาเลี้ยงน้องๆต่อไปด้วย พี่วิทย์เคยไปที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ก็เห็นมีการจ้างคนพิการปลูกต้นไม้และดูแลป่าด้วยครับ จ้างโดยเอกชนจากกรุงเทพฯ ยังแอบนิยมอยู่ในใจ

คุยกันอยู่รอจนได้เวลาน้องเล็กลงมากินของว่าง เลยได้แอบมองอยู่ห่างๆ ตั้งแต่โควิดมา จะไม่ให้คนนอกเข้าไปใกล้ชิดเด็กเลยเอาภาพมาฝากเท่าที่ทำได้ ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาอ่านอีกครั้ง แค่เข้ามาอ่านและแชร์ ก็ถือว่ามีส่วนร่วมกับการแบ่งปันในครั้งนี้แล้ว

.

ขอบอกว่าการทำดีหรือแบ่งปันไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป และเงิน 10 20 บาท ถ้าเราทำคนเดียวมันก็ดูน้อย แต่ถ้าเรามารวมพลังกันแบบนี้ ก็ยิ่งอิ่มใจกว่ากันได้

ตอนนี้แล้ว พอจะรู้คำตอบใช่ไหมครับว่า ทำไมเด็กพิการถึง Check in มากกว่า Check out! คราวหน้าจะไปไหนดี โปรดติดตามครับ #Shareกัน #แบ่งปันสังคม #ช่วยเหลือสังคม #สังคมสร้างสรรค์ #Sharing #ทำดีทำบุญทำงานเพื่อสังคม

ทำไม? "มีแต่ Check in แต่ไม่ค่อย Check out"