สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

Mummai Media

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดเผยในงาน ThaiHealth Watch 2024 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2567 : Next Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต ว่า สสส. มุ่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ สานพลังภาคีเครือข่ายวิชาการ พัฒนานวัตกรรมการสื่อสาร ThaiHealth Watch หรือจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย เพื่อสะท้อนอนาคตทิศทางสุขภาพพร้อมแนวทางลดความเสี่ยงทางสุขภาพที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่

ThaiHealth Watch 2024 รวบรวมองค์ความรู้ผ่านหลักการ 3S ได้แก่ 1.Situation สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 2.Social Trend กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ 3.Solution ข้อแนะนำ ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสังคม เกิดเป็น 7 ประเด็นทิศทางสุขภาพสำคัญ มุ่งกระตุ้นสังคมปรับตัวพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในสังคมอย่างเข้าใจและเท่าทัน ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงนวัตกรรมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม

สำหรับ 7 ประเด็นสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2567

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

1.ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด เมื่อวันที่ไทยต้องเป็นครอบครัวข้ามรุ่น โครงสร้างของครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อสุขภาพจิตของสมาชิก พบ Gen X เสาหลักของบ้านรู้สึกเครียดกับปัญหาทางการเงินร้อยละ 65 Gen Z พบความขัดแย้ง เผชิญความเครียดทางอารมณ์และความบกพร่องทางจิตใจร้อยละ 51 การพัฒนา ‘นักสื่อสารสุขภาวะ’ ของคนหลากหลายวัย ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยได้

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

2.ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มรสหวาน มิตรยามว่างหรือศัตรูเรื้อรังเด็กไทย พบ 1 ใน 3 ของเด็กไทยกินขนมพร้อมน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทุกวัน เนื่องจากกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มทำลายสุขภาพ ซึ่งเด็กที่อ้วนมีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ป่วยโรค NCDs โดยเฉพาะโรคเบาหวานถึงร้อยละ 31

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

3.เยาวชนไทยบนโลกแห่งการพนันไร้พรมแดน พบโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางเล่นพนันมากที่สุด เกมสล็อตครองแชมป์ยอดนิยม ที่น่าห่วงคือ นักเล่นพนันหน้าใหม่คิดว่าการพนันไม่อันตราย สสส. ผลักดันให้เกิดกลไกเครือข่ายเฝ้าระวังและสื่อสาร สร้างความรู้เท่าทันการพนัน ลดผลกระทบจากการพนันระดับพื้นที่ทุกภูมิภาค

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

4.สุราท้องถิ่นนอกระบบ คุณค่าความหลากหลายบนความเสี่ยงทางการควบคุม ความเสี่ยงจากสุราเถื่อน พบสารแปลกปลอมอ้างสรรพคุณด้านชูกำลัง หรือเสริมสมรรถนะทางเพศ ทั้งพิษจากสัตว์ สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลง ส่งผลกระทบทางสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

5.เยาวชนกับภูมิคุ้มกัน ในยุคที่ยาเสพติดเข้าถึงง่าย พบปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นใช้ยาเสพติด คือ อยากลอง, ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน และ สังคม สิ่งแวดล้อม การเสริมศักยภาพและสร้างกลไกป้องกันให้เยาวชนใช้เวลาเป็นประโยชน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

6.ลมหายใจในม่านฝุ่น ต้นตอปัญหาที่แตกต่างหลากหลาย จำเป็นต้องเร่งสร้างความร่วมมือลดปัญหาจาก 3 แหล่งกำเนิด จากท่อไอเสียรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และการเผาในที่โล่ง ที่ทำให้ปี 2566 พบ 1,730,976 คนเป็นผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ

สสส.คาดการณ์สุขภาพคนไทยล่วงหน้า ผ่าน ThaiHealth WATCH 2024 “Next-Gen Living คุณภาพชีวิตในอนาคต” ห่วงคนละเจนคิดต่างกันเตรียมตั้งรับการเปลี่ยนแปลง

7.โลกเดือดสะเทือนไทย ทางออกในวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร มีโอกาส ร้อยละ 50 ที่จะร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ในอีก 5 ปี กระทบความมั่นคงทางอาหาร กลไกการบริหารจัดการระบบอาหาร จัดสรรพื้นที่สาธารณะในชุมชนใช้ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้ ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน