กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“Shareมุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต

Ittipan Buathong

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม  เวลา ๑๐ น.สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย รวมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสรรค์ จัดการเสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM ของกองบรรณาธิการร่วม โครงการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “ Shaer มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ “ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาสังคมของโครงการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ จากมูลนิธิพิทักษ์สิทธิสตรี นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ จากสื่อท้องถิ่นอีสานบิซและเครือข่ายประชาสังคมภาคอีสาน นายมูฮำมัดอายุป ปาทาน เครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้ นายบรรจง นะแส มูลนิธิรักทะเลไทย ในส่วนของเครือข่ายนักวิชาการประกอบด้วย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านนิเทศศาสตร์ รศ.ดร.สุทิน โรจน์ประเสริฐ จาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพข่าว มีนายมนตรี จอมพันธ์ สื่อมวลชนอิสระผู้จัดรายการวิทยุ FM ๙๖.๕ อสมท. นายสิทธิโชค เกษรทอง สื่อมวลชนอิสระ อดีตบรรณาธิการบริหารวิทยุ FM ๑๐๑ นายอิทธิพันธ์ บัวทอง สื่อมวลชนอิสะ อดีตบรรณาธิการบริหารข่าว TNN TV นายนายสุชาติ มั่นรักคง บรรณาธิการข่าวเนชั่นออนไลน์ น.ส. ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้ง The Reporters ตัวแทนเครือข่าย องค์กรวิชาชีพสื่อ นายโกศล สงเนียม รักษาการประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย  และ ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีนายสุปัน รักเชื้อ รักษาการเลขาธิการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

เริ่มการเสวนาโดย นายโกศล สงเนียม ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดเสวนา ก็เพื่อเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงในเบื้องลึกของข่าว จากคนข่าวที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ และมุมมองของทางกองบรรณาธิการที่มอนิเตอร์ประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการวิเคราะห์ของนักวิชาการสื่อ และมุมมองจากประสบการณ์ของคนในวิชาชีพสื่อรวมถึงภาคประชาสังคม วิเคราะห์ถึงปมความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของข้อมูลข่าวสารที่ค้นพบ จากมุมมองความคิดเห็นของแต่ละภาคส่วน ก่อนนำมาเป็นบทสรุป และนำเผยแพร่ผ่านให้สื่อสังคมได้รับรู้ เพื่อจะได้เป็นบทเรียนของคนทำสื่อ และเป็นเสมือนคู่มือของประชาชนในการตั้งประเด็นคำถามกับสื่อที่เผยแพร่ข่าวออกมา รวมไปถึงการที่จะเชื่อไม่เชื่อ แชร์ต่อไม่แชร์ต่อ ถ้าในส่วนของประชาชนสามารถที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวที่นำเสนอได้ก็จะเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อกลไกในการตรวจสอบข่าวปลอม

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายสุปัน รักเชื้อ ได้นำเสวนาโดยยกข่าวที่จะนำมาเป็นประเด็นศึกษา คือ ๒ ข่าวใหญ่ที่เพิ่งเกิด และกำลังเกิดอยู่ คือข่าว ไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล และข่าว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ กับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-๑๙ การเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการได้ขอให้นางสาว ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ได้นำเสนอถึงบทบาทคนข่าวในภาคสนามต่อข่าวทั้ง ๒ ข่าว

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นางสาวฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้ง The Reporters ได้แสดงความเห็นว่าจากสถานการณ์ของโควิด – ๑๙ ความช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นภาระอีกหน้าที่ของสื่อนอกเหนือจากการนำเสนอข่าว เช่นในการช่วยหาเตียงให้กับผู้ป่วย ส่วนสถานการณ์โควิดถือว่าเป็นภัยพิบัติเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารข่าว สื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงาน ในยุคโซเชียลมีเดียมีแง่ดี คือให้ทุกคนกระจายข่าวในเรื่องของการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็นการกระจายข่าวที่มีความผิดพลาดก็จะทำให้ข้อมูลบิดเบือนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ สื่อมวลชนเป็นหน้าที่หลักในการคัดกรองข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่สู่โซเชียลมีเดีย ทั้งตัวบุคคลที่เผยแพร่ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอไป และองค์กรของสื่อซึ่งต้องมีหน้าที่ในการคัดกรองตรวจสอบเป็นหน้าที่สำคัญ แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤตองค์กรสื่อ สำนักข่าวก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ ไม่สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน รวมถึงการเพิ่ม content ในมุมมองที่หลากหลายควบคู่ไปด้วย ทำให้ประชาชนมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับสถานการณ์ไฟไหม้ที่โรงงานของบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ใน ซ.กิ่งแก้ว ๒๑ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๕ ก.ค. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในวงกว้าง คนทำข่าวก็จะต้องพยายามเอาตัวเองไปอยู่หน้างาน เตรียมตัวให้พร้อม และหาบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่รับผิดชอบ เพื่อหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ ให้ได้มากที่สุด หรือแม้แต่ฝ่ายงานรับผิดชอบต่อเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ นักข่าวก็ต้องสามารถติดต่อเพื่อสอบถามถึงข้อมูลที่แท้จริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อป้องกันเกิดความผิดพลาดในการนำเสนอข่าว

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

ทั้งนี้การเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลของคนในพื้นที่ ก็ทำให้ข่าวที่ถูกนำเสนอไปมีความแตกต่างกัน นักข่าวหรือ บก. ที่จับประเด็นเขียนข่าวโดยที่ไม่ได้ลงพื้นที่ จับประเด็นแค่จุดเดียวหรือเป็นการเขียน “ ข่าวทิพย์ ” หรือจับประเด็นแค่จุดเดียวทำให้ข่าวสารที่ถูกนำเสนอไปไม่ครอบคลุม ในการนำเสนอข่าวภาวะวิกฤต จะต้องมีการจัดการบริหารสื่อสารในภาวะวิกฤต ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการตั้งศูนย์บัญชาการเพื่อให้การนำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ทางกองบรรณาธิการเองจะต้องมีความแม่นยำตรวจสอบทุกๆข่าวที่รายงานออกไป ซึ่งทุกโครงสร้างของสื่อมีความสำคัญ เพราะผู้สื่อข่าวในพื้นที่จะนำเสนอข่าวในมิติเดียว ทางกองบรรณาธิการจะต้องช่วยตรวจสอบข่าวที่ถูกต้อง และส่งกลับไปให้นักข่าวในพื้นที่โดยเร็วเพื่อให้การนำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือของคนที่รายงานข่าวและองค์กร ซึ่งจะเป็นวิธีในการแก้ปัญหาและต่อสู้กับข่าวเฟคนิวส์

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายสุชาติ มั่นรักคง ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกรณีไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ ส่วนที่มีความสำคัญคือบุคคลที่ทำหน้าที่ลงพื้นที่รายงานข่าว กอง บก.ข่าวจะต้องจัดนักข่าวที่มีประสบการณ์พอสมควร และกองบรรณาธิการถือว่ามีความสำคัญเช่นกันเนื่องจากกองบรรณาธิการสามารถมองเป็นภาพกว้างได้ทั้งหมด แต่ภายใต้ภาพกว้างนั้นจะต้องมีการคัดกรอง ซึ่งในปัจจุบันสื่อมีการแข่งขันกันมาก ทุกสำนักข่าวอยากให้เห็นภาพที่ใกล้ที่สุด มีการแย่งชิงพื้นที่ แย่งชิงกันบนความรวดเร็ว แต่ถ้าได้มีการตรวจสอบบนข้อเท็จจริงให้ชัดเจนก่อนจะมีการนำเสนอออกไปเชื่อว่าความสูญเสียจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ ณ ขณะนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร และจะลุกลามมากน้อยแค่ไหน และจะเกิดอันตรายแค่ไหน เมื่อทางผู้สื่อข่าวในพื้นที่รายงานเข้ามา ทางกองบรรณาธิการจะต้องนำมาขมวดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าสื่อมีแหล่งข่าว หรือ ผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการ

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

ถ้าได้ตรวจสอบข่าวจากบุคคลเหล่านี้ เชื่อว่าผลกระทบที่จะเกิดในมุมกว้างก็จะทำให้แคบลง จะทำประชาชนที่ติดตามข่าวสารได้รับข้อมูลที่แท้จริง ในกรณีที่มีสื่อบางสำนักนำเสนอข่าวว่ามีสารเคมีอยู่ใต้ดินจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริง แต่การนำเสนอข่าวที่ไม่ระมัดระวังรอบด้าน อาจจะเป็นการนำเสนอข่าวเสนอที่เป็นการสร้างความตื่นตระหนก ขณะที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบของโรงงานที่เกิดเหตุถึงจำนวนที่แท้จริง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะมองว่าเป็นความอ่อนแอของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วยก็ได้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ ควรตั้งศูนย์บัญชาการเพื่อให้การนำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันข่าวกระจายคือแต่ละสำนักข่าวต่างเสนอ แต่ขาดแง่มุมข้อเท็จจริงหลักจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า วิธีการในการนำเสนอข่าวกรองหรือไม่กรองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารโควิด-๑๙ ที่สามารถตรวจสอบได้จาก WHO หรีอเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ สามารถนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาอ้างอิงได้ ส่วนประเด็นการตรวจสอบแหล่งข่าว อย่างกรณีของวัคซีนแอสตราเซเนการัฐบาลไทยของซื้อเดือนละ ๓ ล้านโดส ซึ่งก่อนนำเสนอจะต้องมีการตรวจสอบว่าเอกสารนี้ฉบับจริงหรือไม่ และถ้าเป็นเอกสารตัวจริงจะต้องตรวจสอบว่า การที่จะไปสั่งวัคซีนเดือนละ ๓ ล้านโดสมีเหตุผลหรือไม่ อีกข้อมูลที่ออกมาที่จะยกมาเป็นกรณีศึกษา คือหนังสือพิมพ์นิกเคอิ จัดทำดัชนีฟื้ นตัวจากโควิด – ๑๙ นิกเคอิ จัดอันดับประเทศไทยอยู่อันดับ ๑๑๘ จาก ๑๒๐ ประเทศ ที่มีโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สื่อก็น่าจะต้องตรวจสอบว่าหนังสือพิมพ์นิกเคอิ จัดอันดับนั้นจริงหรือไม่ ถ้าจัดอันดับจริงใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ซึ่งเป็นในกรณีนี้จะเป็นตัวอย่างที่นำไปต่อต้านกับข่าวเฟคนิวส์ทั้งหลายที่ออกมาได้ ถ้าสื่อทำกันเช็กข้อมูลก่อนนำเสนอ

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายมนตรี จอมพันธ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า เมื่อเทียบเคียงกับเหตุการณ์อื่นๆ สมัยอดีต ในปัจจุบันมีช่องทางในการรับรู้ การสื่อสาร ตรวจสอบข่าวสารมากขึ้น ในฐานะที่บ้านอยู่ในรัศมีไม่ไกลจากพื้นที่เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ ได้รับรู้ข่าวด้วยตนเองซึ่งได้ตรวจสอบข่าวด้วยตัวเอง และได้ติดตามข่าวจากสื่อต่างๆ และยังมีช่องทางที่ทำให้ได้ตรวจสอบข่าวได้มากขึ้น อย่างเช่น line ของหมู่บ้าน ชุมชน กลุ่มต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตของการแพร่ระบาดโรคโควิด กว่าจะได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่าจะระดับของผู้ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเป็นสื่อด้วยกันเอง ที่จะนำเสนอข่าว การที่สื่อจะลงพื้นที่ หรือกว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจตรวจสอบ ก็เกือบครึ่งวันหลังจากเกิดเหตุ ซึ่งในแง่ของการติดตามข่าวจากกรณีเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีช่องทางการตรวจสอบข่าวสารข้อเท็จจริงเพิ่มมากขึ้นจากช่องทางต่างๆ และนำมาเทียบเคียงกับสื่อแหล่งต่างๆ ซึ่งทำให้ได้รับข่าวสารที่รวดเร็วกว่าการติดตามจากสื่อด้วยกันเอง

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายสิทธิโชค เกสรทอง ได้สะท้อนมุมมอง ต่อประเด็นข่าวทั้ง ๒ ข้าวและมุมการทำงานของสื่อว่า นักข่าวภาคสนามที่ดีและเก่งต้องมีทีมแบ็คอัพที่แข็ง แต่ที่ผ่านมาในหลายๆ เหตุการณ์ ทีมแบ็คอัพก็ไม่ทันสถานการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ไม่แตก หลงประเด็น ทำให้บางครั้งเกิดขัดแย้งกับนักข่าวในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ประเด็นก็คือจุดมุ่งหมายในการทำงานคืออะไร ถ้าเรามีจุดหมายเดียวกันคือเสนอข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ความขัดแย้งในการทำงานก็ไม่ใช่สาระหลักที่สำคัญ เป็นเพียงความแตกต่างในวิธีการทำงานเท่านั้น ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในการทำข่าวที่เสนอข้อเท็จจริง ก็คือทักษะและความเข้าใจเรื่องการทำงานเป็นทีม บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ถ้าเข้าใจระบบงาน ปัญหาที่เกิดก็ไม่เป็นปัญหา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะมาเป็นข่าวใหญ่ ก็สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เรียกว่า “จมูกข่าว” คือ ความรวดเร็วฉับไวในการประเมินข่าวและผลกระทบของข่าว กรณีนี้ไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ นับว่าล่าช้ามาก ในฐานะของคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวอย่างเกาะติด เข้าใจว่า ข่าวนี้ถูกยกระดับเป็นข่าวใหญ่ตั้งแต่เช้าแล้ว หรือตั้งแต่เกิดเหตุใหม่ๆ ด้วยซ้ำ แต่สื่อที่รายงานเรื่องนี้มีความจำกัด และถูกมองว่าเป็นสื่อพื้นๆ ไม่ใช่สื่อใหญ่เสียงดัง เป็นไปไม่ได้ที่ข่าวอย่างนี้จะไม่ถูกรายงานโดย จส.๑๐๐ และ สวพ,๙๑ เพียงแต่ว่าคนที่รับรู้ข่าวจะตระหนักได้หรือไม่ว่าข่าวนี้จะมีผลกระทบในวงกว้าง ในการทำงานของกอง บก.เป็นที่รู้กันว่าจะแบ่งการประชุมข่าวเป็นสองช่วง คือ ภาคเช้า กับภาคบ่าย กลไกในการทำงานตรงนี้แหละสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการประเมินสถานการณ์ข่าวว่า ถูกต้อง แม่นตรง ต่อสถานการณ์เพียงใด อันนี้ก็ไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิใครได้ เพราะเป็นเรื่องของแต่ละองค์กร ส่วนที่ข่าวจาก line หมู่บ้าน ซึ่งมีข้อดีคือ รวดเร็ว และอยู่ใกล้ชิดสถานการณ์ แต่ข้อเสียก็คือ ขาดการตรวจสอบข่าว อารมณ์และความตื่นตระหนก ทำให้ข้อมูลจากชาวบ้านมีความลำเอียง มุมชาวบ้านคือมุมพื้นราบ มองตรงไปตรงมา ไม่เห็นภาพกว้างแบบเบิร์ดอายวิว ก็ทำให้ขาดรายละเอียดและความสมบูรณ์ไป เวลานำไปใช้อ้างอิงต้องพิจารณาให้รอบคอบ

ที่สำคัญข่าวนั้นไม่ใช่เพียงแต่มองว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม แต่มันเป็นข่าวของใคร และข่าวเพื่อใครด้วย ในความหมายนี้ ข่าวจริงก็กลายเป็นข่าวปลอมได้ ถ้ามันกระทบกับผลประโยชน์ของฝ่ายที่กุมอำนาจ และข่าวบิดเบือนหรือข่าวปลอมก็กลายเป็นข่าวจริงได้ ถ้ามันรับใช้ฝ่ายที่กุมอำนาจอยู่ มันจึงถูกใช้เพื่อเบี่ยงเบน ลวงความสนใจของผู้ให้หลงทางห่างไกลไปจากสิ่งฝ่ายกุมอำนาจต้องการให้ปกปิดหรืออำพรางไว้ พอมาถึงตรงนี้ก็กลายมาเป็นโจทย์ยากของเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอมซะแล้ว เพราะการนิยาม “ข่าวจริง” “ข่าวปลอม” ไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ในเมื่อถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นข่าวจริงของใคร? หรือเป็นข่าวปลอมสำหรับใคร? ก็เป็นคำถามที่ทิ้งประเด็นไว้ เรื่องโควิดเองก็เช่นเดียวกัน ข่าวมุมลบ เป็นเพราะว่ามันลบจริง ๆ หรือมีใครตั้งใจทำให้มันเป็นลบ เพื่อผลทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ในแง่นี้ การวิเคราะห์หรือตอบโต้ข่าวปลอมก็มีเพดานให้ต้องพิจารณาอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที

สมมุติเช่นเรื่องราวชุมชนช่วยเหลือกันในการบำบัดโควิดที่ภาคใต้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ได้รับการขยายผลในวงกว้าง เพราะข่าวอย่างนี้ไปหักหน้าการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของฝ่ายรัฐ ทำให้มีพื้นที่นำเสนอที่จำกัด ข่าวสร้างสรรค์จึงไม่เกิด ทั้ง ๆ ที่ความจริงเกิดขึ้นทุกวัน แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน เช่นเดียวกับ อสม. ก็จะมีบทบาทโดดเด่นกว่านักรบเสื้อขาวไม่ได้ เพราะ อสม. ก็แค่ชาวบ้าน ร่ำเรียนอะไรมา ยังมีพวกเสนารักษ์ของทหารตำรวจอีกเล่า? พวกนี้หายไปไหน จำได้ไหมเมื่อก่อนก็มีหมอเถื่อนฉีดยาหรือรักษาให้คนบ้านนอกคอกนา พวกนี้ก็ผิดกฎหมาย แม้แต่หมอแผนโบราณเองก็เถอะกว่าจะเป็นที่ยอมรับก็ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ นี่คือการรวมศูนย์การบริหารจัดการที่ไม่ให้ค่ากับการตรวจสอบที่อาจจะเป็นปมหรือต้นตอของข่าวปลอมในอีกด้านหนึ่งก็ได้

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายเจริญลักษณ์ เพชรประดับ ได้แสดงความคิดเห็นว่า เฟคนิวส์มีอยู่ในวงการสื่อมานาน เมื่อสื่อปรับตัวไปออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดความแข่งขัน ซึ่งสถานการณ์โควิดทำให้เห็นว่าเฟคนิวส์ หรือ การรับรู้ข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง เกิดขึ้นได้จากหลายส่วน ๑.เกิดจากจากความไม่ตั้งใจ ไม่มีประสบการณ์ หยิบยกบางประเด็นมานำเสนอ โดยที่ไม่มีการตรวจสอบ ๒.เกิดจากเจตนา เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ๓.เกิดจากโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปของการทำสื่อที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างการจัดการ ซึ่งจากสถานการณ์โควิดบทบาทของท้องถิ่นและชุมชนเติบโตขึ้นมาอย่างชัดเจนในแง่ของการทำสื่อ โดยส่วนกลางมี ศบค. แต่เนื่องจากประกาศ ศบค. ในการให้อำนาจแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ซึ่งจากโครงสร้างในการจัดการแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ข่าวที่นำเสนอโดยส่วนกลางบางจังหวัด ที่คนติดตามข่าวไม่เข้าใจ ไม่ตอบโจทย์ ไม่สะท้อนความจริงของพื้นที่ เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด และ

๔.ช่วงเวลาในการรายงาน เช่น ศบค.จะมีการแถลงข่าวประมาณบ่าย ขณะที่ต่างจังหวัดจะมีการแถลงในเวลา ๕ โมงเย็นของทุกวัน ซึ่งทำให้ข้อมูลตัวเลขไม่ตรงกัน ทำให้ถูกมองว่าเป็นการนำเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อนซึ่งมาจากเงื่อนไขของเวลา ในสถานการณ์วิกฤต สังคมไทยหวั่นวิตก แต่มีข่าวร้ายๆ ซึ่งบางครั้งความจริงบางเรื่องอาจจะต้องใช้ถ้อยคำในการนำเสนอโดยไม่บิดเบือนความจริง ถ้อยคำที่ไม่ทำให้เกิดความหวั่นวิตก ทั้งนี้ปัญหาเฟคนิวส์กับองค์กรวิชาชีพ หรือสื่อที่เป็นองค์กร ยังไม่น่ากลัวเท่ากับเฟคนิวส์ที่มาจาก “ใครๆ ก็เป็นข่าวได้. โดยในสถานการณ์วิกฤต อย่ากรณีของแคมป์คนงานในจังหวัดขอนแก่นมีผู้ติดเชื้อโควิดจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้มีการส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังศูนย์ของจังหวัด ซึ่งในสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ คนเป็นสื่อควรจะรายงานทันทีทันใด หรือรอ ศบค.แถลงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนัก เพราะถ้าสื่อหลักช้า สังคมก็จะหาข้อเท็จจริงจากโซเชียลซึ่งมาจากมือถือของแต่ละคน

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายอิทธิพันธ์ บัวทอง ในปัจจุบัน กองบรรณาธิการข่าวในปัจจุบันจะหยิบยกเฉพาะข่าวที่อยากรู้ อยากนำเสนอ ข่าวที่ขายเรตติ้ง ข่าวภูมิภาคจะถูกลดบทบาทไปเกินครึ่งหนึ่ง สมัยก่อนยุคทีวีดิจิทัลข่าวสารภูมิภาค คือขุมทองคำของทีวีดิจิทัลเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นต้นทุนที่ถูก และหยิบมาให้ประชาชนให้ความสนใจ ต่อมาเมื่อสู่ยุคโซเชียล ข่าวสารดีๆ จากท้องถิ่นก็จะหายไป กองบรรณาธิการเองก็จะเน้นเรื่องเรตติ้ง ซึ่งต่อไปกองบรรณาธิการเองต้องพยายามที่จะอุดช่องว่างขับเคลื่อนและคู่ขนานไปด้วยกัน

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

ดร.สุทิน โรจน์ประเสริฐ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่การนำเสนอข่าวต่างๆ เป็นเหมือนการสะท้อนตนเองของผู้สื่อข่าว สะท้อนตัวเองของบรรณาธิการ ว่าจะมีกระบวนการหาข่าว กระบวนการนำเสนออย่างไร ในมุมของคนสอนนิเทศศาสตร์ ถ้าใช้สิ่งนี้ไปพัฒนาให้บุคคลที่จะก้าวเข้ามาสู่วงการข่าวได้ การเสวนาวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ และในการสะท้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีโรงงานไฟไหม้เหมือนกันกับโควิดหรือไม่ ในความน่าเชื่อถือ ความชัดเจนต่างๆ ของข่าว ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิด หลายๆ คนในที่นี้เสนอว่า การนำเสนอไม่ควรมองด้านเดียว ควรจะทางด้านการเมืองกับด้านการทำงานของรัฐบาลด้วย จึงจะทำให้เกิดหลายๆ มุมมองขึ้นมา แต่ทั้งนี้ข่าวที่เกิดขึ้นในแต่ละข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีการนำเสนอต่อว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วเป็นไงต่อ ทำให้ประชาชนขาดข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงหลังเหตุการณ์ และเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร และข่าวที่มีการกรองทำให้บางคนสามารถคิดวิเคราะห์ได้

ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ข่าวเฟคนิวส์ไม่ได้มาจากโซเชียลมีเดียอย่างเดียว แต่มาจากแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เพราะฉะนั้นในกรณีโรงงานไฟไหม้ หรือ โควิด-๑๙ ข่าวสารมาจากทุกสารทิศ ซึ่งต้องควรเพิ่มเติมกระบวนการวิทยาการทางข้อมูลด้วย เพื่อเป็นการคัดกรองข้อมูลประเด็นในการนำเสนอต่อสาธารณชนและกลุ่มเป้าหมาย

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายมูฮำมัดอายุป ปาทาน ได้แสดงความคิดเห็นว่า หน้าที่ของกองบรรณาธิการจะต้องไปลดช่องว่างข้อมูลข่าวสาร เพิ่ม content ให้มากขึ้น อย่างในสถานการณ์โควิดสัดส่วน ๘๐% เป็นการนำเสนอข่าวยอดคนติดโควิด และเสียชีวิต แต่ในส่วนของผู้ที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว มีการใช้ชีวิตอย่างไร ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอ ส่วน อสม.ซึ่งเป็นส่วนสำคัญแต่กลับมีการนำเสนอข่าวน้อย นอกจากนี้จะต้องมีการนำเสนอข่าวเพื่อสร้างการรับรู้อย่างถูกต้องให้ประชาชนได้เข้าใจทั้งในเรื่องของสายพันธุ์โควิด การฉีดวัคซีน รวมถึงวิธีการรักษา รวมถึงมาตรการของรัฐที่จะต้องล้อไปด้วยกัน ซึ่งมองว่าถ้าไม่มีการเติมช่องว่างของข่าวจะทำให้การเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกันหมด ไม่มีความแตกต่าง ซึ่งมองว่าเฟคนิวส์ส่วนหนึ่งเกิดจากการสร้างบรรยากาศของข่าวไปด้านเดียว

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

นายบรรจง นะแส ได้แสดงความคิดเห็นว่า ได้แสดงความคิดเห็นต่อข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด -๑๙ ว่า ในกรณีปรากฏการณ์ของ home isolation เป็นความร่วมมือของชุมชนอย่างแท้จริง ปลุกให้ชุมชนลุกมาขึ้นสู้กับโควิดครั้งนี้ ซึ่งต้องมีการจัดการของภาครัฐที่เข้ามาเสริม สื่อเองก็ต้องนำเสนอข่าวในทัศนะด้านบวกด้วย ไม่ควรนำเสนอแต่ข่าวของคนรอคิวเข้ารับการรักษา คือต้องเสนอควบคู่ ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีหลายมติของข้อเท็จจริง

<strong>กองบรรณาธิการเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม จับมือเครือข่ายฯเปิดเวที“</strong><strong>Share</strong><strong>มุมข่าวเล่าเบื้องลึกจากคนทำสื่อ”หาปม“ข่าวเฟคนิวส์” ระดมสมองถอดบทเรียนสื่อสารในภาวะวิกฤต </strong><strong></strong>

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต กล่าวถึงประเด็นของการนำเสนอข่าวการติดเชื้อโควิด ทำให้กลบข่าวด้านอื่นๆ ไป กลายเป็นการเสนอข่าวดราม่า ในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลในการให้ความรู้ข้อเท็จจริงได้ เรื่องในแต่ละพื้นที่ควรหยิบยกมานำเสนอ มีวิธีการอย่างไรในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่สร้างความเข้าใจถูกต้อง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ อีกประเด็นหนึ่งที่อยากตั้งข้อสังเกต คือข่าวออนไลน์ที่มีความสำบากที่จะควบคุมการพาดหัวข่าว ซึ่งข่าวออนไลน์จะมีการแชร์ไปได้ง่าย หรือบางครั้งเป็นข่าวเฟคนิวส์ หรือเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ข้อสรุป คนทำข่าวและสำนักข่าวต้องตระหนักว่าการนำเสนอข่าวอย่างไรที่สร้างความสับสนให้ประชาชนน้อยที่สุดส่วนบนของฟอร์ม

Leave a Comment