กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร คืบหน้ากว่า 20%  มุ่งบรรเทาและลดผลกระทบน้ำหลากบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

Mummai Media

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร คืบหน้ากว่า 20%  มุ่งบรรเทาและลดผลกระทบน้ำหลากบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา มีลักษณะแคบเป็นคอขวด ทำให้สามารถระบายน้ำได้เพียง 1,200 ลบ.ม./วินาที อีกทั้งบริเวณเกาะเมืองอยุธยายังเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปริมาณน้ำไหลมารวมกัน จึงทำให้เกิดการชะลอน้ำบริเวณจุดบรรจบส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตัวเมือง สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร คืบหน้ากว่า 20%  มุ่งบรรเทาและลดผลกระทบน้ำหลากบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 โดยมีแผนดำเนินโครงการ 5 ปี (พ.ศ2562-2566)  ประกอบด้วย

1.ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ ความยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที พร้อมก่อสร้างถนนผิวจราจรกว้าง 8 เมตร บนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง 

2.ประตูระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำหลาก เป็นบานระบายน้ำโค้ง จำนวน 4 บาน ขนาดบาน 12.50×9.50 ม.อัตราการระบายน้ำสูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที พร้อมประตูเรือสัญจร 

3.อาคารประกอบประเภทอาคารจ่ายน้ำและสถานีสูบน้ำข้างคลองระบายน้ำหลากฯ จำนวน 36 แห่ง  

4.สะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ำหลากฯ จำนวน 11 แห่ง 

5.กำแพงป้องกันตลิ่งบริเวณท้ายประตูระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำหลากฯ 

6. คันกั้นน้ำโดยรอบพื้นที่โครงการพร้อมอาคารประกอบ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร คืบหน้ากว่า 20%  มุ่งบรรเทาและลดผลกระทบน้ำหลากบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา

ปัจจุบันมีผลดำเนินโครงการฯ คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 20 ของแผนฯ ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จทั้งหมด จะสามารถบรรเทาอุทกภัยตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เฉลี่ย 1.9 – 2.5 ล้านไร่/ปี  เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านเกษตรกรรมกว่า 229,000 ไร่  ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่ออุปโภคบริโภค 25 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 48 ตำบล 3 เทศบาล 362 หมู่บ้าน  นอกจากนี้ ถนนบนคันคลอง ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างอำเภอบางบาลและอำเภอบางไทร  รวมทั้งเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา  ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

Leave a Comment