ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

Ittipan Buathong

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 19/2564 เห็นชอบปรับมาตรการควบคุมโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ปรับจำนวนวันกักตัว หรือพำนักในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว เป็น 5, 10, 14 วัน ปรับการตรวจหาเชื้อหลังการเข้าประเทศ สำหรับ Test and Go เป็น ATK ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 0 จังหวัด ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 15 ต่อไปอีก 2 เดือน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยได้เริ่มเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยนิด้าโพลพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการให้ความสำคัญระหว่างความอยู่รอดทางเศรษฐกิจกับความปลอดภัยของสุขภาพ พบว่า ประชาชนร้อยละ 58.95 ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสุขภาพ แม้ว่าจะต้องอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนยังมีความกังวลกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงต้องสร้างความเข้าใจเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการหายารักษาโควิด และเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล และเตียงรักษาผู้ป่วยในทุกกลุ่มอาการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และร่วมมือ ร่วมใจกัน พาประเทศไทยกลับมาสู่สภาวะปกติ ธุรกิจเดินหน้า และประชาชนปลอดภัยจากโรคโควิด-19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการท่องเที่ยวและกีฬา” เป็นโครงสร้างหนึ่งภายใต้ ศบค. เพื่อบูรณาการการทำงานที่เกี่ยวกับการเปิดประเทศ และแก้ไขข้อขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้น

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูประเทศและเศรษฐกิจ กระตุ้นพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการช่วยกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถประคองตัวต่อไปได้ ทั้งนี้ ขอให้ช่วยกันผลักดันและหามาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น

นายกรัฐมนตรียังขอให้ทุกหน่วยงานมีการถอดบทเรียนจากการดำเนินการและการแก้ไขปัญหารวมถึงการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ของ เพื่อสร้าง Big Data เป็นฐานข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศด้วย พร้อมสั่งการให้หาวิธีสร้างมูลค่าให้บัตรฉีดวัคซีน เพื่อให้เห็นว่าถ้าใครฉีดวัคซีน จะสามารถเดินทางได้ทั่วไทย แต่ถ้าไม่ฉีดต้องอยู่บ้าน โดยรณรงค์ให้ประชาชนมารับวัคซีนโควิด-19 รวมทั้งให้มีการสื่อสารเรื่องจำนวนเตียงรักษาที่มีเพียงพอ ขณะนี้มีการใช้เตียงเพียง 1 ใน 3 และผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขหาสาเหตุของการเสียชีวิต  เน้นให้ยารักษาอย่างทั่วถึงเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิต รวมทั้งสื่อสารให้สถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ในการเตรียมพร้อมเปิดสถานประกอบการ โดยเฉพาะกิจการสถานบันเทิง ที่ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน และมีการตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อคู่ขนานไปกับการประเมินสถานการณ์ประกอบการพิจารณาเปิดให้บริการ

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

ที่ประชุมมีมติที่สำคัญ ดังนี้

เห็นชอบการปรับมาตรการควบคุมโรค สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2564  ดังนี้

-ปรับจำนวนวันกักตัว หรือพำนักในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว เป็น 5, 10, 14 วัน ขึ้นกับกรณี

-ปรับการตรวจหาเชื้อหลังการเข้าประเทศ สำหรับ Test and Go เป็น ATK

-ไม่ต้องตรวจหาเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ก่อนเข้าราชอาณาจักร

-ปรับหลักเกณฑ์สำหรับการได้รับวัคซีนในเด็ก และผู้ที่มีการติดเชื้อมาก่อน

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม
ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

มอบหมาย ศปก.ศบค. ศปก.กก. ททท. กต. สธ. ดศ. มท. สตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ และกำกับติดตามการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ศปก.กก. ททท. สธ. (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) จัดทำระบบการตรวจหาเชื้อโดย ATK สำหรับประเภท Test and Go

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม
ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

นอกจากนี้ยังมีการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ดังนี้

– การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

– พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 0 จังหวัด / พื้นที่ควบคุมสูงสุด 23 จังหวัด / พื้นที่ควบคุม 23 จังหวัด / พื้นที่เฝ้าระวังสูง 24 จังหวัด / พื้นที่เฝ้าระวัง 0 จังหวัด / พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 7 จังหวัด

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

ทั้งนี้ มาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับทุกระดับพื้นที่สถานการณ์ คงใช้มาตรการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

– ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ต่อไปเป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565

ศบค. ปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด นายกฯ ขอสถานประกอบการเร่งทำ COVID Free Setting ผู้ประกอบการต้องฉีดวัคซีน /ตรวจ ATK อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อม

อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า กระทรวงแรงานจะประชุมร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และลูกจ้างกิจการสถานบันเทิง เพื่อพิจารณามาตรการดูแลช่วยเหลือเยียวยาให้กับลูกจ้างกิจการสถานบันเทิง 

Leave a Comment