วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

Ittipan Buathong

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

ทีมพัฒนาของราชภัฏลำปางยังได้ทำเมนูอาหาร ออกแบบบัตรโดยสารต้นแบบ ทำข้อความภาษาอังกฤษ ติดโลโก้โครงการ ใช้อักษรโบราณเติมลงในสัญลักษณ์   ตลอดจนทำแผ่นพับข้อมูลสถานที่น่าเยี่ยมชมในเส้นทางพร้อมQR Code  ทำกล่องอาหารกลางวันที่ให้บริการมีขนาดพอดีกับโต้ะพับประจำที่นั่งโดยสารในโบกี้รถไฟด้วย

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

เน้นใช้วัสดุ วัตถุดิบและสีสรรธรรมชาติมาประกอบกัน

รถไฟเริ่มออกเดินทางแต่เช้าราว8โมงเศษ จากสถานีรถไฟเชียงใหม่

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

ในรอบเดินรถปฐมฤกษ์นี้ นอกจากเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวง อว. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล  เลขาของศ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และผู้ช่วยของท่าน รวมทั้งผมแล้ว ก็ยังมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปางต่างนำคณะเจ้าหน้าที่ของท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมาร่วม มีรองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพช.) คณะผู้บริหารจาก สกสว. ผู้บริหารททท.ภาคเหนือ และผู้บริหารจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)

ที่สำคัญคือมีคณะผู้บริหารจากสมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยวหรือ ATTA และจากสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ(สทน.)มาร่วมอย่างอบอุ่น

ภาคธุรกิจเอกชนท่องเที่ยวนี่แหละที่จะเป็นพลังสำคัญในการสื่อสารไปถึงตลาดต่างๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ

ทุกคนดีใจที่กำลังจะมีสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ๆคลอดออกมา

ยิ่งท่องเที่ยวทางรางยิ่งน่าสนใจ

ตลาดไทยก็ไปได้ดี เวทีอินเตอร์ก็ไปได้สวย

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

ขอเพียงทำให้ดีมีมาตรฐานสะอาด ปลอดภัย สื่อสารสม่ำเสมอ เป็นใช้การได้

เพราะท่องเที่ยวทางรางมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โลกชื่นชอบมานานมากแล้ว

ริเวียร่าฝรั่งเศสดังไปทั่วโลก ไม่ใช่เพราะหาดสวย แต่เพราะมีรถไฟพาไปถึงบวกกับทำให้ผู้โดยสารสามารถเยี่ยมชุมชนตามเทือกเขาแอลป์ไปตลอดทาง และตลอดปี

นี่แหละที่ทำให้ท่องเที่ยวในย่านรีเวียร่าอยู่คงทนมีลูกค้ามาเยี่ยมเยือนไม่เคยขาด แถมทำให้สินค้าชุมชนหลายอย่างไต่ขึ้นถึงระดับชาติ

ผู้เดินทางด้วยรถไฟสามารถลงที่สถานีกลางเมือง แต่รถยนต์อื่นๆต้องเปิดทางให้ แต่ถ้าบินไป ยังไงก็อยู่ชานเมือง ต้องรอสัมภาระ ต้องหารถเข้าเมือง บรรยากาศจึงผิดกันลิบลับ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

รถไฟท่องเที่ยวของญี่ปุ่นก็มีเสน่ห์มานานเช่นกัน มีรายการทีวีสารพัดถ่ายทอดบอกข่าวสาร ชวนไปทานอาหารถิ่น ไปแช่ออนเซ็นแปลกใหม่ในชนบทที่นั่นที่นี่ ชวนไปร่วมเทศกาลน่ารักตามวัดตามชุมชนเล็กๆ มีแม้แต่ขบวนแห่แฟนกีฬาไปเชียร์ในสนามต่างเมือง จนท่องเที่ยวทางรถไฟของญี่ปุ่นสร้างชาติผ่านการเชื่อมโยงได้อย่างน่าทึ่ง

รถไฟOriental Express ใช้เส้นทางรถไฟในไทยเชื่อมสิงคโปร์ผ่านมาเลเซียทำบริการระดับโลกมานานหลายทศวรรษ ประสบความสำเร็จมากมาย ราคาค่าตั๋วแพงทะลุเมฆ แต่ก็มีคนจองไปเดินทางเอาประสบการณ์กันไม่ขาดสาย

ดังนั้น รางรถไฟไทยที่กำลังยกระดับเป็นรางคู่ทั่วประเทศ  และกำลังยกระดับเป็นรถไฟฟ้าความเร็วที่มากขึ้น ทั้งมีแผนจะเชื่อมรถไฟลาว-จีน

รถไฟไทย-กัมพูชา รถไฟไทย-ลาว จึงมีอนาคตสดใสยิ่ง

เพียงแต่ต้องตระหนักร่วมกันว่า เรื่องนี้ต้องลดรั้วหน่วยงานมาร่วมมือกันให้จริงจัง

ระบบรางจะพาเราทั้งหมดผ่านโลกยุคเก่าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรมได้มากกว่าเดิมอีกมากและจะสามารถเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปได้อย่างกว้างขวาง ชุมชนและภูมิภาคจะได้โอกาส

กลับมาเล่าเรื่องรถไฟล้านนาพาเที่ยวครั้งนี้กันต่อ

ในวันปล่อยขบวน พวกเราไปพร้อมกันที่สถานีรถไฟเชียงใหม่แต่เช้า

อากาศที่สถานีรถไฟยามเช้าเย็นเจี้ยบ ชื่นใจ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

พิธีลั่นระฆังปล่อยขบวนรถจากสถานีเชียงใหม่ทำกันอย่างเรียบง่าย แต่ก็มีชีวิตชีวา เพราะมีทั้งทีมระบำรำฟ้อน พร้อมวงดนตรีไทยและวงออเครสตร้ามาบรรเลงในฐานะเป็นชมรมที่ทางมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้ว และได้ลงทุนขนทีมงานตลอดจนอุปกรณ์มาจากราชภัฏลำปางโน่น

ขบวนรถไฟพิเศษ 954 Lanna Modernization นำผู้โดยสารรุ่นแรกจำนวน150คน แล่นจากสถานีรถไฟเชียงใหม่ไปพักจุดแรกที่สถานีรถไฟลำพูน

ที่นั่น มีรถรางหลายคันมารอรับนำไปชมตัวเมืองลำพูน มีมัคคุเทศก์โครงการแนะนำบรรยายความรู้และเกร็ดต่างๆตลอดเส้นทาง พาแวะสักการะพระธาตุลำพูนกันแบบไม่ต้องเร่งรีบทำเวลา อิ่มบุญอิ่มตา บ้างก็ไปแวะชิมร้านกาแฟใกล้วัด จ่ายเงินซื้อขนมนั่นนี่และกดชัตเตอร์กันจนพอใจแล้ว ก็กลับมาขึ้นรถไฟออกเดินทางกันต่อ

ผมสังเกตว่ารถไฟแล่นได้เงียบกว่าสมัยที่ผมยังเป็นนักเรียนจากอุบลราชธานีเข้ากรุงเทพมาก ทั้งนี้เพราะการเชื่อมรางรุ่นใหม่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้าหลอมเนื้อเหล็กของรางให้ติดกันโดยไม่ต้องใช้น้อตขันแล้ว

น้อตขันประกอบรางนั้นตอนโดนแดดร้อนทั้งวันจะขยายตัว พอกลางคืนมืดเย็นเหล็กก็จะหดตัวลง พอรถไฟแล่นกระทบก็จะมีอาการคลายตัวช้าๆทีละนิด เสียงเหล็กจึงกระทบกันเมื่อมีล้อรถไฟแล่นผ่านวันละนับสิบนับร้อยขบวน

เสียงรางรถไฟกระทบกันจึงเปรียบเสมือนเสียงขับกล่อมสำหรับผู้โดยสารตู้นอนอย่างผมมาตลอดคืนทุกครั้งไป

เดี๋ยวนี้เสียงชึ่งชั่ง ฉึกฉักหายไปหมด

จึงนั่งคุยสนทนาส่งเสียงเบาๆและสามารถนั่งรับประทานอาหารกลางวันเมนูเมืองเหนือที่เสริฟมาระหว่างเดินทางได้อร่อยสบายๆ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

อีกอึดใจใหญ่ ๆ  รถไฟก็ถึงสถานีรถไฟนครลำปาง พวกเราลงจากรถไฟเพื่อขึ้นรถม้ากันต่อ รถม้าพาไปผ่านย่านตลาดเก่า ย่านที่อยู่อาศัย ร้านรวงดั้งเดิม มีสินค้า และอาหารเครื่องดื่มเก๋ๆของท้องถิ่นที่ดูน่าสนใจให้เลือกซื้อเลือกชิมเกือบตลอดทาง

เสียงที่เสนาะหูตลอดทางคือเสียงเกือกม้าที่กระทบพื้นเป็นจังหวะน่าฟังไปตลอดทาง

คนขับรถม้าประจำท้องถิ่นส่งเสียงเล่าเรื่องเมืองลำปางในแง่มุมต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว แบบไม่ต้องตะเบ็งเสียง เพราะรถม้านั้นวิ่งเรียบเงียบดีมีแหนบพยุงนั่งสบาย

ผมก็เพิ่งทราบว่ารถม้าที่ลำปางนี้ถูกส่งมาจากกรุงเทพพร้อมการเดินรถไฟขบวนแรกจากกรุงเทพสู่ภาคเหนือ ซึ่งทางรถไฟมาหยุดปลายทางที่สถานีรถไฟลำปางนี่เอง เพราะตอนนั้นยังต้องรอเทคโนโลยีขุดอุโมงค์ขุนตานอีกหลายปี

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

รถม้ากับรถไฟจึงกลายเป็นผู้รับส่งคนโดยสารกันเป็นทอดๆที่นครลำปางนี้มาตั้งแต่พศ.2459ทีเดียว

ยางล้อรถม้าลำปางเป็นยางตัน เพื่อน้ำหนักจะเบากว่า และไม่ต้องห่วงเรื่องลมยางจะรั่วระหว่างนำชม ที่นั่งสูง มองไปได้ไกล แถมคนขับรถม้าจะตกแต่งรถม้าของตัวอย่างภูมิใจ

ผมเคยนั่งรถม้าลำปางมาหลายหนแล้ว แต่ครั้งนี้สังเกตเห็นแผงโซลาร์เซลล์ท้ายรถม้า คนขับอธิบายว่าพวกเขาติดไฟเลี้ยวและไฟหน้ารถม้าโดยใช้พลังแสงอาทิตย์กันมาได้พักนึงแล้ว

นับเป็นการใช้พลังงานทดแทนได้เกินคาดดี

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

คนขับรถม้าอธิบายเรื่องความนุ่มนวลที่เขาต้องมีต่อม้าของเขาให้ผู้โดยสารได้ฟังเป็นความรู้ด้วย แผงปิดข้างดวงตาม้าช่วยม้าให้เห็นเฉพาะเส้นทางข้างหน้าทำให้ให้ม้าลดความวิตกกังวลต่อสิ่งแปลกตา เช่นรถราที่แล่นอยู่บนเส้นทางเดียวกัน 

ที่คนไปกล่าวว่าแคบเป็นม้าลำปาง เพื่อกระทบกระเทียบคนที่ไม่มีมุมมองเปิดกว้าง ก็มาจากที่เห็นแผ่นบังข้างตาของรถม้านี้นี่แหละ

แต่ที่เขาบังให้ เพราะม้าเป็นสัตว์ฉลาดลึก อยากรู้อยากเห็น เลยต้องช่วยบังบางมุมให้ไม่ต้องกังวลใจม้าต่างหาก!!

ม้าที่ใช้ลากมักเป็นม้าพันธุ์ผสมระหว่างสายพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์ที่มาจากดินแดนทะเลทรายของต่างประเทศ เพราะจะทนต่อแดดเมืองไทยได้ดีขึ้น ที่จุดพักคอยของรถม้าจะเป็นจุดที่มีน้ำสะอาดให้ม้าดื่มได้เพียงพอ

ม้าที่ดีสำหรับงานแบบนี้ ไม่ได้ดูที่ขนาดของม้า แต่คนเลี้ยงจะเน้นที่ความสามารถในการก้าวย่างของม้ามากกว่า

ช่วงโควิด ลูกค้าท่องเที่ยวหายไป คนขับรถม้าเลยจำต้องคว้ามอเตอร์ไซค์มารับอาชีพไรเดอร์แทน

รถไฟเราเลยช่วยอุดหนุนเป็นกำลังใจประจำเพื่อให้เสน่ห์นี้อยู่เชื่อมลำปางไปให้ได้

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

ราวบ่ายสามโมง เราทุกคนกลับมาที่รถไฟอีกครั้ง ที่สถานีรถไฟลำปางมีการจัดวางงานศิลปะกลางแจ้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางนำมาจัดเสริมบรรยากาศการเป็นเมืองท่องเที่ยวหลายอย่าง

ชามตราไก่นั้นดังมาจากลำปางนี่แหละ ดินขาวที่นี่มีคุณภาพ ตำนานเรื่องไก่มีหลายมุม บ้างก็อธิบายถึงไก่คือพระอินทร์แปลงร่างมาขัน เพื่อปลุกมนุษย์ให้ตื่นมาใส่บาตรพระ บางเรื่องเล่าว่าไม่ใช่บาตรพระแต่เป็นบาตรพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ บางเสียงบอกเป็นฝีมือเขียนของช่างชาวจีนแล้วรับสืบต่อลวดลายตามกันมา

กลับมาเรื่องรถไฟท่องเที่ยวต่อ

รถไฟแล่นกลับตามเส้นทางเดิมขึ้นเขาจนผ่านอุโมงค์ขุนตาน ซึ่งเชื่อมระหว่างป่าของลำปางกับป่าของลำพูน รถไฟจอดที่สถานีขุนตานให้ผู้โดยสารลงไปเยี่ยมชม สักพักใหญ่

ผมสังเกตเห็นบันไดขึ้นเขาไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน

เลยถึงบางอ้อ

มิน่า เส้นทางที่รถไฟนี้ผ่านจึงมีป่าเบญจพรรณอันสวยงาม

บางช่วงมองออกไปไกลหน่อยจะเห็นใบไม้เปลี่ยนสีเป็นออกส้มบ้างเหลืองบ้าง แดงบ้างงดงาม

จุดแวะสุดท้ายให้ผู้โดยสารลงไปถ่ายรูปได้คือที่สะพานรถไฟชื่อ’’ ขาวทาชมภู’’ อายุเป็นร้อยปี  ที่นี่คือเป็นสะพานปูนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทอดข้ามลำน้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยเเรกๆ ทั้งที่ปกติสะพานสำหรับรถไฟจะทำด้วยเหล็กล้วน เพราะจะทนแรงสั่นสะเทือนและอ่อนตัวได้ดี

ด้วยว่าช่วงก่อสร้างเป็นช่วงสงคราม จึงไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานเหล็กล้วนๆได้ แต่แล้ว พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้หาทางคำนวณและมาควบคุมงานสร้างสะพานคอนกรีตนี้จนสามารถใช้งานได้มาจนปัจจุบัน

นับเป็นประวัติที่สนใจ

ต่อมาสะพานนี้กลายเป็นจุดเช็คอินของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบวิวดีมีแลนด์มารค์ เพราะสะพานนี้สีขาว(ไม่ใช่สีชมพู)ตัดกับฉากสีเขียวของทุ่งหญ้าและป่าสีเข้มของภูเขารอบด้านอย่างแปลกตา แถมมีสนามกอล์ฟมาสร้างอยู่ต่อเนื่องไปอีก จึงมีผู้มาลงทุนทำร้านกาแฟ ร้านอาหารให้บริการอีกหลายร้าน มีผู้มาเยี่ยมเยือนไม่เคยขาด

อนึ่งคำว่า ‘’ทาชมภู’’เป็นชื่อตำบลที่สะพานนี้ตั้งอยู่หรอกนะครับ ตำบลทาชมภูอยู่ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

มีเกร็ดเล่าชวนคิดว่าถ้าสะพานนี้ตั้งอยู่ในตำบลอื่นของอำเภอแม่ทาก็คงชื่อตามนั้นด้วย เพราะตำบลในอำเภอนี้จะขึ้นต้นด้วยคำว่า’’ทา’’ ทุกตำบล เช่นตำบลทาปลาดุก ตำบลทาทบเส้า ตำบลทาขุมเงิน ตำบลทาทุ่งหลวง ตำบลทาแม่ลอบ

แต่เมื่อสะพานตั้งในตำบลทาชมภู เลยตั้งชื่อว่าสะพานขาวทาชมภู!!

คนไม่ทราบที่มาจึงแอบสงสัยว่า เอ้ะ สีสะพานก็ขาวล้วน แต่ทำไมจึงเรียกสะพานขาวทาชมภู!!?

ทีนี้ก็กระจ่างเสียทีเนาะ

จากจุดนี้ รถไฟแล่นนำเรากลับไปส่งที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ก่อนฟ้ามืดสบายๆ

ไม่ห่วงรถติด เพราะรถทุกประเภทจะหยุดให้เราไปก่อนเสมอ

เป็นอีกหนึ่งการท่องเที่ยวทางรถไฟที่น่าติดตามการพัฒนาต่อไป

อนึ่ง การท่องเที่ยวทางรถไฟแบบไปกลับได้ในวันเดียว เท่าที่นักท่องเที่ยวไทยรู้จักในปัจจุบันก็จะมี

รถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี

รถไฟสายนครปฐม

รถไฟสายอยุธยา

รถไฟสายราชบุรี

รถไฟสายแปดริ้ว

รถไฟสายสมุทรสงคราม

รถไฟสายพัทยา-สวนนงนุช

รถไฟสายชะอำหัวหิน

รถไฟสายเขาใหญ่ปากช่อง

รถไฟสายลพบุรีเขื่อนป่าสัก

ซึ่งน่าสังเกตว่าคือเน้นแล่นจากเมืองหลวงเป็นหลัก

การตกแต่งในโบกี้รถยังไม่เพิ่มเติมอะไรนัก

ส่วนสายล้านนา Modernization นี้เป็นการเดินทางจากเมืองหลักของภูมิภาคไปเมืองรอง

มีการตกแต่งรถไฟให้เก๋กู้ด

มีเเพคเกจอาหารล้านนาบริการบนขบวนรถ

ทริปนี้ของเรายังเป็นเพียงระดับทดสอบระบบที่ออกแบบไว้

การรถไฟแห่งประเทศไทยคาดว่าจะสามารถเปิดวิ่งบริการทุกวันได้ในช่วงหลังตุลาคม2565ไปสัก4เดือน เป็นประเดิม แล้วจะประเมินต่อ

จึงอยากชวนทุกท่านที่เป็นแฟนรถไฟไทยเอาใจช่วยกันให้มีอนาคตที่จะเชื่อมไปจนถึงเมืองถัดๆไปอย่างพิษณุโลก และเมืองอื่นๆที่ยังรอได้ประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ

วันหน้าเราจะได้มีชานชาลารถไฟในที่เที่ยวเก๋ๆเช่น ชานชาลาปีนหน้าผา ชานชาลาล่องแก่ง ชานชาลาวิ่งเทรล ชานชาลาโรยตัวสำรวจถ้ำ ชานชาลาบึงบัว ชานชาลาจักรยานภูเขา ชานชาลาร่มร่อน ชานชาลาขี่ม้า และอะไรได้อีกมากมายที่จะเพิ่มคุณค่าให้การท่องเที่ยวไทยอย่างหลากหลายครับ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : รถไฟท่องเที่ยว (ตอนจบ) นอกจากมีรถไฟที่ตกแต่งภายในย้อมบรรยากาศสำหรับเตรียมการเดินรถไฟท่องเที่ยวในสายทางประวัติศาสตร์แห่งล้านนาแล้ว

ไว้มีทริปแปลกใหม่มาอีกก็จะพยายามไปตามส่องมาเล่าให้อ่านครับ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

สมาชิกวุฒิสภา

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Leave a Comment