นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)เปิดเผยวันนี้(12เม.ย.)ว่าเป็นห่วงชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกหลังจากได้รับรายงานว่าด่านโมฮ่านของจีนออกประกาศระงับการนำเข้าทุเรียนไทย3วันระหว่างวันที่12-14เมษายนเนื่องจากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งทุเรียนไทยผ่านลาวเข้าด่านโมฮ่านทางตอนใต้ของมณฑลยูนนานเกินมาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าและราคาทุเรียน จึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ.เร่งแก้ไขปัญหาโดยประสานกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด(คพจ.)ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานให้ยกระดับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิดโดยทันที
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากข้อสั่งการของรัฐมนตรีเกษตรฯ.เมื่อคืนนี้ทางปลัดกระทรวงเกษตรฯ.ได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงเกษตรลงพื้นที่จันทบุรีในวันนี้เพื่อร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีและหน่วยงานกระทรวงเกษตรเช่นสวพ.6ของกรมวิชาการเร่งแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนโควิด นอกจากนั้นอธิบดีกรมวิชาการยังมอบหมายรองอธิบดีลงไปสมทบทีมงานกระทรวงเกษตรในจังหวัดจันทบุรีด้วย ต้องขอความร่วมมือทุกฝ่ายให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิด ห้ามการ์ดตกเด็ดขาดโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงได้แก่ล้งและผู้ประกอบการส่งออกรวมทั้งผู้ให้บริการโลจิสติกส์
โดยบ่ายวันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีร่วมกับรองปลัดกระทรวงเกษตร นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ. สมาคมทุเรียนและผลไม้ ผู้ประกอบการล้งและผู้ส่งออก ผู้แทนชาวสวนผลไม้ สวพ.6และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเพื่อหารือถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนโควิดโดยยกระดับการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายและกำชับให้สถานประกอบการเอกชนเข้มงวดกวดขันพนักงานและสถานที่ทำงานตลอดจนบรรจุภัณฑ์และตู้คอนเทนเนอร์ตามมาตรการที่จังหวัดและกรมวิชาการเกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีได้ออกประกาศมาตรฐานความปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผลไม้โดยจังหวดั จันทบุรี (Zero COVID Chanthaburi Fruit : ZCCF) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 มี มาตรการด้านความปลอดภัยจากการปนเปื้นเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) มาตรการควบคุมการส่งออกทุเรียนปลอดเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นผลผลิตทุเรียนไทยซึ่งมี มูลค่าซื้อขายทั้งในและต่างประเทศ ด้วย 3 มาตรการที่ครอบคลุม คือ(1) มาตรการสาหรับเกษตรกร ชาวสวน (2) มาตรการสาหรับผู้ประกอบการ สถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) และ(3) มาตรการสาหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร (ผลไม้) ตั้งแต่การพ่นยาฆ่าเชื้อต้นทาง จากสวนทุเรียน จนถึงระบบขนส่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผลผลิตทุเรียนไทยต่อประเทศคู่ค้าสาคัญ ต่าง ๆ อีกด้วย มีการกาหนดวันเริ่มเก็บเกี่ยวทุเรียนในแต่ละสายพันธ์ ประจาปี 2565 จัดชุดเฉพาะกิจ เพื่อตรวจการตัดทุเรียนออกสู่ตลาด และมีการดาเนินโครงการสร้างตราสัญลักษณ์ จันท์การันตี ใน ผลไม้ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคตามนโยบาย Chanthaburi Sandbox .