สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ

Mummai Media

สวพส. พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศในอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ไร้สารเคมี ไม่มีไร่หมุนเวียน 3 ปีเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ไม่เป็นหนี้

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงหรือ สวพส. ได้เข้าไปช่วยเหลือพัฒนาส่งเสริมพื้นที่ของเกษตรกรโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขง จำนวน 5 หมู่บ้าน เดิมตำบลสบโขง ได้เปลี่ยนมาเป็นตำบลแม่หลอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2547 มาจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลา 18 ปี ทำให้คุณภาพชีวิต สถาบันครอบครัว รายได้ดีขึ้น ถึงจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกือบ 3 ปี แต่พื้นที่ประสบความสำเร็จ ยกระดับเกรด Aหมู่บ้านโมเดล บ้านบูแมะ ม. 2 ต.แม่หลอง อ.อมก๋อยจ.เชียงใหม่แห่งนี้เกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 สามารถส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว ไม่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก ทำไร่หมุนเวียน หันปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนใช้พื้นที่น้อย ไร้สารเคมี ยังปลูกพืชระยะสั้นเสริม และไม้ผล พืชหลักเป็นมะเขือเทศ 1 ปี ปลูก 2 ครั้ง อายุการเก็บเกี่ยว 3 เดือนเศษ จะเก็บผลผลิตขายในรูปแบบกลุ่มมีความเข้มแข็ง รวมกันไปจำหน่าย มีตลาดรองรับผลผลิต จากการหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ที่สำคัญหมู่บ้านแห่งนี้ ไร้การเกิดไฟป่าจุดHOTSPOT มาแล้ว 5 ปี มีการบริหารจัดการเผา การทำแนวกันไฟ ฝายชะลอน้ำ เพื่อพื้นที่ป่า ไม่ทำไร้หมุนเวียนเหมือนแต่ก่อน

สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ

นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง หรือโมเดลบูแมะ ที่กำลังขยายออกไปหมู่บ้าน ตำบลอื่นๆ ในพื้นที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ

นายสมชาย นพรัตน์พงษ์ไพร อายุ 50 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านบูแมะ แห่งนี้ กล่าวว่าก่อน 5 ปีเคยมีไฟป่าเกิดขึ้นแต่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ทำขึ้นมาเอง หลังจากสถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง อบต. หน่วยงานต่างๆ เข้ามาทำให้ 5 ปีตั้งแต่ 2560 จนถึง 2565 ในปีนี้ หมู่บ้านปลอดจากไฟป่าและจุดHOTSPOT ได้หายไปจากหมู่บ้านปลอดมา 5 ปี เราไร่วมกันตั้งกฎกติกามีคณะกรรมหมู่บ้านและคณะกรรมการไฟป่าขึ้น ร่วมกันลาดตระเวน ทำแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ เพิ่มพื้นที่ป่า จะเห็นพื้นที่เดิมที่เคยเป็นไร่หมุนเวียนทำข้าวไร่เป็นหลัก ตอนนี้มีต้นไม้สีเขียว ไม่มีการเข้าไปทำการเกษตรอีก ก็จะเหลือเพีย ทำให้เกิดความชุ่มชื้น จึงไม่เกิดไฟป่าขึ้นมาเป็นปีที่ 5 คุณภาพชีวิตของชาวบ้าน สิ่งแวดล้อม สุขภาพดีขึ้น เพราะไม่ไฟป่าหมอกควันไฟ

สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ
สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ

อีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างประสบความสำเร็จ รอยยิ้ม ของนายพะซู สมานเกริกไกร กล่าวว่าโควิด-19 ระบาดผลผลิตส่งขายได้ไม่กระทบต่อรายได้ แต่ก่อนทำการเกษตรในพื้นที่โล่ง ใช้พื้นที่มากเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก มีรายได้ การใช้พื้นที่มากส่งผลต่อรายจ่าย ต้องใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี เข้ามา โดยเฉพาะเวลาตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำอยู่ในพื้นที่ทำการเกษตร ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว หลังจากมีตัวอย่างอดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่ ได้ริเริ่มทำการปลูกมะเขือเทศโรงเรือนแล้วได้ผลจริง ใช้พื้นที่น้อยเพียง 2 งาน จากที่เคยเป็น 10 ไร่ จึงได้หัยมาทำบาง ใช้ระยะเวลาเพียง 3 ปีกับมีรายได้เพิ่มขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัว สอนลูกทำการบ้าน การทำเกษตรพื้นที่มากไม่ส่งผลดีรายได้ที่มีไม่เพียงพอมีหนี้สินบางปีติดลบ แต่มาตอนนี้ทำในปีแรก ได้บ้านหลังใหม่ ปีที่ 2 ได้ รถจักรยานยนต์มือสอง ปีที่ 3 ได้สร้างโรงครัวใหม่ ส่วนปีนี้กำลังเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ในพื้นที่ 2 งานปลูกพืชระยะสั้นและไม้ผล ที่เหมาะแก่พื้นที่ จึงทำให้ไม่มีหนี้สินอีก ได้แนะนำเพื่อนๆ จากพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจจะเข้ามาศึกษาดูงาน เพราะตอนนี้ใยพื้นที่มีนาปลูกข้าวไว้กิน ปลูกผักปลอดสารกิน คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้ที่ดี

สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ

ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรปลูกมะเขือเทศโรงงานย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563 จำนวนครัวเรือน 913 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 3,916 ไร่ มาปี 2564 จำนวนครัวเรือน 82 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 397 ไร่ มาปี 2565 จำนวนครัวเรือน 234 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 807 ไร่

สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ
สวพส.ยกระดับพื้นที่ปลอดโควิด-19 พัฒนาแหล่งปลูกมะเขือเทศใหญ่ที่สุดในประเทศ