สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง นำองค์ความรู้ถ่ายทอดตามแบบโครงการหลวง ต่อการประชุมนานาชาติทางวีดีโอ Conference ในระดับภูมิภาค ในระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สู่ชุมชนบนพื้นที่สูง ในระดับนานาชาติ จากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทย ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาศึกษาต่อยอด หัวใจการพัฒนาตามแนวทางโครงการหลวง มีปัจจัยของความสำเร็จประกอบด้วย ยึดคนเป็นศูนย์กลาง มองปัญหาชุมชนอย่างแม่นยำ และใช้เทคโนโลยีแผนที่เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา
นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) กล่าวว่าเตรียมนำผลการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเกษตรกรในพื้นที่สูงของทางภาคเหนือ ทำให้หลายโครงการได้รับรางวัลเลิศรัฐ จากความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและการบุกรุกแผ้วถางป่า
ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงนำมาต่อยอดโครงการหลวง พร้อมนำมาถ่ายทอดให้กับนานาประเทศ ของการประชุมระดับนานาชาติผ่านวีดีโอ Conference เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการ
พัฒนาพื้นที่สูงตามแนวทางโครงการหลวงและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทยกับนานาประเทศ
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของสวพส. มุ่งสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการหลวง ด้วยการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่สำหรับการสนับสนุนโครงการหลวงและการพัฒนาพื้นที่สูง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และดำเนินงานขยายผลโครงการหลวงไปพัฒนาพื้นที่สูงต่างๆ ให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยใช้องค์ความรู้ ผลงานวิจัย และวิธีการปฏิบัติงานแบบโครงการหลวง ซึ่งยึดการพัฒนาบนฐานความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชน การบูรณาการระหว่างหน่วย
งานต่างๆ ภายใต้การบริหารจัดการที่มีสมรรถนะ มาตรฐาน และธรรมาภิบาล
การประชุมระดับนานาชาติผ่านวีดีโอ Conference พร้อมกันหลายๆ ประเทศในภูมิภาคในระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนระสบการณ์ด้าน
การพัฒนาพื้นที่สูงตามแนวทางโครงการหลวงและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทยกับนานาประเทศ ทั้งนี้เพราะว่า ไทยเรามีหลายโครงการที่เกิดจากการนำองค์ความรู้
โครงการหลวงไปขยายผล ทำให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขอย่างสมดุลและยั่งยืน มีการคืนผืนป่าได้นับพันไร่ เช่น การพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ จังหวัดเชียงใหม่และ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหลายโครงการได้รับรางวัลเลิศรัฐ ที่แสดงถึงความสำเร็จของการพัฒนา
หัวใจการพัฒนาตามแนวทางโครงการหลวง มีปัจจัยของความสำเร็จประกอบด้วย ยึดคนเป็นศูนย์กลาง มองปัญหาชุมชนอย่างแม่นยำ และใช้เทคโนโลยีแผนที่เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อนำองค์ความรู้โครงการหลวงไปปรับใช้ให้เหมาะกับประชากรและพื้นที่รายแปลง เกิดการทำงานอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน