กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย “งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น”

Mummai Media

กรมวิชาการเกษตร จัดแถลงผลงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรโชว์ผลสำเร็จงานวิจัยในรอบปีตอบโจทย์รัฐบาล แก้ปัญหาให้เกษตรกร พร้อมแจก 40 รางวัล นักวิจัย ผลงานวิจัย เกษตรกรดีเด่นสาขา GAP และเกษตรอินทรีย์ เชิญกูรูร่วมเสวนา “เมกะเทรนด์โลกด้านอาหารและความพร้อมด้านวิจัยและนวัตกรรม” วันที่ 19 – 21 กันยายน 2565 นี้ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรตามภารกิจของกรมด้านการวิจัยและพัฒนาพืช รวมถึงเครื่องจักรกลทางการเกษตร ให้เป็นศูนย์กลางรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในระดับสากลบนพื้นฐานการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแก้ปัญหาการปลูกพืชของเกษตรกรไทย ทั้งด้านการผลิตพืชที่มีคุณภาพมาตรฐาน การลดต้นทุนการผลิตพืช การป้องกันและการแก้ไขปัญหาการระบาดของศัตรูพืช ซึ่งผลงานวิจัยด้านต่าง ๆ ของกรมวิชาการเกษตร ได้ถูกนำมาขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตภาคการเกษตรของเกษตรกรโดยตรงและผ่านหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ทำให้การเกษตรทางด้านพืชของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ส่งผลให้เกษตรกรของประเทศไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดำเนินการจนสำเร็จ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"

กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดงานแถลงผลงานภายใต้หัวข้อ“ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตร” โดยภายในงานดังกล่าวจะมีการมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2565 จำนวน 14 รางวัลให้แก่นักวิจัย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบรางวัลให้แก่บุคลากรกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น รางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลเลิศรัฐ รางวัลคุณภาพการบริการและการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมกรมวิชาการเกษตร (DOA Together Award) ประจำปี 2565โครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษดีเด่น ประจำปี 2565 และมอบรางวัลให้แก่เกษตรกรรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2565 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP ดีเด่น) และสาขาเกษตรอินทรีย์ดีเด่น รวมการมอบรางวัลในการจัดงานครั้งนี้ทั้งหมดจำนวนถึง 40 รางวัล

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"

รวมทั้งยังมีการเสวนา “เมกะเทรนด์โลกด้านอาหารและความพร้อมด้านวิจัยและนวัตกรรม” ภายในงานด้วย การจัดงานครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบผลความสำเร็จการดำเนินงานของกรมวิชาการเกษตรในปี 2565 และเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดำเนินการจนสำเร็จอันก่อให้เกิดแนวคิดนำไปต่อยอดงานวิจัย

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"

ทั้งนี้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 จะเป็นวันสถาปนากรมวิชาการเกษตร ครบรอบ 50 ปี ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะจัดงานแสดงผลงานในรอบปีที่ผ่านมาอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมกับมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 2 โครงการ ได้แก่ 1.พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิชาการเกษตร กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ด้านการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก

2.พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิชาการเกษตร กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อค้นคว้าวิจัยการเรียนการสอนการบริการวิชาการเกี่ยวกับกัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ และเชิงพาณิชย์อย่างครบวงจร โดยมีนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม และชมนิทรรศการผลงานเด่นของกรมวิชาการเกษตร สำหรับในปี 2566 กรมวิชาการเกษตร มีโครงการที่จะจัดทำงานสำคัญเพื่อขยายผลต่อจากปี 2565 ได้แก่ APEC, Modern Agri Thech, เมล็ดพันธุ์ hub, Carbon credit และ GAP Monkey Free Plus

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"

พร้อมกันนี้มีแผนความร่วมมือ สกสว. ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษจัดนิทรรศการด้านพืชสมุนไพร ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม : ด้านพืช สมุนไพร” ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลาง จังหวัดศรีสะเกษ

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"
กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย "งานวิจัยและนวัตกรรมโดดเด่น"