กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”

Mummai Media

นับเป็นครั้งแรก กรมชลประทานร้อยใจมวลชน รักชลประทาน ชูโครงการน้ำดี ตำบล”กื้ดช้าง” จากการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง ไปเขื่อนแม่งัด นับเป็นกิจกรรมนำร่องต่อยอดยุทธศาสตร์หลากมิติเพื่อคุณภาพชีวิตดีที่มั่นคงและยั่งยืน จากความร่วมมือของท้องถิ่น “กื้ดช้าง” และทุกหัวใจที่มาร้อยรวมกัน พัฒนาศักยภาพชุมชนให้เห็นถึงทรัพยากรอันทรงคุณค่า ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีพื้นบ้าน ธรรมชาติและความงดงามของผืนป่าอุดมสมบูรณ์ การท่องเที่ยวที่สวยงามด้วยทิวทัศน์ อัธยาศัยและมิตรไมตรีของคนในพื้นที่ รวมทั้งคนชนเผ่า ที่นับเป็นครั้งแรก

กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”
กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”

นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการ “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน” พร้อมด้วย นายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จ.เชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ณ ศาลาเอนกประสงค์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ทั้งนี้กรมชลประทาน โดย สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดตัวโครงการ “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน” กิจกรรมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา (ระยะที่ 1) พื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำในเขตพื้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานของกรมชลประทาน ประกอบกับปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นภารกิจของทางสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 (สพญ.1) ที่ต้องการสร้างสรรค์การมีส่วนร่วม สู่การพัฒนาในหลากหลายมิติ อาทิ การพัฒนาศักยภาพชุมชนและคนในพื้นที่บริเวณแนวอุโมงค์ส่งน้ำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ในโครงการของชลประทานพัฒนาการท่องเที่ยวในเชิงนิเวศน์ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ พัฒนาการเกษตรกรรม สร้างตลาดและรายได้แก่สินค้า และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหมุนเวียนในชุมชน สร้างสรรค์การมีส่วนร่วมของชุมชน ภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมความรักสามัคคีแก่คนในชุมชน และคนชนเผ่าในพื้นที่โครงการ บริหารจัดการและพัฒนาสิ่งแวดล้อมสร้างรายได้ สร้างงานและอาชีพ จากการท่องเที่ยว การเกษตรและหัตถกรรม ด้วยการบริหารจัดการและให้องค์ความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคตแก่ประชาชนและชุมชน

กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”
กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”

นายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ริเริ่มแนวคิดโครงการนี้ กล่าวว่า จากนโยบายกรมชลประทานในการบริหารจัดการเรื่องน้ำให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบกับเล็งเห็นถึงความสำคัญของชุมชน จึงเป็นที่มาของโครงการ “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน” กิจกรรมสร้างสรรค์ความร่วมมือ เพื่อนำเอาความรักความห่วงใยของกรมชลประทานที่มีต่อคนในพื้นที่มารวมใจให้เป็นดวงเดียวกัน เพื่อพร้อมที่จะร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาเคียงข้างไปด้วยกันด้วยการบูรณาการวิถีใหม่ที่มีเจตนารมณ์อยากให้ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงชุมชนร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา (ระยะที่ 1) พื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งจากความร่วมมือกัน และเมื่อมีการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ มีความมั่นคง สร้างเครือข่ายชุมชนก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ของชาติและนโยบายของกรมชลประทาน ด้วยปณิธานของกรมชลประทาน ที่ว่า ความสุขของมวลชน คืองานของเรา

กรมชลประทาน ชูโครงการน้ำดี “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน”

จากความร่วมมือของท้องถิ่น “กื้ดช้าง” และทุกหัวใจที่มาร้อยรวมกัน พัฒนาศักยภาพชุมชนให้เห็นถึงทรัพยากรอันทรงคุณค่า ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีพื้นบ้าน ธรรมชาติและความงดงามของผืนป่าอุดมสมบูรณ์ การท่องเที่ยวที่สวยงามด้วยทิวทัศน์ อัธยาศัยและมิตรไมตรีของคนในพื้นที่ รวมทั้งคนชนเผ่า ที่นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวมตัวร่วมใจจากคนท้องถิ่นทั้งคนพื้นบ้าน คนชนเผ่าลีซู ลาหู่ ปะกาเกอะญอ ม้ง สมานความร่วมมือระหว่างกันเป็นอย่างดี และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ทั้งหมดนี้ไม่ด้อยไปงงกว่าที่ใด จึงทำให้โครงการ “ร้อยใจมวลชน รักชลประทาน” ได้เกิดขึ้นด้วยความมุ่งหวังในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นหนึ่งในนโยบายหลักและยุทธศาสตร์ของกรมชลประทาน ประชาชนอยู่ดีมีสุข และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น