ม้าเทวดา หรือกวางผาออกมาอวดโฉมให้ได้ชม ไม่ง่ายที่จะได้เห็นตัวเป็นๆ ณ กิ่วแม่ปาน ดอยอินทนนท์ พบจำนวน 3 ตัว 3 จุด จะเฝ้าติดตามพฤติกรรม ความเปลี่ยนแปลง ลักษณะต่างๆ ของกวางผา ตลอดจนการสำรวจล่าสุดพบจำนวน 47 ตัว
จากแฟนเพจ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นำคลิปและภาพ ของม้าเทวดา หรือ กวางผา ระบุสั้นว่าม้าเทวดา (กวางผา) ออกมาอาบแดดช่วงหน้าหนาวให้เราเห็นกัน จากการสอบถาม นายเกรียงไกร ไชยพิเศา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เผยว่าเป็นความดชคดีของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้าไปยังเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น เทวดาหรือกวางผา ณ จุดนี้จะออกมาเยือนอยู่ตามหน้าผา เพื่อรับแสงแดด ให้ได้ชมก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์ที่หาชมได้อยากมากในพื้นปาธรรมชาติแบบนี้ นับเป็นครั้งแรกของปี 2566 ที่เจ้าม้าเทวดา หรือกวางผา ออกมาอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ชมแบบนี้ ซึ่งเป็นจุดเจ้าหน้าที่อุทยาน ซึ่งพบจำนวน 3 ตัว 3 จุด จะเฝ้าติดตามพฤติกรรม ความเปลี่ยนแปลง ลักษณะต่างๆ ของกวางผา ตลอดจนการสำรวจล่าสุดพบจำนวน 47 ตัว
กวางผามีรูปร่างคล้ายแพะหรือเลียงผา (Capricornis spp.) ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งครั้งหนึ่งเลียงผาเองก็เคยใช้ชื่อสกุลเดียวกับกวางผาด้วย มีเขาสั้น ๆ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นกรวยปลายเรียวแหลมคล้ายกันทั้ง 2 ข้าง ไม่มีการแตกกิ่งเขา เปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบนแกนเขา ซึ่งเป็นแกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศีรษะชิ้นหน้าผาก ตัวเขาเจริญขึ้นตามอายุ และมีชุดเดียวตลอดชีวิต ไม่มีการผลัดเขาเหมือนกวาง
กวางผาไม่มีเคราใต้คางเหมือนแพะรวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าเลียงผาเกือบเท่าตัว ขนมีสีอ่อนไม่เข้มเหมือนเลียงผา ขนชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งไม่พบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน ถัดต่อมาบริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้
ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินบนที่ราบสูงที่เป็นภูเขาหรือหน้าผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000–4,000 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยจรดจนถึงเอเชียตะวันออก มีประชากรบางส่วนลงมาในเอเชียอาคเนย์ด้วย เป็นสัตว์ที่มีกีบเท้าที่แข็งแรงรับน้ำหนักได้ จึงเหมาะกับการกระโดดไปมาและไต่ไปตามหน้าผา เป็นสัตว์ที่มีการระแวดระวังภัยสูง ใช้ประสาทการมองเห็นมากกว่าการดมกลิ่น อีกทั้งยังเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ และว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วยซ้ำ เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ ซึ่งกวางผาจีน พบในแถบเอเชียเหนือลงมาถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นชนิดที่พบในไทยด้วย