เชียงใหม่กลับมายืนหนึ่งเมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก

Mummai Media

เชียงใหม่ กลับยืนอันดับ 1 เมืองคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกเช้าวันนี้ ขณะที่จุดความร้อนลดฮวบเหลือเพียง เหลือ 83 จุด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันนี้ 18 เมษายน 2566 พื้นที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ป่าอนุรักษ์ จำนวน 6,893 จุด เขตป่าสวนแห่งชาติจำนวน 4,575 จุด เขตสปก. 222 จุด พื้นที่ชุมชน 124 จุด พื้นที่การเกษตร 42 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด ส่วนกรมควบคุมมลพิษตรวจคุณภาพ 6 จุดลดลง สูงสุดที่อำเภอเชียงดาว 133 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เชียงใหม่กลับมายืนหนึ่งเมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก

เช้าวันนี้ตั้งแต่ช่วงเวลา 08.00 น. คุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ กลับขึ้นมายืนอันดับ 1 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก จากการตรวจสอบ เว็บไซต์ https://www.iqair.com รายงานคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ US AQI . พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ มีค่า 1180 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เชียงใหม่กลับมายืนหนึ่งเมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก

ส่วนการรายงานจาก ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ พบดความร้อน (Hotspot) ประจำวันที่ 18 เมษายน 2566 รอบเช้า จังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อน จำนวน 83 จุด จุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงปัจจุบัน ทั้งหมดจำนวน 11,858 จุด ยังเกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ เขตสปก. และพื้นที่ชุมชนและอื่นๆ อำเภอฝางพบจุดความร้อนมากที่สุดจำนวน 25 จุด มี 3 อำเภอพบ 8 จุดเท่ากันอำเภอพร้าว แม่อายและเชียงดาว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันนี้ 18 เมษายน 2566 พื้นที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ป่าอนุรักษ์ จำนวน 6,893 จุด เขตป่าสวนแห่งชาติจำนวน 4,575 จุด เขตสปก. 222 จุด พื้นที่ชุมชน 124 จุด พื้นที่การเกษตร 42 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด

เชียงใหม่กลับมายืนหนึ่งเมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก

เช่นเดียวกับการตรวจวัดคุณภาพของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ http://air4thai.com ช่วงเวลา 08.00 น. มีค่า 55-133 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พื้นที่มีค่าฝุ่นมากที่สุด ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 133 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บาศก์เมตร พื้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีค่าเท่ากัน 98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ มีค่า 61 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร และ และพื้นที่ดอยสุเทพ มีค่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร