เว้าเพียงเสี้ยว สุริยุปราคา เหนือฟ้าเมืองไทย

Mummai Media

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพ “สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย”

เว้าเพียงเสี้ยว สุริยุปราคา เหนือฟ้าเมืองไทย

วันที่ 20 เมษายน 2566 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย” วันที่ 20 เมษายน 2566 ขณะดวงอาทิตย์ปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุดร้อยละ 1.82 เวลา 11:01 น. บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ติดแผ่นกรองแสงพอลิเมอร์ดำ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลาปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2566 เป็น “สุริยุปราคาแบบผสม” (เกิดทั้งสุริยุปราคาวงแหวนและเต็มดวง) ตั้งแต่เวลา 09:42 – 12:52 น. (ตามเวลาประเทศไทย) แนวคราสเคลื่อนจากมหาสมุทรอินเดียไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก

ส่วนใหญ่พาดผ่านมหาสมุทร และแผ่นดินบางส่วนที่เป็นเกาะ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศติมอร์ตะวันออก และประเทศอินโดนีเซีย

เว้าเพียงเสี้ยว สุริยุปราคา เหนือฟ้าเมืองไทย

สำหรับประเทศไทยเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” ในช่วงเวลาประมาณ 10:22 – 11:43 น. (ตามเวลาประเทศไทย) มองเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังเพียงบางส่วนเท่านั้น และสังเกตได้เพียงบางพื้นที่ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช กระบี่ และบางส่วนของจังหวัดตราด อุบลราชธานี และศรีสะเกษ แต่ละพื้นที่ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดไม่เท่ากัน และถูกบดบังมากที่สุดบริเวณภาคใต้ ที่จังหวัดนราธิวาส (ร้อยละ 4.06)  สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิด “สุริยุปราคาบางส่วน” ในวันที่ 2 สิงหาคม 2570 ผู้สนใจติดตามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือเว็บไซต์ www.NARIT.or.th