ไฟป่าย้อนกลับถึงฝนตกพายุถล่มแต่ความแห้งร้อนน้ำถูกดูดซึมลงดินรวดเร็ว สถานการณ์หมอกควันและไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ คุณภาพอากาศเริ่มกลับมาเกินจากค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวานนี้เกิดจุดความร้อนจากไฟป่ารวม 50 จุด ส่งผลให้ยอดจุดความร้อนสะสมจนถึงเช้าวันนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงปัจจุบันทั้งหมดจำนวน 12,335จุด
ส่วนเช้าวันนี้ จากการรายงานศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ จุดความร้อน (Hotspot)ประจำวันที่ 27 เมษายน 2566 รอบเช้าจังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อน จำนวน 9 จุด เกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ของอำเภอแม่ออน 3 จุด , อำเภอแม่แตง 2 จุด และอำเภอเชียงดาว 1 จุด ยังเกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ของอำเภอแม่แตง 2 จุด และอำเภอแม่ริม 1 จุด
การตรวจวัดคุณภาพของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ http://air4thai.com ช่วงเวลา 09.00 น. จำนวน 6 จุด ค่าฝุ่นPM 2.5 38- 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นสีเขียว 1 จุด บนดอยสุเทพ เป็นสีเหลือง 2 จุด และส้ม 3 จุด พบมากที่สุดเป็น พื้นที่ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 55 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,พื้นที่ต.ช้างเผือก อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวจากการตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเหนือ หรือ Northern Thailand Air Quality Health Index (NTAQHI) PM2.5 แบบรายนาที เป็นสีแดงจำนวน 5 จุด พบมากที่สุด รพ.สต.บ้านป่าไม้ห้วยบง ต.ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ มีค่า 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รองลงมา อบต.แม่ตื่น ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีค่า 71 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,ทต.แม่นะ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีค่า 64 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,อบต.แจ่มหลวง ต.แจ่มหลวง อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ มีค่า 59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ทต.เวียงพร้าว ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีค่า 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร