สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์

Mummai Media

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์

19 พฤษภาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับ Human Resources Development Service of Korea (HRDK) ,Korea Creative Content Agency (KOCCA) หน่วยงานของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ที่มีหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และส่งเสริมอุตสาหกรรมคอนเทนต์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดงานสัมมนา “การพัฒนานักเขียนบท เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์” เพื่อเจาะลึกวิธีคิด กระบวนการสร้างสรรค์ และประสบการณ์ ในวงการนักเขียนบท จากสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมร่วมกันส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานอาชีพนักเขียนบทในประเทศไทย เพื่อยกระดับทักษะและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเขียนบท ให้ได้รับการยอมรับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ระดับสากล โดยมี Mr. Park Jae Beom นักเขียนบท จากซีรีย์ Vincenzo, Good Doctor, The Fiery Priest, Good Manager และBlood ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของนักเขียนบท

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์

นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า เวทีสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทของไทย ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ให้มีมาตรฐานระดับสากล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงของไทย รวมถึงสามารถเสริมสร้างภาพลักษณ์และผลักดัน Soft Power ของประเทศไทยตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดมุมมอง และปัจจัย ที่ทำให้ซีรีส์เกาหลี ประสบความสำเร็จในตลาดโลก โดยนักเขียนบทชาวเกาหลีที่ได้รับการยอมรับ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมให้บุคลากรของไทยสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการพัฒนาความรู้และทักษะการเขียนบท ด้วยการทำงานร่วมกับคนในอาชีพและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างหลักเกณฑ์ที่บอกว่า นักเขียนบทจะต้องมีความรู้ในเรื่องใด ทักษะด้านไหน และการเขียนต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อให้มาตรฐานอาชีพนักเขียนบทที่จะจัดทำขึ้นมาตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้มากที่สุด

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์

และจากการระดมความเห็นจากตัวแทนนักเขียนบท ที่มีทั้งผู้แทนสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ สมาคมผู้กำกับไทย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม ตัวแทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนักเขียนบทอิสระ เข้าร่วมการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการสร้างโอกาสให้กับนักเขียนบทรุ่นใหม่ ได้เกิดการพัฒนาในอาชีพอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพ จะเป็นประตูเปิดทางสู่การประกอบอาชีพนักเขียนบทให้เป็นที่ยอมรับในอนาคต ซึ่งจะเป็นแรงหนุนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับในทุกมิติ จะช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถ ต่อการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา สคช. มีความร่วมมือกับหน่วยงาน ของสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงและดิจิทัล เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างถ่ายภาพยนตร์ อาชีพด้านแอนิเมชัน และนักออกแบบเกม เป็นต้น ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกัน จะมีการช่วยผลักดันคนในอาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาชีพนักเขียนบท ที่กำลังประสบปัญหาการขาดบุคลากรที่มีฝีมือทัดเทียมระดับสากล นำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนากำลังคน ตามนโยบายการผลักดัน Soft Power ประเทศไทย ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในมาตรฐานระดับโลกได้

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์
สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์

ภายในงานนอกจากได้รับเกียรติจาก Mr. Park Jae Beom ร่วมเป็นวิทยากรแล้วยังมี Mr. Park Woong Jin, Director จาก KOCCA, Mr. Hong Sung Moon จาก HRDK Korea และนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมถ่ายทอดแนวคิดความสำคัญของการพัฒนานักเขียนบท เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ให้กลายเป็น Soft Power ที่สำคัญ โดยมีบรรดานักเขียนบท จากสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศไทยเข้าร่วมในงาน

สคช. เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์