เชียงใหม่ หมู่บ้านห้วยเป้า อ.เชียงดาว แต่ก่อนถูกขนานนามว่าหมู่บ้านแม่ม่าย จากการทำเกษตรสารเคมีสามีล้มป่วยตาย โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) หรือ สวพส. ได้เข้ามาสร้างเสริมการทำเกษตรแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะการปลูกแคนตาลูป คุณภาพดีจนขึ้นชื่อติดอันดับต้นๆของจังหวัดเชียงใหม่ โดยพัฒนานำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
ผู้สื่อข่าวพาไป ชมการพัฒนาพื้นที่การเกษตรแบบใช้สารเคมี จนเกิดผลกระทบต่อชีวิตและตวามเป็นอยู่ของชาวบ้าน จนถูกเรียกว่าหมู่บ้านแม่ม่าย เพราะสามีล้มตายจากการใช้สารเคมี ป่วยเป็นโรคมะเร็ง อีกทั้งเป็นพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ รอการทำเกษตรจากน้ำฝน บ้านห้วยเป้า หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการเข้ามาของ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) พัฒนาส่งเสริมการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี เปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบดั่งเดิม ให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ปลอดภัยจากสารเคมี ที่สำคัญการสร้างแหล่งน้ำให้มีการทำเกษตรหหล่อเลี้ยงในครอบครัวได้ตลอดทั้งปี เป็นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์
ซึ่งพื้นที่ได้นำแคนตาลูป เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูก จนทำให้เป็นแหล่งผลิตคุณภาพหอม กรอบ หวาน จนมีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกจัดจำหน่ายออกไปทั่วประเทศ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาด ล่าสุดได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ที่ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้เองผ่านมือถือ ในการสั่งงานให้น้ำ ให้ปุ๋ยน้ำ ตามสูตรต่างๆ ให้เหมาะสมต่อช่วงเวลาเพราะการปรับเปลี่ยนของสภาพอากาศอยู่ตลอดเวลา การตรวจวัดคุณภาพอากาศ ใช้ระบบเซ็นเซอร์เข้ามาตรวจจับ ผ่านมือถือสั่งงาน โดยใช้งานแบบพลังงานโซล่าเซลล์ เข้าควบคุมการปลูกแคนตาลูป เพื่อเพิ่มคุณภาพ จนทำให้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญการปลูกแบบอินรีย์ ปลอดสารเคมี
ล่าสุดมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง นำผู้เข้าร่วมอบรมจากประเทศไทย ภูฏาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มาเลเซีย ศรีลังกา และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เข้าไปศึกษาดูงานจนเป็นที่สนใจจะนำไปปรับใช้ โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา .ให้ความสนใจเพื่อนำไปส่งเสริมให้อาชีพให้กับเกษตรในพื้นที่ปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรใหม่ ช่วยลดแก้ไขปัญหาการเผาจากพืชผลทางการเกษตร เป็นผลกระทบจากฝุ่นควันไฟ PM2.5