เชียงใหม่ ครั้งแรกของไทยนักวิจัยม.แม่โจ้ โรงเรือนต้นแบบปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงอัจฉริยะ (โรงเรือน GIPV) ผลงานของนักวิจัย วิทยาลัยพลังงานทดแทน ปลูกพืชมูลค่าสูงใครก็ทำได้แต่เปลืองไฟ อยากติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงเรือนทำไม่ได้พืชไม่โต ปัญหาทั้งหมดแก้ได้ แค่คุณเดินมาหาเราที่วิทยาลัยพลังงานทดแทนเรามีโรงเรือนปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสงอัจฉริยะแก้ปัญหาคุณได้แน่นอน
วันนี้ผู้สื่อข่าว พาไปที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อีกหนึ่งความสำเร็จ ผลงานการคิดค้น ต้นแบบของโรงเรือนปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงอัจฉริยะ (โรงเรือน GIPV) ซึ่งมี ผศ.ดร.สราวุธ พลวงษ์ศรี นักวิจัยหน่วยวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (SEEU) พร้อมนายภานุวิชญ์ พุทธรักษา ผู้ช่วยนักวิจัย นักศึกษาปริญญาเอก วิศวกรรมพลังงานทดแทน ร่วมกันคิดค้นเป็นผลสำเร็จใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี นำไปใช้งานจริงแล้ว โดยนำไปปลูกสตรอเบอร์รี่ แบบอินทรีย์ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี เทคนิคพิเศษ นวัตกรรม การผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงเป็นการประยุกต์นำเซลล์แสงอาทิตย์มาจัดวางในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาใช้กับพืชผลทางการเกษตรอย่างเช่นในภาคเหนือ ก็คือการปลูกสตรอว์เบอร์รี่เป็นพืชเมืองหนาวมีมูลค่าสูงสามารถนำไปปลูกในโรงเรือนได้แต่ถ้าเรานำแผงโซล่าเซลล์แบบทึบที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดมาใช้กับตัวโรงเรือนแสงจะไม่สามารถส่องผ่านได้
เราจึงมีแนวคิดในการวิจัยผลิตแผงโซล่าเซลล์แบบกึ่งโปร่งแสงเพื่อมาใช้กับการเกษตรจากการศึกษาและวิจัยการจัดวางรูปแบบเซลล์ 3 รูปแบบคือมีรูปแบบที่ 1 ใช้เซลล์จำนวน 50 เซลล์ รูปแบบที่ 2 ใช้เซลล์ประมาณ 36 เซลล์ และรูปแบบสุดท้ายเป็นรูปแบบตารางหมากรุกใช้เซลล์ประมาณ 36 เซลล์เหมือนกันครับจากผลการทดสอบค่าปริมาณแสงแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบตารางหมากรุกสามารถใช้กับการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ได้ดีที่สุด
จากที่ได้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงรูปแบบหมากรุกก็จะนำมาติดตั้งกับโรงเรือนปลูกสตรอว์เบอร์รีซึ่งไฟที่ผลิตได้เราจะนำมาจ่ายให้กับภาระโหลดของพัดลมระบายอากาศระบบทำความเย็นแบบระเหยเครื่องผสมปุ๋ยและระบบควบคุมอัจฉริยะซึ่งในส่วนนี้สามารถประหยัดค่าไฟไปได้ประมาณ 4,000 บาทต่อเดือนหรือประมาณ 20,000 บาทต่อรอบการปลูกสตรอว์เบอร์รี cg ลดค่าไฟ 90%
ส่วนโรงเรือนปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงอัจฉริยะ (โรงเรือน GIPV)นี้เป็นนวัตกรรมที่นำแผงโซล่าเซลล์แบบกึ่งโปร่งแสงขึ้นไปติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนทำให้มีแสงผ่านทะลุลงไปหาพืชทำให้พืชเจริญเติบโตได้ปกติ สิ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เราจะนำไปจ่ายให้กับระบบควบคุมอุณหภูมิอย่างเช่นตัวระบบ Evaporative cooling หรือ Cooling pad ที่เรียกกันว่าระบบการให้น้ำให้ปุ๋ยเพราะฉะนั้นโรงเรือนที่เราสร้างขึ้นมานี้ปลูกพืชได้โดยที่แทบจะไม่ใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งเป็นการทำเกษตรสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในเรื่องของ IOT เข้ามาควบคุมในเรื่องของการทำงานให้มันอัจฉริยะสามารถปลูกพืชในเรื่องของออร์แกนิคอินทรีย์พืชมูลค่าสูงได้ทั้งหมดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือสามารถยกแผงโซล่าเซลล์ขึ้นไปบนหลังคา พื้นที่ที่ว่างตรงไหนก้ได้สามารถนำพื้นที่ตรงนั้นปลูกพืชได้อีกหรือสร้างโรงเรือนได้อีก 1 โรงเรือนก็จะเป็นการลด cost และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม โรงเรือนต้นแบบที่เห็นนี้ นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมใหม่ตัวนี้ นำในการปลูกพืชหลังจากที่ได้ต้นแบบนี้แล้ว ซึ่งจะพัฒนาสู่กระบวนการผลิต ในโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์ เพราะฉะนั้นอนาคตจะสามารถที่จะออกแบบดีไซน์ในการจัดวางเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อจะให้เหมาะกับตัวพืชชนิดอื่น ๆ ได้ สำคัญที่สุด ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า มาใช้พลักงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์ หากมีการใช้ระบบนี้ ในอนาคตจะทำให้ราคาทุกอย่างมันลดลงเพราะฉะนั้นคืนทุนไม่เกิน 3-4 ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ที่สำคัญเราไปลดเรื่องของการหาพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพิ่มด้วยเพราะของเราคือสามารถยกตัวแผงนี้ขึ้นไปอยู่บนตัวหลังคาโรงเรือนได้พื้นที่ที่เหลือเราสามารถไปปลูกพืชเพิ่มขึ้น เกษตรกรหรือใครที่สนใจในเรื่องของนวัตกรรมสามารถติดต่อวิทยาลัยพลังงานทดแทน หมายเลขโทรศัพท์ 090-3302479