นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา บรรยายเรื่อง ‘’ โลกร้อน โลกรวน โลกเดือด” ในกิจกรรมสัมมนา พัฒนาศักยภาพ ต่อยอดและขยายผล เครือข่ายการท่องเที่ยวสร้างสรรค์จังหวัดนครพนม (Train the Trainer) สู่กระบวนการ วัด ลด ชดเชย การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เที่ยว Unseen กับ 9 ชุมชนนครพนม ที่ห้องประชุมใหญ่ โรงแรมแม่โขง Heritage
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาและเปิดอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการบริการ และสินค้าทางการท่องเที่ยว ในกิจกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน “ต้องเที่ยว (Unseen)” จ.นครพนม ภายใต้แผนบูรณาการการท่องเที่ยวสมัยใหม่ รวมถึงกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ “ต่อยอดและขยายผล” เครือข่ายท่องเที่ยวสร้างสรรค์ฯ (Train the Trainer) ในแนวคิด BCG Economy Model & Happy Model สู่กระบวนการ วัด ลด ชดเชย การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม ณ โรงแรมแม่โขงเฮอริเทจ โดยมีเครือข่ายการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ฯ เข้าร่วมรับการอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย อำเภอธาตุพนม,เรณูนคร,นาแก,ท่าอุเทน,บ้านแพง,ศรีสงคราม และ อ.เมืองฯ จำนวน 50 คน
ในการนี้ได้เชิญวิทยากร ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์ระดับแถวหน้า เช่น นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีต รมว.ท่องเที่ยว ปัจจุบันเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยายให้ผู้เข้าอบรมรู้จักโลกร้อน โลกรวน และ โลกเดือด ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกกำลังวิตกกันอยู่ในขณะนี้
ด้าน นางสาวกฤษณี ศรีษะทิน ประธานฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ บรรยายถึงการท่องเที่ยวไมซ์ (MICE) เพื่อชุมชน ขณะที่ นางสาวปาริชาติ สุนทรารักษ์ และ นางสาวสุภาวดี ฤตวิรุฬห์ อุปนายกและกรรมการ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย บรรยายถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวสร้างสรรค์สำหรับชุมชน ถือว่าการอบรมเพิ่มพูนความรู้ครั้งนี้ อัดแน่นด้วยคุณภาพอย่างมาก เพื่อนำสิ่งที่ได้รับไปถ่ายทอด ให้แก่ผู้คนในชุมชนของตน รับรู้ถึงการท่องเที่ยวอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อน ร่วมกันทำคาร์บอนให้เป็นศูนย์
โดย นางสาว กนกพร ไชยศล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครพนม กล่าวรายถึงวัตถุประสงค์ ว่า ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการแนวคิดที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.แนวคิด Resilience 3.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ(SDGs) 4.โมเดลเศรษฐกิจBCG(Bio-Circular-GreenEconomy) เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯคือการ “พลิกโฉม”ประเทศไทยสู่” สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ทางจังหวัดฯจึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการบริการท่องเที่ยว ด้วยแนวคิด “BCG Economy Model & Happy Model” ให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน และมีความความต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดนครพนม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว (Unseen) ภายใต้หลัก BCG,เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว “หมู่บ้านการท่องเที่ยวต้องเที่ยว” ด้านการท่องเที่ยวในชุมชนเชิงประวัติศาสตร์รูปแบบ low Carbon Tourism,เพื่อเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพแก่คนในชุมชนทุกกลุ่ม อาทิ กลุ่มทั่วไป กลุ่มเปราะบาง (กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเยาวชน) และขจัดปัญหาความยากจนในชุมชน,ต่อยอดขยายพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว (Unseen) ออกแบบจัดทำโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนอย่างมีคุณภาพ บนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดความยั่งยืน
นอกจากนี้เป็นการยกระดับศักยภาพเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยว กระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้ BCG Economy & Happy Model ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของจังหวัดนครพนม รวมถึงสร้างการรับรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยว ด้วยการจัดการการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางลบต่อโลก ด้วยการท่องเที่ยวคุณภาพสูงแบบ Carbon Neutral Tourism
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ถือเป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา และขยายผลไปยังชุมชนใหม่ที่เข้าร่วม ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์ จากเดิมปี 2565 มีจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนชาติพันธุ์ไทยกวน ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม โดดเด่นการเที่ยวทางน้ำด้วยล่องแพ นวดสปาด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน และเป็นชุมชนตีเหล็กที่ถ่ายทอดมาจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 2499 2.ชุมชน ต.ท่าลาด อ.เรณูนคร กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท(ภูไท) ที่สืบทอดการทอผ้าจากการย้อมสีธรรมชาติ ด้วยการนำเปลือกไม้ที่หาง่ายในชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งผลิตข้าวกล้องงอกอินทรีย์ ฯลฯ 3.ชุมชนเผ่าไทยกะเลิง ต.หนองสังข์ อ.นาแก มีความโดดเด่นด้านฝีมือทอผ้า ย้อมีผ้าจากต้นคราม ต้นสมุนไพร และไม้มงคล ตามวิถีของชาติพันธุ์ของตน และ พิธีตามความเชื่อวิถีหมอเหยา และยังมีชุมชนบ้าน ต.พิมาน เป็นชาติพันธุ์ผู้ไทย นอกจากมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นแล้ว เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมก็คว้ารางวัลระดับประเทศมาแล้วนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะน้ำมันจากต้นยางนา เป็นต้น
สำหรับในปี 2566 นี้ ทางโครงการได้เพิ่มอีก 4 อำเภอ 6 ชุมชน รวมทั้งของเดิมและของใหม่เป็น 9 ชุมชน คือ1.อำเภอเมืองนครพนม ชุมชนย่านเมืองเก่านครพนม,ชุมชนบ้านคำเกิ้ม เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติสาศตร์ และ ชุมชนเผ่าไทยตาด เป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีธรรมชาติ 2.ชุมชน ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน ชาติพันธุ์ไทยย้อ(ญ้อ) แหล่งเที่ยวเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 3.ชุมชน ต.นางัว อ.บ้านแพง เป็นชาติพันธุ์ไทยย้อเช่นเดียวกัน ที่มีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อคือเทือกเขาภูลังกา ถ้ำนาคี ครั้งนี้จะพาเที่ยวชมหัวแม่ย่าพญานาคี และ 4.ชุมชน ต.สามผง อ.ศรีสงคราม เป็นเส้นทางตามรอยธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายธรรมยุต
ดังนั้น ทางจังหวัดนครพนม จึงได้มีโปรแกรมเที่ยวนครพนมด้วยศรัทธา “สุข สมบูรณ์ สำเร็จ” ได้แก่ สุข (องค์พระธาตุพนม,สมบูรณ์ (องค์ปู่พญาศรีสัตตนาคราช,สำเร็จ (แม่ย่านาคี) โดยยึดหลักรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ในสโลแกนท่องเที่ยวสมดุล สนุกเต็มที่ ดีต่อโลก
สำหรับโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG โมเดล เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน
ส่วน Happy Model ได้แก่ อาหาร อร่อย สะอาด มีประโยชน์ คืออาหารของท้องถิ่นและสมุนไพร ที่มีประโยชน์ ปลอดสารพิษ ที่พักได้มาตรฐาน ดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึง ขยะ น้้าเสีย และสิ่งอ้านวย ความสะดวกพร้อมพรั่ง