อธิบดีกรมประมง เผย 6 มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหา “ปลาหมอคางดํา” ระบาดหนัก 16 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเสนอโทษทางอาญาและปกครอง

วันนี้(17 ก.ค. 67) นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วย นายคงภพ อําพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์นํ้า และ น.ส.ทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงน้ำจืด ร่วมกันแถลงข่าวการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดําพร้อมแนะนําเมนูอาหารหลากหลายชนิดจากปลาหมอคางดํา ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดําในประเทศไทย พบตั้งแต่เมื่อปี 2560 ซึ่งปลาหมอคางดํา มีถิ่นกําเนิดอยู่แถบทวีปแอฟริกา สามารถวางไข่ได้ดีในนํ้ากร่อยประมาณ 30-900 ฟอง ขึ้นอยู่กับแม่พันธุ์และที่สําคัญสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปีในทุกๆ 22 วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์นํ้าพื้นเมืองเนื่องจากเข้าไปทําลายระบบนิเวศ ปัจจุบันประเทศพบการระบาดจากเดิม 14 จังหวัด เป็น 16 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นครปฐม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวประมงและปัญหาเชิงระบบนิเวศที่จึงได้สั่งการเร่งด่วนแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำขึ้นและออก 6 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.การควบคุมและกําจัด 2.การปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากระพงขาวและปลาอีกง 3.การนําไปใช้ประโยชน์ โดยการนําไปทําเป็นอาหาร อาทิ คั่วกลิ้ง ทอดมัน ปลาแดดเดียว นํ้ายาขนมจีน ต้มยํา ฉุ่ฉี่ หรือ นํ้าปลาแท้ จากปลาหมอคางดํา 4.สํารวจและเฝ้าระวังแหล่งนํ้าธรรมชาติ 5.การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วม และ 6.ในระยะยาวกรมประมงจะนําโครงการวิจัยการเหนี่ยวนําชุดโคมโมโซม 4n ในปลาหมอคางดําหรือการทําหมัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดภายใน 3 ปี

สําหรับกระแสสังคมที่ตั้งคําถามเกี่ยวกับต้นตอของการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดํานั้น อธิบดีกรมประมง ระบุว่า ก่อนหน้านี้มีบริษัทแห่งหนึ่งได้ทําการขออนุญาตนําเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อวิจัยปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งภายหลังบริษัทดังกล่าวได้ยกเลิกทําวิจัยและไม่ได้แจ้งต่อกรมประมงในการจัดการทำลายตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่เลี้ยงของบริษัทในช่วงพบการแพร่ระบาดในปี 2560 ของเจ้าหน้าที่กรมประมง ได้รับรายงานว่าได้ทำลายตัวอย่างทั้งหมดโดยการฝังกลบ ส่วนประเด็นที่บริษัทดังกล่าวยืนยันว่ามีการส่งตําอย่างปลาจํานวน 50 ตัวอย่างให้กรมประมงแล้วนั้น

ขอยืนยันว่ากรมประมงได้ดำเนินการตรจสอบเอกสารหรือหลักฐานการรับมอบตัวอย่างในสมุดลงทะเบียนรับตัวอย่าง และฐานข้อมูลในระบบตั้งแต่ที่มีการนำเข้าจนถึงปัจจุบันไม่พบหลักฐานการรับตัวอย่างดังกล่าว แต่อย่างใด หากบริษัทมีหลักฐานสามารถส่งเข้ามายืนยันได้ เพื่อร่วมกันตรวจสอบว่าปลาหมอคางดําที่ระบาดตอนนี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าบริษัทวิจัยดังกล่าวได้ทําลายปลาทดลองเมื่อปี 2554 เหตุใดกรมประมงถึงทิ้งเวลานานหลายปีจนพื้นที่ดังกล่าวถูกสร้างเป็นอาคาร ซึ่งทาง อธิบดีกรมประมง ระบุว่า ทางบริษัทไม่ได้แจ้งให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทําลาย ณ เวลานั้น ซึ่งบริษัทจะมีความผิดหรือไม่นั้น เงื่อนไง ณ ตอนนั้น ระบุชัดว่าหากทําผิดจะไม่อนุญาตครั้งต่อไป ส่วนความผิดอื่นเบื้องต้นกฎหมายประมงขณะนั้นไม่ได้กําหนดไว้ ซึ่งตนในฐานะกรรมาธิการกฎหมายประมงใหม่จะเขียนให้ชัดเจน ว่าหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะต้องมีโทษทางอาญาและตามปกครอง อย่างไรก็ตามเรื่องความผิดตอนนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าผิดหรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้ในที่ประชุมเมื่อวานที่ผ่านมา ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการเร่งด่วนให้กรมประมงจัดจุดรับซื้อปลาหมอคางดําในพื้นที่จังหวัดที่พบการแพร่ระบาด ซึ่งได้ทําการบูรณาการร่วมกับภาครัฐและเอกชน รับซื้อปลาหมอคางดํากิโลกรัมละ 15 บาท เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมจากประชาชน คาดว่าจะเริ่มดําเนินการได้ภายในสัปดาห์หน้า.

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม