กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

Mummai Media

“สว.ชีวะภาพ ชีวะธรรม” ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เตรียมผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน-เพิ่มอุปกรณ์แจ้งเตือนภัยในพื้นที่ป่าชุมชน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมในระยะยาว

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

วันที่ 8 ต.ค.67 นายชีวะภาพ ชีวะธรรม สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวภายหลังการประชุม เพื่อพิจารณาศึกษากรณีภาวะน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช , กรมทรัพยากรธรณี , กรมอุตุนิยมวิทยา , นักวิชาการจากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่อาคารรัฐสภา

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

โดยนายชีวะภาพ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานสาเหตุดินโคลนและน้ำป่าไหลหลาก เกิดจากปัจจัยดังนี้


1.ปริมาณน้ำฝน ตกเกินค่าเฉลี่ยจำนวนมาก

2.ลักษณะของดิน ( ธรณีสัณฐาน )

3.ต้นไม้ถูกตัดโค่น จำนวนป่าหายไป

4.ฝีมือมนุษย์

“บริเวณที่เกิดดินโคลนถล่ม เกือบ 100% มาจากแล้วมือมนุษย์ ตั้งแต่ การตัดเส้นทางเข้าไป อย่างกรณีดินโคลนถล่มที่อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ก็เกิดจากการตัดถนน โดยไม่มีการวางแผนและควบคุมการไหลของน้ำ ไม่ได้ออกแบบตามหลักวิศวกรรม”

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว

นายชีวะภาพ ยังเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะต้องมีความแปรปรวน ปีหน้าอาจ จะหนักกว่านี้ ดังนั้นจึงต้องมีการ เตรียมการวางแผนและทำบันทึกความตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้มีข้อสรุปตามที่ 4 หน่วยงานมาชี้แจงดังนี้

1.ผลักดันร่างพ.ร.บ.การใช้พื้นที่สูงชัน-ลาดชัน

2.ศึกษาเรียนรู้การใช้พื้นที่ให้เกิดเหมาะสม-คำนึงถึงการใช้พื้นที่

3.จัดซื้อเครื่องวัดน้ำฝน-ระบบแจ้งเตือนภัยในชุมชนป่าต้นน้ำ

4.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาออกแบบการใช้พื้นที่ในชุมชนที่อยู่บนภูเขา

“เป็นการออกแบบ Land use ว่า จะใช้พื้นที่ยังไง หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยก็จะต้องย้ายออก หรือหากจะตัดถนน จะต้องมีร่องน้ำยังไง มีท่อลอดหรือมีสะพานหรือไม่ ซึ่งเป็นงานออกแบบในเชิงวิชาการ” นายชีวะภาพกล่าว.

กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ สว. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ที่ดินลาดชัน แก้ดินโคลนถล่ม-น้ำท่วมระยะยาว