สถาบันโรคผิวหนัง จัดงานวันสะเก็ดเงินโลก หวังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Mummai Media

สถาบันโรคผิวหนัง จัดงานวันสะเก็ดเงินโลก หวังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่การสาธารณสุขทั่วโลกให้ความสำคัญ ด้วยอาการของโรคผิวหนังที่แสดง เช่น มีผื่นที่กระจายทั่วตัว แห้งลอกเป็นขุย ตุ่มหนองเป็นแผลพุพอง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนโรคร่วมในอวัยวะส่วนอื่น  ที่รุนแรง โดยเฉพาะความพิการในระบบข้อต่อต่าง  จึงทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นรังเกียจคิดว่าเป็นโรคติดต่อ

สถาบันโรคผิวหนัง จัดงานวันสะเก็ดเงินโลก หวังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในประเทศไทยข้อมูลจาก Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ..2565 พบว่ามีผู้ป่วยสะเก็ดเงิน 1,748,704 คน ภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยต่อครั้งของผู้ป่วยที่มารักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง เฉลี่ย 3,077 บาทต่อครั้ง เพื่อให้เห็นความสำคัญของโรคสะเก็ดเงิน จึงมีการกำหนดให้ วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสะเก็ดเงินโลก

สถาบันโรคผิวหนัง จัดงานวันสะเก็ดเงินโลก หวังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นพ.สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยและครอบครัวที่เผชิญกับโรคสะเก็ดเงินสมควรได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องรวมทั้งสร้างฐานข้อมูลความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย ในการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยถึงโรคดังกล่าว เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงออกถึงความต้องการและความจำเป็นต่าง  ซึ่งธีมประจำปีนี้ คือ “Psoriatic Disease and the Family” หรือ “ครอบครัวรวมจิต ดูแลชิดใกล้ ห่วงใยโรคสะเก็ดเงิน

สถาบันโรคผิวหนัง จัดงานวันสะเก็ดเงินโลก หวังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายวีรวัต อุครานันท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า การจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้สังคมเข้าใจเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงินที่ถูกต้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาระบบบริการและการเข้าถึงการรักษาโรคสะเก็ดเงิน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักรู้ถึงโรคสะเก็ดเงินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนและครอบครัวของผู้ป่วย เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมกันทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษา