เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาผนึกกำลังรัฐและประชาชนรับสถานการณ์ไฟป่าแม่ฮ่องสอน และมอบเงินอุดหนุนให้กับเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ( อส.อส.) เครือข่ายละ 50,000 บาท จำนวน 132 เครือข่าย รวมเป็นเงิน6,600,000 บาท มอบอุปกรณ์ดับไฟป่าให้ตัวแทนเครือข่ายชุมชน มอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การบริหารจัดการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชกับประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน ให้กับตัวแทน 17 หมู่บ้าน โดยมี นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนชาวแม่ฮ่องสอนให้การต้อนรับ และมีกำลังเจ้าหน้าที่ภาคสนาม กรมป้าไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนรวม 600 คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน(เทศบาล 3 แผนกประถมศึกษา) ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือที่ประสบปัญหามลพิษ ทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวรวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป้าในพื้นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพเป็นหลัก เช่น การเก็บหาของป่า การล่าสัตว์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การทำปศุสัตว์ ที่ผ่านมาจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาผ่านคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟบ้า หมอกควันและฝุ่นละอองจังหวัดแม่ฮ่องสอน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนภาควิชาการ ภาคศาสนาภาคประชาสังคม ภาคสื่อมวลชนและภาคประชาชน โดยได้กำหนดมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาในทุกมิติ 8 มาตรการ ได้แก่ มาตรการประชาสัมพันธ์ มาตรการบริหารจัดการเชื้อเพลิง มาตรการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และดับไฟ มาตรการเผชิญเหตุ ในสถานการณ์วิกฤติรุนแรง มาตรการลดฝุ่นละอองในพื้นที่เขตเมือง มาตรการดูแลสุขภาพของประชาชน มาตรการบังคับใช้กฎหมาย และ มาตรการสร้างความยั่งยืน
นอกจากมาตรการหลัก 8 มาตรการที่ใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาไฟป้าแล้วจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมประชาคมเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ยังได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาการทำกินและอยู่อาศัยของประชาชนในพื้น ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2561 ทั้งในป้าอนุรักษ์และป้าสงวนแห่งชาติภายใต้โครงการแม่ฮ่องสอนโมเดลเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการอยู่อาศัยและทำกิน รวมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
การจัดกิจกรรมจิตอาสา ผนึกกำลังรัฐและประชาชนเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ไฟป้าแม่ฮ่องสอน ในครั้งนี้ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป้า หมอกควันและฝุ่นละออง สร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ประชาชน หน่วยงาน/องค์กร ทั้งภาครัฐภาคเอกชน มีจิตสำนึกหวงแหนทรัพยากรธรรรมชาติและป้าไม้ และตระหนักถึงพิษภัยของไฟบ้าหมอกควัน ฝุ่นละออง และปัญหามลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควันอย่างยังยืน ผ่านการพัฒนาด้านการเกษตรและการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป้าตามแนวทางพระราชดำริ
ดร.เฉลิมชัย กล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการจัดการกับปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งในปี 2568 มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ที่คาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการทำเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน
รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ โดยกระทรวงทรัพยากรฯ ได้จัดทำ “มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568” ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการในเรื่องนี้
ดร.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า ตนได้มอบนโยบายและสั่งการให้ทุกหน่วยงานดำเนินตามมาตรการดังกล่าวด้วยความ “รวดเร็ว ตรงเป้า เข้าถึงพื้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด” โดยบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อ มุ่งเน้นไปที่พื้นที่เสี่ยงเผาไหม้ขนาดใหญ่ 14 กลุ่มป่า ที่มีแนวโน้มเกิดไฟป่ามากที่สุด
ได้แก่ กลุ่มป่าลุ่มน้ำปาย กลุ่มป่าศรีลานนา–แม่ลาว กลุ่มป่าสะเมิง กลุ่มป่าสาละวิน กลุ่มป่าตอนใต้จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มป่าถ้ำผาไท กลุ่มป่าแม่ยม กลุ่มป่าเหนือเขื่อนสิริกิติ์ กลุ่มป่าเขื่อนภูมิพล กลุ่มป่าเวียงโกศัย–แม่วะ–ป่าแม่มอก กลุ่มป่าห้วยขาแข้ง–แม่วงก์ กลุ่มป่ารอบเขื่อนศรีนครินทร์ กลุ่มป่าจังหวัดเลย กลุ่มป่าจังหวัดชัยภูมิ ขณะที่การควบคุมการเข้าพื้นที่ป่า ต้องจำกัดการเข้าพื้นที่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่ป่า
ดร.เฉลิมชัย ระบุว่า ส่วนพื้นที่การเกษตร ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และสำนักสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษในพื้นที่ ประสานกับทางจังหวัดในการบริหารจัดการการเผาในพื้นที่เกษตร ซึ่งทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ จะต้องทำงานกับจังหวัดนั้นๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานกับจังหวัดอย่างเต็มที่ รวมทั้งให้สื่อสารแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นอย่างทั่วถึงและทันท่วงที เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสถานการณ์แก่ประชาชน ขณะที่การจัดสรรงบประมาณ หากงบประมาณไม่เพียงพอให้เร่งขอรับการจัดสรรงบกลาง และสอบถามความต้องการของจังหวัดเพื่อประสานงานกับสำนักงบประมาณโดยด่วน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ