ภาพจากดาวเทียม Landsat 5 , Sentinel 2 และไทยโชต แสดงให้เห็นพื้นที่โรงงานหมิงตี้เคมีคอล เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุระเบิด

Ittipan Buathong

GISTDA ได้เปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ย้อนหลัง 30 ปี โดยแบ่งเป็นช่วงเริ่มจากปี 2533, 2547, 2553 และ 2564 ตามลำดับ

จากภาพจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บริเวณพื้นที่โดยรอบที่ตั้งโรงงานดังกล่าว มีการขยายตัวเมืองอย่างรวดเร็ว
และมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมากมาย อาทิ สนามบินสุวรรณภูมิ หมู่บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ  จนกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่อยู่ล้อมรอบโรงงานฯ

epriiybethiiyb_4_pii_orngngaan_hmingtii-02.jpg

———————————————————–

6 กรกฎาคม 2564

(20.00 น.)

GISTDA เผยภาพจากดาวเทียมไทยโชต เปรียบเทียบก่อนและหลังเหตุการณ์ถังเคมีระเบิด ของวันที่ 23 มิถุนายน 2562 กับ 6 กรกฎาคม 2564 ตามลำดับ แสดงให้เห็นร่องรอยและความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกิดเหตุ และใกล้เคียง

ทั้งนี้ การแสดงภาพเปรียบเทียบจากดาวเทียม ถือเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องได้นำไปดำเนินการต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟู การเยียวยา การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของคุณภาพอากาศ รวมถึงค่าความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่

s_360243204.jpg

———————————————————————————————–

6 กรกฎาคม 2564

(18.00- 23.00 น)

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่หลังเกิดเหตุ และข้อมูลทิศทางลมของวันท่ี 6 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.00- 23.00 น.

พบว่า กระแสลมมีทิศทางค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 18.00 น. – 20.00 น. และในช่วงเวลา 21.00 น. – 23.00 น. มีแนวโน้มพัดขึ้นทางเหนือตามลำดับ

 ทําให้ประชาชนที่อยู่ในแนวทิศทางลมในช่วงเวลาดังกล่าว

จะต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ที่เว็บไซต์ www.gistda.or.th และแผนที่ออนไลน์ที่ gistdaportal.gistda.or.th/explosion

06-07-2021-18-23.gif

——————————————————————————–

6 กรกฎาคม 2564

(09.00 – 17.00)

จากสถานการณ์ไฟไหม้จากถังเคมีระเบิดในบริเวณซอยกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อคืนวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นั้น GISTDA ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวโดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมบันทึกภาพหลังเกิดเหตุ ด้วยภาพถ่าย ดาวเทียม Sentinel-2 วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.35 น.

เพื่อแสดงสภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุ ใน ระยะรัศมี 5, 7.5 และ 10 กิโลเมตร ตามลำดับ และซ้อนทับกับข้อมูลแสดงทิศทางลมและตำแหน่งสถานที่สำคัญที่ ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบ และข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่หลังเกิดเหตุ และข้อมูลทิศทางลม ณ ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น.

ของวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ทำให้ประชาชนที่อยู่ในแนวทิศทางลมในช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องเฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

epriiybethiiybphaaphraebidknaelahlangekidehtu.png
thisthaanglm_9-17n.gif

——————————————————————————–

5 กรกฎาคม 2564

GISTDA ได้ติดตามสถานการณ์ไฟไหม้จากถังเคมีระเบิดภายในบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ใน จ.สมุทรปราการ โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 ของวันนี้ เมื่อเวลา 10.35 น. พบว่าสภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุที่ประกอบด้วยชุมชนกว่า 994 แห่ง และโรงงานอีกกว่า 1,120 แห่ง 

ภาพจากดาวเทียมเมื่อช่วงสายที่ผ่านมา ยังแสดงให้เห็นถึงกลุ่มควันสีดำที่มีทิศทางพัดไปทางทิศตะวันออก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนของ อบต.ราชาเทวะ และบริเวณโดยรอบบางส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ คาดการณ์ว่าช่วงเวลา 19.00-21.00 น. จะมีการพัดเปลี่ยนแปลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงดังกล่าวติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

presentation1_autosaved.jpg
orngngaanraebid1111_v2.jpg
orngngaanraebid1111_v22.jpg
orngngaanraebid1111_v33.jpg
orngngaanraebid1111_44.jpg
orngngaanraebid1111_55.jpg

Leave a Comment