คณะผู้เชี่ยวชาญชุดตรวจ ATK กระทรวงสาธารณสุข แนะควรใช้ชุดตรวจ ATK ช่วงที่มีโอกาสเจอเชื้อมากที่สุด คือ 2 วันก่อนเริ่มมีอาการ จนถึงมีอาการ 7 วัน ย้ำผู้ที่มีความเสี่ยง สัมผัสคนจำนวนมาก ทำงานภาคบริการ ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำ

Ittipan Buathong

ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย ศ.ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย แถลงข่าวประสิทธิผลการใช้ชุดตรวจ ATK ด้วยตนเอง

<strong>คณะผู้เชี่ยวชาญชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>กระทรวงสาธารณสุข แนะควรใช้ชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>ช่วงที่มีโอกาสเจอเชื้อมากที่สุด คือ </strong><strong>2</strong><strong> วันก่อนเริ่มมีอาการ จนถึงมีอาการ </strong><strong>7</strong><strong> วัน ย้ำผู้ที่มีความเสี่ยง สัมผัสคนจำนวนมาก ทำงานภาคบริการ ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำ </strong><strong></strong>

นพ.สุรโชค กล่าวว่า ประเทศไทยมีการใช้ชุดตรวจโควิด ATK ด้วยตนเองมากขึ้น นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อก่อโรคโควิด 19 ATK เพื่อให้คำแนะนำในการกำหนดและนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สำหรับการขึ้นทะเบียนชุดตรวจ บริษัทผู้ผลิต/นำเข้า ต้องส่งตัวอย่างไปประเมินทดสอบทางคลินิก ก่อนนำข้อมูลมายื่นให้ อย.และสภาเทคนิคการแพทย์ร่วมกันประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อออกใบอนุญาต ปัจจุบันมีชุดตรวจโควิดด้วยตนเองขึ้นทะเบียน 45 ราย สังเกตได้จากข้อความระบุว่า คัดกรองเบื้องต้น เมื่อผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จะติดตามตรวจสอบคุณภาพ สถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หากพบการโฆษณาเกินจริง  หรือปัญหาคุณภาพชุดตรวจ ATK สามารถสอบถามหรือแจ้งข้อมูลที่สายด่วน 1556 เพื่อให้อย.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

<strong>คณะผู้เชี่ยวชาญชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>กระทรวงสาธารณสุข แนะควรใช้ชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>ช่วงที่มีโอกาสเจอเชื้อมากที่สุด คือ </strong><strong>2</strong><strong> วันก่อนเริ่มมีอาการ จนถึงมีอาการ </strong><strong>7</strong><strong> วัน ย้ำผู้ที่มีความเสี่ยง สัมผัสคนจำนวนมาก ทำงานภาคบริการ ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำ </strong><strong></strong>

ศ.ดร.ฉัตรเฉลิม กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองด้วย ATK คือ 1.ระยะเวลาการรับเชื้อ หากตรวจในช่วง 7 วันหลังรับเชื้อและเริ่มมีอาการ จะมีประสิทธิภาพสูงมาก 2.กระบวนการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองทั้งจากโพรงจมูกหรือน้ำลาย ต้องถูกต้อง โดยศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานหรือวิดีโอสาธิต หรือได้รับการฝึกฝนการเก็บตัวอย่าง 3.ปริมาณเชื้อไวรัสในสิ่งส่งตรวจ ยิ่งมีเชื้อมากจะตรวจพบได้ง่าย ถ้าปริมาณน้อยอาจตรวจไม่พบ ทำให้เกิดผลลบปลอมได้ และ 4.คุณภาพน้ำยาในการตรวจ การเก็บรักษาและความคงทนของชุดตรวจ ทั้งนี้ อย.ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ กำกับดูแลชุดตรวจก่อนออกสู่ตลาด โดยจัดทำมาตรฐานการตรวจ (Standardized Protocol) เพื่อเปรียบเทียบอ้างอิงยืนยันผลทดสอบ และหลังออกตลาด จะมีการติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และข้อร้องเรียนต่างๆ โดยรวบรวมข้อมูลที่มีนัยสำคัญ เพื่อวางแผนสุ่มเก็บตัวอย่าง การตรวจประเมินประสิทธิภาพ และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ชุดตรวจมีการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

<strong>คณะผู้เชี่ยวชาญชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>กระทรวงสาธารณสุข แนะควรใช้ชุดตรวจ </strong><strong>ATK </strong><strong>ช่วงที่มีโอกาสเจอเชื้อมากที่สุด คือ </strong><strong>2</strong><strong> วันก่อนเริ่มมีอาการ จนถึงมีอาการ </strong><strong>7</strong><strong> วัน ย้ำผู้ที่มีความเสี่ยง สัมผัสคนจำนวนมาก ทำงานภาคบริการ ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำ </strong><strong></strong>

ด้าน ผศ.นพ.กำธร กล่าวว่า  ชุดตรวจ ATK  เป็นการตรวจหาโปรตีนของไวรัส แตกต่างจากการตรวจแบบ RT-PCR ที่มีการขยายสารพันธุกรรมไวรัส ทำให้การตรวจด้วย ATK มีความไวน้อยกว่า RT-PCR  แต่ปัจจุบันชุดตรวจ ATK อยู่ในระดับดี นำมาใช้ได้ทั่วไปได้ โดยต้องตรวจในจังหวะที่มีโอกาสเจอเชื้อได้มากที่สุด คือ ช่วงก่อนที่จะเริ่มมีอาการ 2 วัน จนถึงมีอาการแล้ว 4-7 วัน แต่ตรวจก่อนหรือหลังจากนี้โอกาสตรวจเจอเชื้อจะน้อยลง ส่วนคนที่ไม่มีอาการและไม่มีการสัมผัสโรค ผลตรวจที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือต่ำ อาจเกิดผลบวกปลอม หรือผลลบปลอมกรณีไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยง เนื่องจากเชื้อมีปริมาณน้อยจนยังตรวจไม่เจอ จึงต้องระมัดระวัง เนื่องจากหากชะล่าใจอาจแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

           “การใช้ชุดตรวจ ATK จะมีประโยชน์สูงสุด เมื่อตรวจผู้ที่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสโรคและมีอาการ ส่วนการตรวจคัดกรองอาจใช้ในกรณีอยู่ในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อสูง เช่น พื้นที่ปิด ร้านอาหาร ร้านตัดผม ชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น ตลาดนัด โรงงาน หรือลูกจ้างในสถานที่นั้นมีการติดเชื้อและมีโอกาสแพร่เชื้อสูง เช่น ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร คนทำงานภาคบริการ และคนทำงานที่สัมผัสผู้คนจำนวนมาก โรงเรียน สถานศึกษา โดยการตรวจต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง  ถ้าเสี่ยงมากตรวจ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดปัญหาผลลบปลอมในคนเสี่ยงสูง หรือหากยังเป็นผลลบติดต่อกันหลายครั้งและไม่มีอาการ ก็จะมั่นใจได้มากขึ้นว่าเป็นผลลบจริง” ผศ.นพ.กำธรกล่าว

Leave a Comment