กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยความคืบหน้าการเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์โอไมครอนว่า ในช่วงวันที่ 15 – 27 พ.ย. 64 มีผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจาก 8 ประเทศเสี่ยง จำนวน 333 คน ออกจากไทยแล้ว 61 คน กักตัวครบ 14 วันแล้ว 105 คน เหลือที่ต้องติดตามอีก 167 คน ซึ่งขณะนี้ติดตามได้แล้ว 26% ยังไม่พบผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด
โดย สธ. จะเร่งติดตามผู้เดินทางที่เหลือให้มารับการตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด แม้ไทยจะห้ามไม่ให้มีการเดินทางประเทศจาก 8 ประเทศเสี่ยงตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ยกเว้นคนไทยที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ ส่วนผู้เดินทางจากประเทศอื่นในทวีปแอฟริกาจะต้องเข้าสู่การกักตัว 14 วัน และตรวจหาเชื้อทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยสูงสุดของประชาชน
สธ. เผยผลการติดตามผู้เดินทางจาก 8 ประเทศเสี่ยงล่าสุด ยังไม่พบโควิดทุกสายพันธุ์ รวมถึง “โอไมครอน”
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยความคืบหน้าการเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์โอไมครอนว่า ในช่วงวันที่ 15 – 27 พ.ย. 64 มีผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจาก 8 ประเทศเสี่ยง จำนวน 333 คน ออกจากไทยแล้ว 61 คน กักตัวครบ 14 วันแล้ว 105 คน เหลือที่ต้องติดตามอีก 167 คน ซึ่งขณะนี้ติดตามได้แล้ว 26% ยังไม่พบผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด
โดย สธ. จะเร่งติดตามผู้เดินทางที่เหลือให้มารับการตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด แม้ไทยจะห้ามไม่ให้มีการเดินทางประเทศจาก 8 ประเทศเสี่ยงตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ยกเว้นคนไทยที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ ส่วนผู้เดินทางจากประเทศอื่นในทวีปแอฟริกาจะต้องเข้าสู่การกักตัว 14 วัน และตรวจหาเชื้อทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยสูงสุดของประชาชน
กรมการแพทย์ ให้ความมั่นใจ หากเกิดการระบาดเชื้อโควิดครั้งใหญ่ขึ้นอีก การบริหารจัดการการครองเตียง รพ.รัฐ รพ.เอกชน รพ.สนาม และ Hospitel ในภาพรวมประเทศยังพอเพียง สามารถรองรับสถานการณ์ได้ด้วยระบบ Home Isolation & Community Isolation ทุกจังหวัดประชาชนที่สงสัยว่าติดเชื้อสามารถตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากมีผลบวก ติดต่อสายด่วน โทร. 1330 หรือ รพ.ใกล้บ้าน เพื่อขอคำแนะนำ
กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดกลุ่ม 607 ฉีดวัคซีนเพิ่มตามเป้า ร้อยละ 80 ลดอาการรุนแรงและชีวิต
จังหวัดที่ฉีดวัคซีนต่ำกว่าเป้าหมาย 66 จังหวัด ดังนี้
• ร้อยละ 50 -59 (12 จ.)
นราธิวาส ปัตตานี ยะลา แม่ฮ่องสอน นครนายก ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ขอนแก่น
• ร้อยละ 60 -69 (33 จ.)
นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร แพร่ ลำพูน พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สุรินทร์ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ชุมพร พัทลุง สตูล เพชรบุรี ตราด ระยอง
• ร้อยละ 70 -79 (21 จ.)
สงขลา เชียงราย น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ ชัยนาท กำแพงเพชร นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา มหาสารคาม หนองบัวลำภู นครศรีธรรมราช ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เลย หนองคาย กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะการเตรียมพร้อมรับมือสำหรับ โอมิครอน สามารถทำได้โดย
✅การให้วัคซีน ในปัจจุบันต้องครอบคลุมให้ได้สูงสุด หรือเกือบทั้งหมดของประชากรที่ควรจะได้รับวัคซีน
✅การวินิจฉัยสายพันธุ์โอมิครอน ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมการระบาดของโรค
✅การป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ด้วยมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่
การเตรียมพร้อม ต้องให้ทุกคนเข้าใจ ใช้ความรู้มากกว่าความเชื่อ สร้างความรู้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีความโปร่งใส และทุกคนจะต้องเคร่งครัดรักษาระเบียบวินัย จะช่วยลดการระบาดของโรคได้อย่างแน่นอน
กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดกลุ่ม 607 ฉีดวัคซีนเพิ่มตามเป้า ร้อยละ 80 ลดอาการรุนแรงและชีวิต
จังหวัดที่ฉีดวัคซีนต่ำกว่าเป้าหมาย 66 จังหวัด ดังนี้
• ร้อยละ 50 -59 (12 จ.)
นราธิวาส ปัตตานี ยะลา แม่ฮ่องสอน นครนายก ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ขอนแก่น
• ร้อยละ 60 -69 (33 จ.)
นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร แพร่ ลำพูน พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สุรินทร์ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ชุมพร พัทลุง สตูล เพชรบุรี ตราด ระยอง
• ร้อยละ 70 -79 (21 จ.)
สงขลา เชียงราย น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ ชัยนาท กำแพงเพชร นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา มหาสารคาม หนองบัวลำภู นครศรีธรรมราช ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เลย หนองคาย กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง