ศาลฎีกาพิพากษา “เปรมชัย กรรณสูต” จำคุก 2 ปี 14 เดือน คดีล่าเสือดำทุ่งใหญ่นเรศวร ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาทให้กรมอุทยานฯ

Ittipan Buathong

ศาลฎีกาพิพากษา "เปรมชัย กรรณสูต" จำคุก 2 ปี 14 เดือน คดีล่าเสือดำทุ่งใหญ่นเรศวร ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาทให้กรมอุทยานฯ

ที่ศาลจังหวัดทองภาคภูมิ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ศาลฎีกาพิพากษาคดีที่นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวก ร่วมกันล่าเสือดำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี โดยมีคำพิพากษาดังนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น และไม่มีเหตุต่อการรอการลงโทษ แต่ต่อมาได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดย พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แก้ไขเพิ่มเติม ปี พ.ศ.2562 ให้ยกเลิกมาตรา 55 การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดในส่วนนี้ ตาม ป.อาญา มาตรา 2 คงจำคุกจำเลยที่ 1 นายเปรมชัย คงจำคุก 2 ปี 14 เดือน จำเลยที่ 2 นางยงค์ คงจำคุก 2 ปี 17 เดือน จำเลยที่ 4 นายธานี คงจำคุก 2 ปี 21 เดือน ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 2 ล้านบาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ แต่ให้ปรับแก้ไขดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่

ศาลฎีกาพิพากษา "เปรมชัย กรรณสูต" จำคุก 2 ปี 14 เดือน คดีล่าเสือดำทุ่งใหญ่นเรศวร ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาทให้กรมอุทยานฯ

ต่อมาเวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่คุมตัวนายเปรมชัย กรรณสูต พร้อมพวกรวม 3 คน ไปเรือนจำอำเภอทองผาภูมิ

ศาลฎีกาพิพากษา "เปรมชัย กรรณสูต" จำคุก 2 ปี 14 เดือน คดีล่าเสือดำทุ่งใหญ่นเรศวร ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาทให้กรมอุทยานฯ
ศาลฎีกาพิพากษา "เปรมชัย กรรณสูต" จำคุก 2 ปี 14 เดือน คดีล่าเสือดำทุ่งใหญ่นเรศวร ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาทให้กรมอุทยานฯ

สำนักงานศาลยุติธรรม เผยแพร่เอกสารคำพิพากษาโดยระบุว่า ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุก “เปรมชัย กับพวก” คดีล่าเสือดำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมชดใช้เงิน 2 ล้านบาท และดอกเบี้ยแก่กรมอุทยานฯ โดยคดีนี้พนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ เป็นโจทก์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้ร้อง (ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย) ดังนี้

นายเปรมชัย กรรณสูต จำเลยที่ 1

นายยงค์ โดดเครือ จำเลยที่ 2

นางนที เรียมแสน จำเลยที่ 3

นายธานี ทุมมาศ จำเลยที่ 4

ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

จำเลยที่ 1, 2, และ 4 ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ซึ่งพิพากษาให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ จำคุกคนละ 1 ปี และปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 20,000 บาท

ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากเสือดำ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 6 เดือน และปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 10,000 บาท

ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครอง ซึ่งซากไก่ฟ้าหลังเทา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 2 เดือน และปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 10,000 บาทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ฐานร่วมกันล่าเสือดำซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำคุกคนละ 1 ปี

เมื่อรวมกับโทษจำคุก 3 เดือน ของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับโทษจำคุก 6 เดือนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต และโทษจำคุก 4 เดือนของจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานพยายามล่ากระรอกซึ่งเป็นสัตว์ป่าในเขตพันธุ์รักษาสัตว์ป่าตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดทองผาภูมิ) คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี 14 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2  มีกำหนด 2 ปี 17 เดือน จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี 8 เดือน และปรับ 40,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 2 ปี 21 เดือน โทษจำคุกจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษไว้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแก่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ผลของคำพิพากษาศาลฎีกา สรุปได้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2  และที่ 4 ร่วมกันมีซากเสือดำที่ร่วมกัน ฆ่าไว้ ในครอบครองและสถานที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย จึงให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว โดยให้การกำหนดโทษเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

ส่วนความผิดฐานร่วมกันรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งซากของไก่ฟ้าหลังเทาซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 55 นั้น ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฯ ได้มี พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ออกใช้บังคับ และให้ยกเลิก พ.ร.บ. เดิม ซึ่งตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ไม่ได้บัญญัติให้การกระทำความผิดตามกฎ หมายเดิมในมาตรา 55 นั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยทั้ง 4 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 55 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2

ดังนั้น จำเลยที่ 1  ที่ 2 และที่ 4 จึงยังคงมีความผิดฐานร่วมกันมีซากไก่ฟ้าหลังเทา ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ส่วนฎีกาข้ออื่นๆของฝ่ายจำเลยฟังไม่ขึ้น

ทั้งนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษา แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นว่า จำเลยทั้ง 4 มีความผิดฐานร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และกำหนดโทษ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้ง 4 ในความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535  มาตรา 55

สำหรับค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ให้แก่กรมอุทยานฯ ผู้ร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปีนับแต่วันที่ 4 ก.พ. 2561 ถึงวันที่ 10 เม.ย. 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปีนับแต่วันที่ 11 เม.ย. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง

อนึ่ง อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เม.ย.2564 ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่ผู้ร้องขอ

นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ค่าฤชาธรรมเนียมคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ในชั้นฎีกาให้เป็นพับ ส่งผลในส่วนของคดีอาญามีการลงโทษจำเลยทั้ง 4 ดังนี้

จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี 14 เดือน

จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี 17 เดือน

จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี 8 เดือน และปรับ 50,000 บาท รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปีหากจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30

จำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 2 ปี 21 เดือน

Leave a Comment