องค์การสวนสัตว์ฯ เตรียมปล่อยนกกระเรียนรอบที่ 11 คืนสู่ธรรมชาติ ดีเดย์ 13 กุมภา ต้อนรับวันแห่งความรัก 

Ittipan Buathong

องค์การสวนสัตว์ฯ เตรียมปล่อยนกกระเรียนรอบที่ 11 คืนสู่ธรรมชาติ ดีเดย์ 13 กุมภา ต้อนรับวันแห่งความรัก 

นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงแผนการเตรียมปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ในปี 2565 ภายในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 นี้ ภายหลังจากที่ องค์การสวนสัตว์ฯ ประสบความสำเร็จในการ เพาะขยายพันธุ์และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2554 จนปัจจุบันนกกระเรียนพันธุ์ไทยสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในธรรมชาติได้แล้วจำนวน 133 ตัว

องค์การสวนสัตว์ฯ เตรียมปล่อยนกกระเรียนรอบที่ 11 คืนสู่ธรรมชาติ ดีเดย์ 13 กุมภา ต้อนรับวันแห่งความรัก 

สำหรับนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่จะทำการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในปี 2565 นี้ เป็นการปล่อยรอบที่ 11 มีจำนวน 12 ตัว (เพศผู้ 8 ตัว และ เพศเมีย 4 ตัว) โดยสาเหตุที่เลือกปล่อยในห้วงวันแห่งความรัก เนื่องจากเป็นนก  ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของรักแท้ เป็นนกที่จับคู่แบบผัวเดียว เมียเดียวตลอดชีวิต โดยการปล่อยครั้งนี้            ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ อาทิ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ บริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดการบุรีรัมย์  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ โรงแรม กรีน โฮเต็ล The 8 hostel สภาอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ หอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์  และ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด

องค์การสวนสัตว์ฯ เตรียมปล่อยนกกระเรียนรอบที่ 11 คืนสู่ธรรมชาติ ดีเดย์ 13 กุมภา ต้อนรับวันแห่งความรัก 

อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีของความสำเร็จบนความยั่งยืนที่เกิดขึ้น ทำให้องค์การสวนสัตว์ฯ   ได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีความสำคัญระดับโลกในพื้นที่ภาคการผลิตของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก โดยมี บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนการก่อสร้าง และถือเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งเดียวที่มีความสำคัญและโดดเด่นของจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อมโยงกับวิถีชุมชน และองค์ความรู้ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ.

Leave a Comment