พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี พร้อมกับประชุมร่วมกับเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน บริหารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้(ศอ.บต.)เนื่องจากการที่ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ประชากรมีรายได้น้อยที่สุดในประเทศไทยตามดัชนีความก้าวหน้าของคน
นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา(บพท.) กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา บพท.ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ตรวจค้นตรวจทานจนสามารถนำประชาชนที่ยากจนเข้าสู่กระบวนการความช่วยเหลือของรัฐได้แล้ว 98,000 คน และยังสนับสนุนการพัฒนาโครงการเมืองปูทะเลโลกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่แก่ประชาชน
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือและบูรณาการระหว่าง บพท. ศอ.บต. ตลอดจนภาคีอื่น ๆ ได้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเกษตรในพื้นที่ โดยมีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเพสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้เรื่องปูทะเลด้วยภูมิปัญหาคนไทยอย่างครบวงจร
“ทุนวิจัย บพท.ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ที่เมื่อนำเอาไปเชื่อมโยงกับกลไกสภาเกษตรกร เกษตรกร ฟาร์มเพาะเลี้ยง ภาคธุรกิจเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ทำให้เกิดเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ของประชาชน และจะต่อยอดฐานทรัพยากรให้กอดเป็นเมืองปูทะเลโลกที่ปัตตานีได้อย่างยั่งยืน”
พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลงพื้นที่พบปะสมาชิกกลุ่มเลี้ยงปูทะเล อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พร้อมขับเคลื่อนจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็น “เมืองแห่งปูทะเลโลก” เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเล ณ ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงปูทะเลบ้านโต๊ะโสม ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยมอบลูกพันธุ์ปูให้แก่สมาชิกกลุ่มเลี้ยงปูทะเล และมอบพันธุ์ไม้โกงกาง เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลลูกปูในพื้นที่ให้แก่สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน
“ดีใจได้เห็นรอยยิ้มของประชาชน ขอให้ทุกคนได้นำศักยภาพที่มีอยู่โดยเฉพาะด้านการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน”
นายกรัฐมนตรี ยืนยัน รัฐบาลพร้อมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็น “เมืองแห่งปูทะเลโลก” เชื่อมโยงไปสู่ห่วงโซ่ด้านการท่องเที่ยวที่สวยงาม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น รัฐบาลจะเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน และปรับให้ตรงกับความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ อย่างเป็นระบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป การจำหน่ายและการตลาด
“การขับเคลื่อนงาน ต้องร่วมมือกันและรับฟังความคิดเห็นหรือประชาพิจารณ์ของประชาชนในพื้นที่ มีการทำผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA ภายใต้การปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ สิ่งสำคัญต้องดำเนินทุกมิติให้มีความสมดุลกัน”
.