กอนช. เร่งบริหารจัดการน้ำหลากใน จ.จันทบุรี โดยขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว พร้อมสั่งประเมินอ่างฯ ขนาดใหญ่เสี่ยงน้ำล้น พบเสี่ยง 20 แห่ง

Mummai Media

กอนช. เร่งบริหารจัดการน้ำหลากใน จ.จันทบุรี โดยขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว พร้อมสั่งประเมินอ่างฯ ขนาดใหญ่เสี่ยงน้ำล้น พบเสี่ยง 20 แห่ง

.

นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า กอนช. ได้ติดตามคาดการณ์สภาพอากาศ แนวโน้มของพายุ รวมถึงประเมินสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยข้อมูลการคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า พายุโซนร้อน “คมปาซุ” จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันนี้และจะอ่อนกำลังลง อย่างไรก็ตาม จะยังส่งผลให้พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.มุกดาหาร นครพนม สกลนคร และบึงกาฬ มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

กอนช. เร่งบริหารจัดการน้ำหลากใน จ.จันทบุรี โดยขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว พร้อมสั่งประเมินอ่างฯ ขนาดใหญ่เสี่ยงน้ำล้น พบเสี่ยง 20 แห่ง

ในระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค. 64 ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จึงทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมาย กอนช. ติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่คาดว่าจะได้รับอิทธิพลดังกล่าว โดยพบว่าในช่วงวันที่ 14 – 17 ต.ค. 64 มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 20 แห่ง ที่ต้องเฝ้าระวังเสี่ยงน้ำล้น ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ อ่างฯแม่มอก อ่างฯแควน้อยบำรุงแดน อ่างฯทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อ่างฯอุบลรัตน์ อ่างฯจุฬาภรณ์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯลำพระเพลิง อ่างฯมูลบน อ่างฯลำแชะ อ่างฯลำนางรอง อ่างฯสิรินธร ภาคกลาง ได้แก่ อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯกระเสียว

กอนช. เร่งบริหารจัดการน้ำหลากใน จ.จันทบุรี โดยขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว พร้อมสั่งประเมินอ่างฯ ขนาดใหญ่เสี่ยงน้ำล้น พบเสี่ยง 20 แห่ง

ภาคตะวันออก ได้แก่ อ่างฯขุนด่านปราการชล อ่างฯหนองปลาไหล อ่างฯนฤบดินทรจินดา ภาคตะวันตก ได้แก่ อ่างฯศรีนครินทร์ อ่างฯวชิราลงกรณ อ่างฯแก่งกระจาน อ่างฯปราณบุรี กอนช. จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาวางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำและในลำน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำล้นอ่างเก็บน้ำท่วมพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำให้น้อยที่สุด รวมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้ทราบและเตรียมความพร้อมรับมือ

ทั้งนี้ ตามประกาศ กอนช. ฉบับที่ 23/2564 เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งเตือนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากในภาคตะวันออกและภาคใต้ กอนช. ได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยปัจจุบัน

มีสถานการณ์น้ำหลากในหลายพื้นที่ของ จ.จันทบุรี อันเกิดจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากการติดตามภาพรวมในปัจจุบัน ระดับน้ำเริ่มลดลงเนื่องจากการลดระดับของน้ำทะเล แต่ยังคงมีระดับน้ำท่วมขัง 10-20 ซม. ในขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรี ที่สะพานวัดจันทนาราม ต่ำกว่าจุดวิกฤติ โดยโครงการชลประทานจันทบุรีได้บริหารจัดการโดยผลักดันน้ำผ่านคลองภักดีรำไพอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเร่งลดผลกระทบแก่พื้นที่

พร้อมกันนี้ กอนช. คาดการณ์ว่า ในวันนี้มวลน้ำจากตอนบนของลุ่มน้ำจะเคลื่อนผ่าน อ.เมืองจันทบุรี แต่จะไม่ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำสูงขึ้นหรือล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันสถานการณ์น้ำในพื้นที่ อ.เมืองจันทบุรี ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 30 ซม. ทั้งนี้ กอนช. จะยังคงติดตามปริมาณฝนในช่วง 1-2 วันนี้ต่อไป นอกจากนี้ อิทธิพลพายุโซนร้อน “คมปาซุ” ยังส่งผลให้ฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงมีการเพิ่มการระบายเพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2-2.5 ม. แต่ยังคงไม่ล้นตลิ่ง อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

กอนช. เร่งบริหารจัดการน้ำหลากใน จ.จันทบุรี โดยขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว พร้อมสั่งประเมินอ่างฯ ขนาดใหญ่เสี่ยงน้ำล้น พบเสี่ยง 20 แห่ง

“สำหรับสถานการณ์น้ำหลากที่ จ.จันทบุรี ในขณะนี้ กอนช. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบริหารจัดการน้ำ ให้ประชาชนพ้นจากความเดือดร้อนโดยเร็ว ตามข้อสั่งการของท่านรองนายกรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ซึ่งปัจจุบันปริมาณน้ำได้เริ่มลดระดับลงแล้ว เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์บริเวณลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลยังคงมีสถานีวัดน้ำที่ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งหลายแห่ง จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ให้มีการเฝ้าระวังจุดเสี่ยงและเร่งคลี่คลายสถานการณ์ ให้ประชาชนพ้นจากความเดือดร้อน ตามข้อสั่งการของท่านรองนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ปริมาณฝนจะเริ่มลดลงตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. นี้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน” รองเลขาธิการ สทนช. กล่าว

Leave a Comment