นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)เปิดเผยวันนี้(15เม.ย)ว่าหลังจากกรกอ.มีมติเห็นชอบ”โครงการ1กลุ่มจังหวัด1นิคมอุตสาหกรรม”และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารให้เป็นกลไกบริหารโครงการ ล่าสุดที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครั้งที่ 1/2564ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารภายใต้”5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ.”
และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 เมษายน 2563 ว่าด้วย “มาตรการการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ปี พ.ศ. 2562-2570” ตั้งเป้าขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารท็อปเทนของโลกควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวบนฐานเกษตร4.0เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารใน18กลุ่มจังหวัดเพื่อกระจายการลงทุนเพิ่มการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรทั่วทุกภูมิภาคตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มจังหวัดซึ่งขณะนี้มีถึง9กลุ่มจังหวัดที่สนใจโครงการนี้และเสนอพื้นที่ดำเนินการ บางกลุ่มจังหวัดเริ่มดำเนินการแล้วเช่นกลุ่มจังหวัดอีสานเหนือที่อุดรธานีและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนที่อ่างทอง
“ การกระจายการลงทุนใน18กลุ่มจังหวัดจะเกิดฐานการแปรรูปสินค้าเกษตรทั่วประเทศเป็นดารสร้างสมดุลใหม่ในการพัฒนาประเทศและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เราจะเร่งเดินหน้าอย่างรวดเร็วไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ โดยคณะที่ปรึกษาให้พิจารณาจากนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่มีอยู่แล้วโดยเพิ่มโซนอุตสาหกรรมเกษตรอาหารในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเดิมหรือถ้าลงทุนใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องทำเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้นแต่สามารถเริ่มจากเขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือเขตชุมชนอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเอสเอ็มอี.เกษตร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน”
ทางด้านนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการฯ.กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ.ได้กำหนด4 มาตรการการขับเคลื่อนได้แก่
1. มาตรการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warrios) เป็นมาตรการสร้างผู้ประกอบอาหารรุ่นใหม่ ให้มีนวัตกรรมอาหาร โดยให้ความสําคัญกับการผลิตอาหารอนาคต (Future Food) เช่น อาหารสุขภาพ (Healthy Foods) ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ (Food
Biotechnology Products) และอาหารใหม่ (Novel Food)
2. มาตรการสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต (Future Food Innovation)
เป็นการยกระดับนวัตกรรมอาหารอนาคตสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยนําเอานวัตกรรมมาใช้ในการผลิต และ แปรรูปอาหาร และสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ฉลาด( Intelligence Packaging )
3. มาตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจเกษตรและอาหาร(New Marketing Platform) ทั้งในและต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) ออนไลน์
4. มาตรการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (Enabling) ที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะดึงผู้ผลิตรายใหญ่ (Global Player) เข้ามาเป็น Big Brother มีส่วนร่วมในการพัฒนาควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ระบบ Smart Farming รวมถึงการกําหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาหาร
โดยมีการดําเนินงาน5ขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดพื้นที่ใน 18 กลุ่มจังหวัด และสินค้าเป้าหมายในการส่งเสริมเขตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ดําเนินการโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
2. จังหวัดจัดทําข้อมูลรายละเอียดศักยภาพของพื้นที่ และสินค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดทําแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในแต่ละกลุ่มจังหวัดดําเนินการโดยสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ร่วมกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)
3. จัดทํามาตรการส่งเสริมการลงทุน ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
4. นํามาตรการจูงใจและข้อเสนอของจังหวัดมาจัดทําแนวทาง
การจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ดําเนินการโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตรและอาหาร
5. นําเสนอผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)ให้ความเห็นชอบและเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาต่อไป
“ในการกําหนดพื้นที่ และสินค้าเป้าหมายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 3 กลุ่ม สินค้า ได้แก่ 1) กลุ่มสินค้าเป้าหมายภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2) กลุ่มสินค้าที่มีมีมูลค่าสูงสุด 4 อันดับแรก ของจังหวัด และ 3) กลุ่มสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI)ของจังหวัด โดยได้กําหนดสินค้าเป้าหมาย ได้แก่ 1) สินค้า Commodity เช่น กลุ่มข้าวและธัญพืช กลุ่มปศุสัตว์ ประมง กลุ่มผัก ผลไม้ กลุ่มเครื่องปรุงรส อาหารพร้อมรับประทานเกษตรอินทรีย์ เครื่องดื่มสุขภาพ (Healthy drinks) รวมถึง
สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทันสมัย บรรจุภัณฑ์ฉลาด รวมถึงอาหารที่ยกระดับด้วยการคัดแยกเกรด
2) สินค้าอนาคต Future Food เช่น อาหารสุขภาพและอาหารฟังก์ชัน (Healthy and Functional Food) ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารใหม่ (Novel Food) อาหารและวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารคุณภาพสูง และธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมอาหาร เช่น
บรรจุภัณฑ์อาหาร และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมอาหาร”
ก่อนหน้านี้กรกอ.มีมติเห็นชอบ”โครงการ1กลุ่มจังหวัด1นิคมอุตสาหกรรม”และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายกนก อภิรดี อดีตผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยและประธานธนาคารเอสเอ็มอี.นายโฆษิต สุวินิจจิต นักบริหารชั้นแนวหน้าและนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นที่ปรึกษา
2. นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ อดีตผู้ว่าวว.และอดีตผู้อำนวยการสถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน
3. รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ) และ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นรองประธาน
4. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชนและ
ผู้ทรงคุณวุฒิรวม 22 คน เป็นอนุกรรมการ
5. ผู้อํานวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
6. ผู้อํานวยการสถาบันอุตสาหกรรมเกษตร เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตร และอาหารรวมถึงขับเคลื่อนการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือรูปแบบอื่นๆ ตามศักยภาพใน 18 กลุ่มจังหวัด