“อลงกรณ์” ขานรับข้อเสนอภาคเอกชนร่วมเดินหน้า”ก้าวใหม่ประเทศไทย ก้าวใหม่ประชาธิปัตย์” ชูธง 12 แนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาสร้างศักยภาพใหม่ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทยภายใต้ยุทธศาสตร์”สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ”
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคฯ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความเห็น และข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ที่มีต่อความคาดหวังในนโยบายของพรรคการเมืองวันนี้(23 มีนาคม 2566)ว่า
พรรคประชาธิปัตย์เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนรวมทั้งมุมมองวิสัยทัศน์ของภาคเอกชนล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์บนหลักการ 3 ประการคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจในความคาดหวังของภาคเอกชนที่มีต่อนโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งในส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางนโยบายอย่างน้อย 12 ประการ เสมือนคานงัดในการสร้างจุดเปลี่ยนประเทศไทย สู่”ก้าวใหม่ ไทยแลนด์”โดยพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเอกชน ได้แก่
- การพัฒนาการเมืองโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
- การขจัดคอร์รัปชั่นโดยการสร้างระบบธรรมาภิบาล
- การส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เสรี และเป็นธรรม ลดการผูกขาดทางเศรษฐกิจ และพลังงาน
- การปฏิรูประบบราชการโดยลดอำนาจรัฐ ลดขนาดภาครัฐ
▪มุ่งกระจายอำนาจและทรัพยากรสู่ท้องถิ่นและชุมชน (Community Empowerment)
▪การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่นทางเศรษฐกิจ
▪การพัฒนาเมือง และชนบท
- การปฏิรูปภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
▪การส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
▪การยกระดับเกษตรรายย่อยเป็นเกษตรแปลงใหญ่
▪การพัฒนาระบบสหกรณ์
▪การส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรและ เอสเอ็มอี.เกษตร
▪การส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต
▪และการทำตลาดเชิงรุก ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมไทย-เชื่อมโลก
▪การเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ
- การสร้างฐานการผลิต การแปรรูปการตลาด และกระจายการลงทุนสู่ทุกภูมิภาค
▪ภายใต้ฐานใหม่ 18 กลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตร (Agroindustry)
- การสร้างคนและการ Reskill-Upskill ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
▪โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหม่ (12 S-Curves)
▪การส่งเสริมMSMEและStartup ด้วยกองทุนเอสเอ็มอี.
▪และการทำงานแบบสร้างสรรค์
- สร้างระบบธนาคาร และระบบการเงินของเศรษฐกิจฐานรากด้วย
▪ธนาคารหมู่บ้าน
▪ธนาคารชุมชน 80,000 หมู่บ้านและชุมชน 77 จังหวัด
▪รวมทั้งส่งเสริมธนาคารเพื่อการลงทุนและเวนเจอร์แคปิตอล
- ขับเคลื่อนภาคการผลิต (Real Sector) ภาคบริการภาคการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี นวัต
กรรมและซอล์ฟพาวเวอร์(Soft Power) - การปฏิรูปการบริการภาครัฐ ▪โดยปรับปรุง และยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ที่เป็นอุป
สรรค และภาระทางการค้าธุรกิจและการบริการประชาชน - ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าการลงทุนเสรี (FTA) และกลยุทธ์มินิ เอฟ
ทีเอ.(Mini FTA)ที่มีอยู่เดิมและข้อตกลงใหม่ ▪ปูทางสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการของไทยในเวทีแข่งขันระหว่างประเทศ
▪พร้อมกับการใช้กองทุน เอฟที เอ.รองรับผลกระทบทุกด้าน
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นโยบายเหล่านี้เป็นการสานงานต่อ ก่องานใหม่ อย่างต่อเนื่อง ของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น
▪การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิฟเฉพาะด้าน 23 ศูนย์
▪เป็นโครงสร้างทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563
▪เกิดเทคโนโลยีใหม่ 800 นวัต-กรรมถ่ายทอดสู่เกษตรกรและฟาร์มเกษตร
▪การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารใน 18 กลุ่มจังหวัดบนความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)
▪การยกระดับเกษตรรายย่อยเป็นเกษตรแปลงใหญ่ 1 หมื่นกลุ่ม
▪การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต เช่น โปรตีนจากพืช จากแมลงมีกว่า 1 แสนฟาร์ม
▪การขับเคลื่อนนโยบายดิจิตอลทรานสฟอร์เมชั่น
(Digital Transformation)
▪ปฏิรูปกระทรวงเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริการประชาชนจากอนาล็อค เป็นดิจิตอล
▪การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลบิ๊กดาต้า เกษตรแห่งชาติ (National Big Data Center:NABC) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563
▪การพัฒนาโลจิสติกส์ด้วยรถไฟ จีน-ลาว เปิดบริการขนส่งสินค้าได้ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2565
▪การปฏิรูประบบบริหารจัดการผลไม้ จนส่งออกทุเรียนผลสดสร้างรายได้ทะลุ 1 แสนล้าน เป็นครั้งแรกในปี 2564
การประกันรายได้เกษตรกรพืชเศรษฐกิจหลัก ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน
การทำเงินให้ประเทศจากการส่งออกเกือบ 10 ล้านล้านบาท ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารอันดับ 13 ของโลก ในปีที่ผ่านมา
ทั้งหมด คือ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของงานที่ ทำได้ไว ทำได้จริง ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
“เรายังต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และนโยบายใหม่ๆ รวมทั้งการปฏิรูประบบเศรษฐกิจดั้งเดิม พร้อมกับสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่
เป็นเครื่องยนต์แห่งการเติบโตใหม่ (New Growth Engine) ที่ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย ได้แก่
- เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่
(12 S-Curves) - เศรษฐกิจสีเขียว
(Green Economy)
โมเดล BCG - เศรษฐกิจดิจิตอล
(Digital Economy) - เศรษฐกิจสร้างสรรค์
(Creative Economy) - เศรษฐกิจสูงวัย
(Silver Economy) - เศรษฐกิจเพื่อสังคม
(Social Economy) - เศรษฐกิจคาร์บอน
(Carbon Economy)
เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลดโลกร้อน
ระบบเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้เป็นเครื่องยนต์แห่งการเติบโตใหม่ (New Growth Engines)
โดยมีอย่างน้อย 12 คานงัด เป็นกลไกการพัฒนาใหม่ๆ จะทำให้นโยบาย และแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ “ยุคอุดมการณ์-ทันสมัย”
สามารถทำให้ประเทศไทย ก้าวสู่ประเทศไทยรายได้สูง แก้ปัญหาหนี้สินความยากจน และพร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาปัจจุบัน และความท้าทายใหม่ในอนาคต
เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้คนไทย และสร้างศักยภาพใหม่ให้ประเทศไทย ทั้งวันนี้ และวันหน้า” นายอลงกรณ์ กล่าวในที่สุด.