ประเพณีเดือน 4 เป็ง ถวายหลัวหิงพระเจ้า ตานข้าวใหม่ตามความเชื่อของชาวล้านนา ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า เป้นประเพรีของชาวล้านนา ซึ่งมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ หลายประการ อาทิ เป็นประเพณีที่ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวบ้าน และหมู่พระสงฆ์ อีกทั้งประเพณีนี้ยังมีคุณค่าทางด้านจิตใจคือ ผู้ปฏิบัติมีความสุข และมีความสบายใจ
ผู้สื่อข่าวพาไป 2 วัดที่ประกอบพิธีประเพณีเดือน 4 เป็ง ถวายหลัวหิงพระเจ้า ตานข้าวใหม่ตามความเชื่อของชาวล้านนา ในห้วงเช้ามืดของวันที่ 6 มกราคม 2566 ถือเป็นเดือน 4 เป็ง ของชาวล้านนา จะประกอบพิธี ตานข้าวใหม่ ตานหลัวหิงพระเจ้า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้าตามความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มประกอบพิธี ตั้งแต่เวลา 04.00 -05.00 น. ณ วัดศรีนวรัฐ หรือวัดทุ่งเสี้ยว บ้านทุ่งเสี้ยว ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
อีกหนึ่งวัดปางมะกง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พระครูเกษมจริยานุกูล เขมจารี หรือครูบาโลงศพ เจ้าคณะตำบลปิงโค้งและเจ้าอาวาสวัด ได้ร่วมกับชาวบ้าน ประกอบพิธี เนื่องวันนี้ วันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ประเพณีวัฒนธรรม 4 เป็ง ตานข้าวใหม่ ตามประเพณีของชาวล้านนา เขื่อว่า อานิสงส์ถวายหลัวหิงพระเจ้า อัคคิปู๋จาไฟบุคคละหญิงจาย คฤหัสถ์ทายกทายิก๋าผู้ใดได้ถวายหลัว( ฟืน ) และไฟเป็นทานแก่พระภิกษุอันมีพระพุทธเจ้าเป็นเก๊าเป็นประธาน ย่อมมีผละอานิสงส์ จะนี้แล 1.เตียนย่อมเป็นผู้หาพยาธิโรคาบ่ได้เเล ,2. ย่อมประกอบด้วยอิทธิฤทธีมีพละกำลังมากนักแล ,3. มีรูปโฉมโนมพรรณวรรณะงดงามล้วนถ้วนแล ,4. เป็นที่หูมรักแก่มนุษย์และเทวดาสัพสัตว์ตังมวลแล ,5. เกิดมาชาติใดหาพยาธิบ่ได้แล 6. พยาธิอันหนักก็จะเบาอันเบาก็จะระงับกลับหายไปแล ,7. มีญาติพี่น้องเป็นมิตรเป็นแก้วเป็นคุณแก่ตน ,8. มีสมบัติมากนักให้สะดวกในการทำทาน ,9. เป็นผู้มีอายุหมั่นยืนยาวแล และ 10 มีต๋าวติ๋งสาเป็นคติภายหน้าแล
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า หรือประเพณีทานฟืน เป็นหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือนของล้านนา จัดขึ้นในเดือนสี่ภาคเหนือ หรือเดือนยี่ภาคกลาง (ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม) ในวันขึ้น 15 ค่ำของเดือน ความหมายของชื่อประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า มีดังนี้ “ทาน” คือ การให้ “หลัว” คือ ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อก่อไฟ ซึ่งมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ หลายประการ อาทิ เป็นประเพณีที่ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวบ้าน และหมู่พระสงฆ์ อีกทั้งประเพณีนี้ยังมีคุณค่าทางด้านจิตใจคือ ผู้ปฏิบัติมีความสุข และมีความสบายใจ