วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ

Mummai Media

มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าวจัดโครงการนำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ (ภาคเหนือ)สร้างต้นแบบและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาไทย

เชียงใหม่ 21 มี.ค.- ที่อาคารฝึกอบรม ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว โดย ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ จัดโครงการนำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ (ภาคเหนือ)เพื่อสร้างต้นแบบและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาไทย

วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ

นางสาวบุษกร มงคลพิทยาธร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ผศ.อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ กรรมการบริหารและผู้จัดการมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฐานะผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีนายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ นายนิทัศน์ ปัญโญ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่พร้อมตัวแทนส่วนราชการและเกี่ยวข้องร่วมในพิธี

วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ

ผศ.อนุพร กล่าวว่า โครงการฯนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิจัยด้านข้าวสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ผ่านทางเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 26 ตอน ตอนละ 25 นาที โดยมีวิทยากรจากกรมการข้าว กรมประมง กรมพัฒนาที่ดินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ผลัดเปลี่ยนบรรยาย เช่น การลดต้นทุนการผลิตข้าว ระบบการปลูกพืชในนาข้าว เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ หมอข้าว การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การเลี้ยงปูในนาข้าว ข้าวพันธุ์ดี การผลิตเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว การรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์แหล่งทุนสำหรับเกษตรกรในการผลิตข้าวและคุยกับเกษตรกรดีเด่นสาขาทำนา (ระดับภาค) เป็นต้น

วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ

ทั้งนี้มีเกษตรกรที่มีความประสงค์จะพัฒนาตนเองเป็น Smart Farmer เข้าร่วมโครงการฯ จากจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 40 ราย เริ่มเรียนผ่านทางสถานีวิทยุ ม.ก.ทุกแพลตฟอร์มทุกวันตั้งแต่ 22 มี.ค.เป็นต้นไป มีการวัดผลก่อนเรียนและหลังจบหลักสูตรพร้อมมอบเกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป

วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ


ในนามมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานอยู่ภายใต้การบริหารงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จัดตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การศึกษา การเรียนการสอน ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ผลงานวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วไป มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นองค์กรสาธารณกุศล ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนด้านงบประมาณให้กับโครงการโรงเรียนเกษตรทางอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเสริมสร้างและสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นสาธารณกุศลและเป็นประโยชน์ต่อสังคมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ถือเป็นสื่อวิทยุหลักของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรและผลการวิจัยสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ โดยผ่านสื่อวิทยุกระจายเสี่ยง ซึ่งมีสถานีกระจายเสียงอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศทั้ง 4 ภูมิภาค ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังเครือข่ายในระบบ เอ.เอ็ม.สเตอริโอ ทำการกระจายเสียงตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถรับชม-รับฟัง ทั้งภาพและเสียง ผ่าน Mobile Application ทั้งในระบบ Android ระบบ iOS และผ่านแพลตฟอร์มสื่อโซเชียล Facebook Live, Youtube Live

วิทยุ ม.ก.ร่วมกับกรมการข้าว นำร่องโรงเรียนข้าวทางอากาศ ภาคเหนือ

สำหรับโครงการฯ นี้ทางศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ให้การสนับสนุนด้านเนื้อหาองค์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อต้องการพัฒนาให้เกษตรกรภาคเหนือมีความรู้ความสามารถในการผลิตข้าวที่ถูกต้อง รวมทั้งการสร้างความมั่นคงในอาชีพการทำนาและการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer สร้างเกษตรกรไทยให้เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการทำการเกษตรเป็นอย่างดี มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนมีความภูมิใจความเป็นเกษตรกรพึ่งพา
ตนเองได้ พร้อมที่จะสามารถแช่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อีกทั้งยังช่วยพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนในชนบทให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น นำไปใช้ในการประกอบอาชีพสนับสนุนซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมและต่อยอดโครงการดังกล่าวฯ ให้เป็นต้นแบบในการขยายผลโครงการต่อไปได้อย่างมาก.