อลงกรณ์”ประกาศเดินหน้าพัฒนากรุงเทพสู่”มหานครสีเขียว”มุ่งยกระดับ”สุขภาพคน-คุณภาพเมือง”ตอบโจทย์อนาคตกทม.

ชูแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ตั้งกลไก50เขต ดีเดย์ 24 ธ.ค.64 คิกออฟโครงการวัดสีเขียว คลองสามวาสีเขียว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองบรรยายพิเศษในงาน Bangkok City Talk 2021 Bangkok Conference on Academic Argument ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting ในหัวข้อ “เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง : อนาคตของกรุงเทพมหานคร” ผ่านระบบ Facebook live
โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่าในปี2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง(Urbanization)ในประเทศของเราและเป็นเหตุผลสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง(Urban Farming)โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด19และยุคต่อไป(Next normal)ที่ต้องให้ความสำคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมือง


สำหรับกรุงเทพมหานครมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วทำให้พื้นที่เกษตรลดลงเหลือเพียงแสนกว่าไร่เป็นเมืองที่มีความมั่นคงทางอาหาร(Food Safety)น้อยมากและพื้นที่สีเขียวยังไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนประชากร คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงวางโครงสร้างและระบบเป็นกลไกแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) ตามนโยบายของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์”3’s”(Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน โดยโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น”มหานครสีเขียวแห่งอนาคต”มีวัตถุประสงค์6ประการได้แก่

  1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง
  2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว
  3. การลดPM2.5และลดก๊าซเรือนกระจก(Green House Gas)
  4. การเพิ่มคุณภาพอากาศ
  5. การอัพเกรดคุณภาพชีวิตของประชาชน
  6. การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change)ของโลก และเป้าหมายของโครงการกรุงเทพสีเขียว2030(Green Bangkok2030)ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ เป็น 10 ตารางเมตรต่อคนสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ในทุกระยะ 400 เมตร และเพิ่มพื้นที่ร่มไม้ต่อพื้นที่เมืองให้เป็น 1.3 แสนไร่ พร้อมทั้งพัฒนาการเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่เมือง รวมทั้งการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มรายได้และอาชีพในระดับชุมชนบนโมเดล BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) ควบคู่ไปด้วยกัน
    นายอลงกรณ์ในฐานะประธานโครงการกล่าวต่อไปว่าขณะนี้ได้จัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนใน 3 ระดับ ทั้งคณะกรรมการบริหารโครงการระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับย่อยในพื้นที่ เป็นโครงสร้างและระบบครอบคลุมทั้งประเทศ โดยแบ่งพื้นที่ดำเนินการเป็น2ประเภทคือพื้นที่ของรัฐ(Public Space)เช่นบริเวณริมถนนและทางรถไฟ พื้นที่ใต้ทางด่วน เกาะกลางถนน สวนสาธารณะ สถานศึกษาของรัฐ พื้นที่ส่วนราชการ และพื้นที่สาธารณะว่างปล่า
    สำหรับ พื้นที่ส่วนบุคคล (Private space)เช่น บ้าน ชุมชน โครงการจัดสรร คอนโด อาคารสำนักงาน พื้นที่ของการเคหะแห่งชาติ วัด โรงเรียน สถานศึกษา โดยส่งเสริมให้ปลูกไม้ยืนต้นไม้พุ่มไม้เลื้อยหรือไม้ในร่มโดยมีการพัฒนาเมืองสีเขียวได้หลายรูปแบบเช่น ถนนสีเขียว(Green Road) หลักคาสีเขียว(Green Roof) ตึกสีเขียว(Green Building) สวนป่า(Forest Garden) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ชุมชนสีเขียว (Green Community วัดสีเขียว(Green Temple) เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและการเรียนรู้กับการอยู่ร่วมกันแบบแบ่งปัน
    สำหรับการทำเกษตรในเมืองตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนมี5ประเภทได้แก่เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ)ทั้งในรูปแบบสวนขนาดเล็กและสวนขนาดใหญ่ สำหรับชุมชนในกรุงเทพมหานครจะได้รับการสนับสนุนในการสร้างอาชีพเกษตรกรรมในเมืองเพื่อสร้างรายได้เสริมและลดค่าครองชีพอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้จะมีตลาดเกษตร(Farm Market)เป็นตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรขณะนี้ได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับคลัสเตอร์ และระดับเมืองเช่นได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนกรุงเทพมหานครแล้วมีตนเป็นประธานและจะจัดตั้งคณะทำงานให้ครบทั้ง50เขตเป็นกลไกขับเคลื่อนระดับพื้นที่เช่น กรีนตลิ่งชัน กรีนบางกะปิ กรีนบางนา กรีนห้วยขวาง กรีนบางแค และวันที่24ธ.ค.นี้จะคิดออฟโครงการวัดสีเขียว คลองสามวาสีเขียว ที่วัดพระยาสุเรนทร์ เป็นที่แรกบนความร่วมมือระหว่างวัด บ้านและโรงเรียน(บ.ว.ร.)ในเขตคลองสามวา ซึ่งโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองจะเป็นทิศทางใหม่ของการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของไทยและเป็นครั้งแรกของประเทศที่จะส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมในเมืองอย่างยั่งยืนในระดับนโยบายคู่ขนานไปกับการพัฒนาภาคเกษตรในชนบท อีกทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในระดับชุมชนด้วยซึ่งมหานครใหญ่ๆระดับ World Cityเช่น นิวยอร์ก ลอนดอน ปักกิ่ง สิงคโปร์ ปารีส โตเกียว ฯลฯก็กำลังหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรรมในเมือง

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม