วันที่ 14 มีนาคม 2565 พล.ต.ประสิษฐิพงศ์ มูลดี รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า จาการตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้วงวันที่ 7 – 13 มีนาคม 2565 พบว่า ภาคเหนือมีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26 – 69 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ค่า PM 10 ระหว่าง 38 – 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ค่า AQI อยู่ระหว่าง 34 – 142 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ โดยมีค่าเฉลี่ยมากสุดที่ ต.จองคำ อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ค่าคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบกับประชาชน
สำหรับจุดความร้อนในภาคเหนือพบว่าวันนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 266 จุด พบมากที่สุดจังหวัดแม่ฮ่องสอน 135 จุด เพชรบูรณ์ 26 จุด พิษณุโลก 19 จุด จังหวัดเชียงใหม่และแพร่ จังหวัดละ 15 จุด ส่วนจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 กลับเป็นสีเหลือง และแดง มีเพียงตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นสีเขียว ส่วนที่มากที่สุดที่ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮองสอน 89 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกดำเนินการจดทำแนวกันไฟในพื้นทีป่า พื้นที่เสี่ยง หลังจากสภาพอากาศกลับมาแห้งและร้อน ทำให้เชื้อเพลิงที่สะสมก่อให้เกิดไฟป่าให้ได้ง่ายขึ้น อย่างที่ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันอำเภอแม่อาย ร่วมกับ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.1(น้ำยอน) กำนันตำบลบ้านหลวง อบต.บ้านหลวง กศน.ต.บ้านหลวง ผู้ใหญ่บ้าน ม.9 ผู้ช่วย ผู้นำหย่อมบ้านจะโต๊ะ ราษฎรบ้านป่าแดงอภิวัฒน์ ราษฎรหย่อมบ้านจะโต๊ะ จำนวน 120 คน ได้ร่วมทำแนวกันไฟ สร้างจุดเฝ้าระวังไฟป่า และสร้างเสวียนเก็บใบไม้ ณ บริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง”บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ หย่อมบ้านจะโต๊ะ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านหลวง ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และ ผู้ใหญ่บ้าน ม.10 ต.ท่าตอน เจ้าหน้าที่ทหารโครงการร้อยใจรักษ์ ชป.กกล.ผาเมืองบ้านห้วยส้าน ครู ศศช.บ้านห้วยส้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผรส. และชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟป่า ณ บริเวณป่าทิศตะวันตกของหมู่บ้านห้วยส้าน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าตอน ระยะทาง 5 กิโลเมตร
ส่วนบางพื้นที่ก็ เริ่มมีไฟป่าต้องระดมกำลังเข้าไป สถานีควบคุมไฟป่าขุนขาน – สะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชีงใหม่นำกำลัง 16 นาย เข้าไปดับไฟป่าหลังจากได้รับแจ้งว่ามจุดความร้อน บ้านแม่สาบ ม.1 ต.สะเมิงใต้ จึงเข้าควบคุมไฟ จนแล้วเสร็จพร้อมทำแนวกันไฟ ตรวจสอบเบื้องต้นพื้นที่เสียหาย 22 ไร่ สาเหตุหาของป่า เป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง อย่างไรก็ตามจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศช่วง08.00 น. จากกรมควบคุมมลพิษจำนวน 5 จุด จุดที่ 1 ศาลากลาง ต.ช้างเผือก อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 43 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร .จุดที่ 2 กลางเมืองเชียงใหม่ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 39 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร .จุดที่ 3 บนดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,จุดที่ 4 โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อ.แม่แจ่ม, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและจุดที่ 5 ต.แม่นะ อ.เชียงดาว, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
แต่พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ จากเว็ปไซด์ AIR Visual เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ช่วงเวลา 08.00 น. จากการตรวจค่า US AQI 135 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่อันดับที่ 24
ของโลก