ฟรุ้ทบอร์ด หวั่นโควิดระบาดหนักในจีนกระทบส่งออกผลไม้ไทย แนะขยายตลาดบริโภคในประเทศเพิ่ม 10% รับมือปิดด่าน

ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดระบาดหนักในจีนกระทบการส่งออกผลไม้ไทย แนะผู้ส่งออกเพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น 55% พร้อมขยายตลาดบริโภคในประเทศจาก 30% เป็น 40% รับมือกรณีด่านปิด

วันที่ 7 เม.ย.65 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดกรผลไม้ ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วยคณะกรรมการ และ ผู้แทนกรรมการ อาทิ นายธีระชาติ ปางวิรุฬท์รักษ์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พณ. (แทน รมช.พณ.) นายโอภาส ทองยงค์ รอง.ปลัด.กษ. นายขจร เราประเสริฐ ผู้ตรวจราชการ กษ. นายกฤษธนา ทองประเสริฐ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน และ นางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง นางสาวอาทินนท์ อินทาพิมพ์ กงสุลฝ่ายเกษตร ประจำการกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุลฝ่ายเกษตร ประจำการกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นางมาลินี ยุวนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ ที่ประชุมรับทราบ (1) การแต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการผู้แทนเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ (2) ความก้าวหน้า สถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2565 (3) สรุปผลการประชุมเฉพาะกิจการเตรียมการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 (4) รายงานความก้าวหน้าของคณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน (5) การรายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด (6) การรายงานสถานการณ์ด่านการส่งออกผลไม้ไปจีน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในจีน (7)รายงานแนวทางแก้ไขปัญหาการขนส่งผลไม้ล็อตแรกของไทยไปจีนโดยรถไฟจีน-ลาวให้ใช้เวลาไม่เกิน3วันครึ่ง

นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาหารือ และมีมติ เห็นชอบ ดังนี้
1.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 เป็นแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ทั้งนี้ จังหวัดได้จัดวางแผนการบริหารจัดการผลไม้ แบบเบ็ดเสร็จได้ด้วยตัวเอง ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 – 2570 และในเชิงปริมาณ โดยการจัดการความสมดุลเป็นไปตามหลัก อุปสงค์ – อุปทาน

1.1 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 เพื่อบริหารจัดการผลผลิต
ทุเรียน 729,110 ตัน
มังคุด 221,840 ตัน
เงาะ 216,420 ตัน
ลองกอง 18,994 ตัน
รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน

1.2 เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และพาณิชย์จังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่จังหวัด ประจำปี 2565 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ADVERTISEMENT

1.3 กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

2.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2565เพื่อให้จังหวัดใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการผลไม้ในฤดูการผลิตปี 2565
2.1 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2565 จำนวน 43,511 ตัน ผ่านกลไกคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)

2.2 เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และพาณิชย์จังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่จังหวัด ประจำปี 2565 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

2.3 กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร ต่อไป

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในจีนระลอกใหม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกผลไม้ของไทยที่ประมาทไม่ได้จึงขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มการขนส่งทางเรือให้มากที่สุดเป็น55%และการขนส่งทางรถไฟสายจีน-ลาวในระบบผสม”ราง-รถ”เป็นทางเลือกเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงของการขนส่งทางรถที่มีความไม่แน่นอนของด่านทางรถที่อาจปิดได้ทุกเมื่อหากเกิดการระบาดของโควิดในพื้นที่ใกล้เคียงแม้ตอนนี้ด่านทุกด่านยกเว้นด่านตงชิงยังเปิดเป็นปกติ รวมทั้งต้องเร่งรณรงค์การบริโภคผลไม้ภายในประเทศให้มากขึ้นจาก30%เป็น40%เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั้งในส่วนของภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคเหนือและทุกภาคทั่วประเทศ และขอให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามมาตรการเชิงรุกล่วงหน้าตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กำหนด 18 มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 และ แผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ ปี 2565 กรณีเหตุการณ์ไม่ปกติ จำนวน 5 มาตรการ 21 โครงการ ประกอบไปด้วย มาตรการป้องกันเพื่อเตรียมรองรับเหตุการณ์ไม่ปกติ มาตรการช่วยเหลือในการกระจายสินค้า ควบคุมคุณภาพ และกระตุ้นการบริโภคผลไม้ มาตรการช่วยเหลือสนับสนุนการส่งออกผลไม้ไทย มาตรการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ และมาตรการช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ปกติ ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะรองรับผลไม้ 450,000ตันในส่วนอื่นๆ จะเป็นไปตามกลไกตลาดโดยเกษตรกรผลิตผลไม้ที่ได้คุณภาพ ล้งรับซื้อตามมาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกดำเนินการเตรียมการส่งออกต่อไป

“สถานการณ์การค้าผลไม้กับจีนในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกผลไม้ไปจีน 1.6แสนล้านบาทแต่จีนส่งผลไม้มาไทย 4 หมื่นล้านนับว่าไทยได้เปรียบการค้าจีนด้านผลไม้3-4เท่าตัว โดยผลไม้ไทยครองตลาดจีนมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 40 % อันดับ2คือชีลี 14% เวียดนาม 6%อยู่อันดับ3ซึ่งสะท้อนขีดความสามารถของไทย ปีที่ผ่านมาส่งออกผลไม้ไปจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉพาะทุเรียนส่งออกทะลุ 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกแม้จะเผชิญปัญหามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในจีนซึ่งกระทบการขนส่งและการส่งออกเป็นระยะๆ ปีนี้จึงประมาทไม่ได้แม้จะได้เตรียมมาตรการและงบประมาณสนับสนุนล่วงหน้าก็ตามแต่การระบาดระลอกใหม่ของโควิดในจีนยากจะคาดคะเนว่าจะยุติลงเมื่อใด

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม