“เฉลิมชัย ศรีอ่อน”เร่งพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หวังปั้น”นครศรีธรรมราช”เป็นฮับอุตสาหกรรมยางแห่งอาเซียน“อลงกรณ์ พลบุตร”เดินสายดันเทคโนโลยีบล็อคเชนในระบบประมูลยาง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายทินกร อ่อนประทุม นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอุดมเกียรติ เกิดสม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชและประชุมร่วมกับกยท. ผู้นำชาวสวนยางและตัวแทนสถาบันเกษตรกรโดยแนะนำให้เพิ่มเทคโนโลยีบล็อคเชน(Block Chain Technology)เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบประมูลยางของกยท. รวมทั้งชมเชยสหกรณ์นิคมทุ่งสงที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจนสามารถแบ่งปันผลกำไรให้สมาชิกรวมทั้งเห็นด้วยกับโครงการผลิตยางเครปของกยท.และสหกรณ์ชาวสวนยาง

สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะ2 ของจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถโอนเงินถึงมือชาวสวนยางโดยตรงแล้วกว่า99%โดยตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางได้แสดงความพอใจในการทำงานที่รวดเร็วซึ่งนายอลงกรณ์ได้กล่าวชมเชยเจ้าหน้าที่กยท.และธกส.ที่ทำให้นโยบายประกันรายได้ทำได้จริงทำได้ไวเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

นายอลงกรณ์  ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราชของการยางแห่งประเทศไทยและสหกรณ์นิคมทุ่งสงว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนายางไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้(Southern Economic Corridor)โดยเฉพาะการพัฒนา”นครศรีธรรมราช”และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลางประกอบด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลาและพัทลุงเป็นฮับอุตสาหกรรมยางแห่งอาเซียนคู่กับการพัฒนา”รับเบอร์ ซิตี้เมืองยางสงขลา”โดย “กยท.”ยืนยันล่าสุดว่าผลการศึกษาโครงการรับเบอร์วัลเลย์นครศรีธรรมราชจะถึงมือบอร์ดการยางฯ.ภายในสิงหาคมนี้

นายอลงกรณ์   ยังกล่าวถึงโครงการรับเบอร์วัลเลย์(Rubber Valley)เป็นรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจรว่า จะใช้พื้นที่ของ กยท. 41,000 ไร่ ในต.กรุงหยัน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราชเป็นการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมยางไทยควบคู่กับการพัฒนารับเบอร์ซีตี้หรือเมืองยางที่สงขลาโดยวิสัยทัศน์ใหม่มุ่งส่งเสริมการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานแทนการส่งออกในรูปวัตถุดิบจะทำให้ชาวสวนยางและสถาบันยางรวมทั้งผู้ประกอบการและประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ไม้ยางทั้งหมด โดยเฉพาะถุงมือยางซึ่งกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพราะผลกระทบโควิด19 รวมถึง Tires, middle weight tires, rubber products, latices, rubber tubes and rubber tapes, rubber shoes, carbon black, reclaimed rubber, rubber machinery, rubber materials ฯลฯ ทั้งนี้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AIC(Agritech and Innovation Center)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านยางพารา(Center of Excellence)จะสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ยางใหม่ๆรวมทั้งอัพเกรดประสิทธิภาพการผลิตยางตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่าเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน

       “เราต้องปรับเกมเล่นใหม่ให้สมฐานะการเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับ1ของโลก ต้องกล้าคิดกล้าทำพร้อมเป็นผู้นำของโลกโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นธงนำ ทั้งนี้เราจะร่วมมือกับประเทศจีนในฐานะประเทศผู้ซื้อยางพารารายใหญ่ของไทยและของโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโครงการ”หุบเขาแห่งอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber Valley)” หรือ “ฐานการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราของโลก (Platform of Rubber Valley)” ก่อตั้งเมื่อปี 2555 ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ในตำบลซือไป (Shibei) เมืองชิงเต่า (Qingdao) มณฑลซานตงเป็นโมเดลนิคมอุตสาหกรรมยางใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก”นายอลงกรณ์ กล่าว

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม